หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    แก้กระทู้ธรรม
    แก้กระทู้ธรรม

    ศาลาวัด


    การสอบนักธรรมชั้นตรี ต้องสอบวิชาเรียงความแก้กระทู้ธรรม มีหลักปฏิบัติในการสอบสนามหลวง ดังนี้

    1.แต่งตามกระทู้ธรรมสุภาษิตที่กำหนดให้ 2.อธิบายขยายเนื้อความกระทู้ธรรมสุภาษิตนั้นให้สมเหตุสมผล 3.อ้างสุภาษิตบทอื่นพร้อมบอกที่มา อธิบายประกอบด้วย 1 สุภาษิตในหนังสือพุทธสุภาษิต 4.เชื่อมความระหว่างสุภาษิตที่นำมาเชื่อมกับสุภาษิตบทตั้งให้สนิทติดต่อสมเรื่องกันด้วยเหตุผล 5.ให้เขียนลงในกระดาษสอบ ตั้งแต่ 2 หน้า (เว้นบรรทัด) ขึ้นไป

    สำหรับขั้นตอนการเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม

    1.ต้องท่องจำพุทธสุภาษิต เล่ม 1 ให้ได้ และเขียนให้ถูกต้องอย่างน้อย 2 สุภาษิต พร้อมทั้งที่มาของสุภาษิตบทนั้นด้วยเพื่อนำไปเป็น สุภาษิตเชื่อม (เวลาสอบใช้สุภาษิตเดียว)

    2.เมื่อท่องจำสุภาษิตได้แล้ว ฝึกหัดแต่งสุภาษิตนั้น สัก 2-3 ครั้ง ประมาณ 1 หน้ากระดาษ จนเกิดความชำนาญ

    ขั้นตอนการลงมือเขียน

    ขั้นตอนที่ 1 การเขียนสุภาษิตกระทู้ตั้ง ต้องเขียนไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษสอบให้พอดี โดยเฉพาะคำบาลีนั้นต้องเขียนให้ถูกอักขระ ในส่วนคำแปลนั้นพึงเขียนจัดวางให้ได้กึ่งกลางของคำบาลี อย่าให้ล้นไปข้างหน้า หรือเยื้องไปข้างหลังจะดูไม่งาม ต้องพยายามกะให้พอดี

    ขั้นตอนที่ 2 การเขียนอารัมภบท คือ ณ บัดนี้ ให้ย่อหน้าขึ้นบรรทัดใหม่ ประมาณ 6 ตัวอักษร

    ขั้นตอนที่ 3 ก่อนอธิบายเนื้อความให้ขึ้นบรรทัดใหม่ย่อหน้ากระดาษ การย่อหน้ากระดาษต้องให้ตรงกับ ณ บัดนี้

    ขั้นตอนที่ 4 การเขียนสุภาษิตเชื่อม ให้เขียนตรงกลางหน้ากระดาษเหมือนสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) แต่ก่อนที่จะยกสุภาษิตที่เราท่องไว้แล้วมาเชื่อม ต้องอ้างที่มาของสุภาษิตเสียก่อนว่า สมดังสุภาษิตที่มาใน ... (ที่มาของสุภาษิตบทนั้น) แล้วจึงวางสุภาษิตไว้ตรงกลางหน้ากระดาษ

    ขั้นตอนที่ 5 ก่อนจะอธิบายเนื้อความของสุภาษิตเชื่อม ให้ย่อหน้า ขึ้นบรรทัดใหม่ เหมือนขั้นตอนที่ 2

    ขั้นตอนที่ 6 การสรุปความให้ย่อหน้า เขียนคำว่า สรุปความว่า ... การสรุปนั้นควรสรุปประมาณ 5-6 บรรทัด จึงจะพอดี เมื่อสรุปเสร็จแล้ว ให้นำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนปิดท้าย

    ขั้นตอนที่ 7 การเขียนสุภาษิตปิดท้าย ให้เขียนคำว่า สมดังสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นนั้นว่า ... แล้วนำสุภาษิตบทตั้ง (ข้อสอบ) มาเขียนไว้ตรงกึ่งกลางหน้ากระดาษปิดท้าย

    ขั้นตอนที่ 8 บรรทัดสุดท้ายนิยมเติมคำว่า "มีนัยดังพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ฯ หรือ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้" มาปิดท้าย

    ส่วนการย่อหน้าและจัดวรรคตอนนอกจากนี้ ให้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม การเขียนเรียงความแก้กระทู้ธรรม ต้องฝึกเขียนให้ได้ 4-5 ครั้งขึ้นไป

    แต่ละครั้งที่ฝึกเขียน ควรดูแผนการเขียนและตัวอย่างการเรียงความแก้กระทู้ธรรมประกอบด้วยว่าถูกต้องหรือไม่



    • Update : 24/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch