หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก

    การบังคับมะม่วงให้ต้นมะม่วงออกดอก ทำได้หลายวิธี แต่วิธีที่นิยมกันมากในปัจจุบันก็คือ การใช้สารพาโคลบิวทราโซล (ซื่อการค้า คือ คัลทาร์) โดยราดสารนี้ลงในดิน รอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้ คือ

     

     1.ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย ให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

    2. ระยะเวลาที่เหมาะตอการใช้สาร คือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

    3.ก่อนราดสารควรตรวจดูให้ดินมีความชื้นพอสมควรและเมื่อราดสารลงดินแล้ว ให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่ 

    4. หลังจากราดสารประมาณ 2 เดือน ถึง 2/12 เดือน มะม่วงจะออกดอก (พวกออกดอกไม่ยากนัก) ส่วนพวกที่ไม่ออกดอกภายใน 2 เดือน อาจใช้สารกระตุ้นการแตกตาช่วย เช่น ใช้โปรแตสเซียมไนเตรท 2.5% หรือ ไทโอยูเรีย 0.5% พ่นให้ทั่วทั้งต้น จะทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น

    5. อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซล เปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้ เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม อัตราการใช้สารต่อต้น *

    2-3 เมตร = 20 - 30 มิลลิลิตร

    3-4 เมตร = 30- 40 มิลลิลิตร

    4-5 เมตร = 40 - 60 มิลลิลิตร

    5 – 6 เมตร = 60 - 100 มิลลิลิตร

    6-10 เมตร = 100 - 200 มิลลิลิตร

    * อัตราการใช้นี้คิดจากผลิตภัณฑ์เคมีการเกษตรที่มีเนื้อสารพาโคลบิวทราโซล 10% เช่น คัลทาร์

    6. การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซล ให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ มะม่วงจะออกดอกครั้งหนึ่ง ๆ เป็นจำนวนมากมาย แต่จะคิดเป็นผลเพียงไม่กี่ผลต่อช่อเท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะสาเหตุหลายประการ เช่น ลักษณะของดอกมะม่วง ซึ่งดอกส่วนใหญ่จะเป็นดอกที่ไม่สมบูรณ์ไม่สามารถเจริญเป็นผลได้ และปัญหาที่จะพบอยู่เสมอ คือ การเกิดราดำที่ดอก ทำให้ดอกร่วงหล่นเสียเป็นส่วนมากหรือทั้งหมดทั้งต้น ทั้งนี้เพราว่าที่ดอกมะม่วงจะมีต่อมน้ำหวานทำให้แมลงต่างๆ มาดูดกินโบเฉพาะพวกเพลี้ยจักจั่น ซึ่งระบาดมากในช่วงมะม่วงหล่น แล้วยังถ่ายมูลออกมาเป็นอาหารของราดำอีกด้วย ทำให้ราดำซึ่งมีอยู่แล้วตามใบและใบอากาศเจริญอย่างรวดเร็ว ในช่วงที่มะม่วงออกดอกนี้ อากาศมักจะหนาวเย็นและมีหมอกมากในตอนเช้า เมื่อหมอกจับตัวเป็นละอองน้ำตามช่อดอกและใบ ราดำก็จะเจริญได้ดียิ่งขึ้น ทำให้ดอกร่วงหล่นจนหมด จนกลายเป็นความเชื่อว่าถ้าปีใดมีหมอกจัดในระยะที่ดอกมะม่วงบานปีนั้นมะม่วงจะติดผลน้อย เพราะน้ำค้างเค็ม ทำให้ดอกร่วง ซึ่งความจริงแล้วน้ำค้างไม่ได้เค็ม แต่เป็นเพราะราดำและเพลี้ยจั๊กจั่นดังกล่าว

    ที่มา : ดร.ไพโรจน์ สุขจั่น.คู่มือเกษตรกรไทย ปลูกไม้ยืนต้น ผลกินได้ โครงการลดภาวะโลกร้อน


    • Update : 25/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch