หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงกุ้งขาวแวนนาไม-6

    ข้อแตกต่างระหว่างกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ

    เกษตรกรที่สนใจการเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ต้องรู้และเข้าใจชีววิทยา รวมถึงพฤติกรรมของกุ้ง เพื่อปรับวิธีการเลี้ยงให้เหมาะสมจะช่วยให้การเลี้ยงประสบความสำเร็จมากขึ้น
     
    1.    ขนาดของกุ้ง กุ้งขาวเป็นกุ้งขนาดเล็กกว่ากุ้งกุลาดำ แต่มีการเจริญเติบโตเร็วมากจนถึงประมาณ 90 วัน ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ส่วนใหญ่จะเลี้ยงนาน 90-100 วัน ถ้าได้ลูกพันธุ์ที่ดีควรจะได้กุ้งที่มีน้ำหนักประมาณ 15-20 กรัม กุ้งชนิดนี้แต่ละตัวมีขนาดไล่เลี่ยกันซึ่งต่างจากกุ้งกุลาดำที่มักพบว่ากุ้งในบ่อเดียวกันมีขนาดแตกต่างกันมาก ตั้งแต่ตัวเล็กมากน้ำหนัก 3-5 กรัมจนถึงตัวที่มีขนาดใหญ่มากถึง 40 กรัม หลังจากการเลี้ยง 120 วัน
     
    ภาพที่ 6.32 กุ้งขาวที่จับจะมีขนาดไล่เลี่ยกัน
     
    2.    อาหาร กุ้งขาวไม่จำเป็นต้องเลี้ยงด้วยอาหารที่มีโปรตีนสูงมากเหมือนกุ้งกุลาดำ ปัจจุบันมีอาหารสำเร็จรูปที่ผลิตออกมาสำหรับกุ้งขาวโดยเฉพาะ ดังนั้นไม่ควรใช้อาหารกุ้งก้ามกรามเพราะมีโปรตีนต่ำ จะทำให้กุ้งโตช้า โดยเฉพาะถ้าต้องการเลี้ยงอย่างหนาแน่น ควรใช้อาหารที่มีโปรตีนสูงกว่าการเลี้ยงด้วยความหนาแน่นต่ำ
    3.    พฤติกรรมการกินอาหาร กุ้งขาวกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์   เมื่อจับกุ้งจากบ่อมาตรวจสอบลำไส้พบว่าในลำไส้จะมีอาหารเต็มตลอดเวลา แม้ว่าจะให้อาหารมานานแล้วหลายชั่วโมง จึงสันนิษฐานได้ว่าเมื่อกินอาหารที่ให้หมดแล้ว กุ้งยังสามารถกินอาหารชนิดอื่นที่อยู่ในบ่อได้อีก เช่น สาหร่าย แพลงก์ตอน สัตว์หน้าดิน จะพบว่าในลำไส้จะมีสีที่แตกต่างๆ จากสีของอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่ให้กุ้งกินโดยเฉพาะเมื่อจับกุ้งมาดูลำไส้ หลังจากการให้อาหารหลายชั่วโมง สีของลำไส้มักจะมีสีดำหรือสีเข้มของสาหร่าย แทนที่จะเป็นสีของอาหารเม็ดสำเร็จรูป
     
    ภาพที่ 6.33 กุ้งขาวจะมีลำไส้เต็มตลอดเวลา
     
    ในช่วงที่อากาศร้อนจัด อุณหภูมิของน้ำตอนบ่ายสูงถึง 33-34 องศาเซลเซียส กุ้งชนิดนี้จะกินอาหารน้อยมาก ควรงดการให้อาหารในช่วงที่อุณหภูมิของน้ำสูงมาก อาจจะเลื่อนเวลาการให้อาหารเป็นตอนเย็นหรือตอนกลางคืนเมื่ออุณหภูมิน้ำต่ำลงอยู่ในระดับที่เหมาะสม กุ้งจะกินอาหารดีขึ้น แต่ในช่วงอากาศหนาว อุณหภูมิที่ต่ำมากตอนเช้ามีผลทำให้การกินอาหารลดลงเช่นกัน อาจจะเลื่อนเวลาออกไปอีกจนอุณหภูมิของน้ำสูงขึ้น เช่น เลื่อนเวลาจาก 7.00 น. เป็น 8.00 น. สำหรับการให้อาหารมื้อแรก ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสมของการเลี้ยงกุ้งขาวคือ 27-30 องศาเซลเซียส
     
    ภาพที่ 6.34 ลำไส้ของกุ้งขาวที่ยังไม่แกะเปลือกออก             ภาพที่ 6.35 ลำไส้ของกุ้งขาวที่ไม่ใช่อาหาร (ซ้าย)
       ที่ไม่ใช่อาหาร (ซ้าย) และสีของอาหารเม็ด (ขวา)              และสีของอาหาร (ขวา) ในกุ้งขาวที่แกะเปลือกแล้ว
     
    4.    การปรับอาหารโดยใช้ยอ กุ้งชนิดนี้เข้าในยอช้ากว่ากุ้งกุลาดำ อาจต้องใช้เวลาหลายวันกว่าจะพบว่าลูกกุ้งเข้าไปในยอ โดยเฉพาะยอที่มีขอบสูงมาก ควรใช้ยอที่ขอบไม่สูงมาก และเมื่อยกยอกุ้งชนิดนี้จะดีดตัวออกมาอย่างรวดเร็วมาก จะเหลือกุ้งในยอไม่กี่ตัว และถ้าอากาศร้อนในตอนกลางวัน โอกาสจะพบว่ากุ้งเป็นตะคริว (cramp) ตัวงอเป็นจำนวนมาก และต่อมาตัวจะมีสีขาวขุ่น ถ้าไม่รีบปล่อยคืนลงในบ่อ กุ้งเหล่านี้จะตายในเวลาต่อมา
     
    ภาพที่ 6.36 กุ้งขาวที่เป็นตะคริว
     
    การป้องกันที่ดีคือหลีกเลี่ยงการสุ่มกุ้งในช่วงที่อากาศร้อน และควรใช้แหที่ทำด้วยเส้นเอ็น แทนแหสุ่มทั่วไปที่แกะกุ้งออกจากแหยาก การใช้นำแข็งลดอุณหภูมิของน้ำให้อยู่ระหว่าง 24-26 องศาเซลเซียส จะช่วยลดอาการกุ้งตัวขาวขุ่นและเป็นตะคริวได้มาก
     
     
    ภาพที่ 6.37 แหสำหรับสุ่มกุ้งขาวที่ทำด้วยเส้นเอ็น
     
    ภาพที่ 6.38 กุ้งขาวลำตัวขาวขุ่น
     
    การปรับอาหารโดยใช้ยอทำได้ยากกว่ากุ้งกุลาดำ นอกจากในบ่อทีมีการปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นตั้งแต่ 60 ตัว/ตารางเมตรขึ้นไป และมีอัตรารอดสูง อาจจะปรับอาหารโดยใช้ยอในสัปดาห์ที่ 5 สำหรับบ่อที่เลี้ยงในปริมาณที่ไม่หนาแน่นและไม่สามารถปรับอาหารโดยใช้ยอได้ เกษตกรผู้เลี้ยงกุ้งต้องแล้วสังเกตปริมาณอาหารในลำไส้ของกุ้งว่ามีสีเดียวกับอาหารที่ให้หรือไม่ ถ้าก่อนให้อาหารมื้อต่อไปประมาณ 1 ชั่วโมงพบว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของกุ้งมีอาหารในลำไส้เป็นสีของสาหร่ายหรือสิ่งอื่นๆที่ไม่ใช่อาหารเม็ด แสดงว่าอาหารที่ให้ในมื้อก่อนหน้านี้ไม่เหลือแล้ว         
    การให้อาหารอาจให้วันละ 3, 4 หรือ 5 มื้อแล้วแต่ความถนัด จากการเก็บข้อมูลการเลี้ยงกุ้งขาวของเกษตรกรพบว่า การให้อาหาร 3, 4 หรือ 5 มื้อไม่มีความแตกต่างกันมากในด้านการเจริญเติบโต แต่ส่วนมากฟาร์มที่ปล่อยลูกกุ้งอย่างหนาแน่นมากเกิน 60 ตัว/ตารางเมตรขึ้นไป มักจะให้อาหารวันละ 4 หรือ 5 มื้อ ซึ่งจะคล้ายกับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ แต่กุ้งขาวสามารถกินอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อได้ดีกว่ากุ้งกุลาดำ การให้อาหารจำนวนมื้อน้อยอาจจะช่วยให้กุ้งมีโอกาสกินอาหารอื่นๆ ในบ่อและช่วยควบคุมสภาพต่างๆ ในบ่อให้ดีขึ้นได้
    5. การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำและแพลงก์ตอน กุ้งชนิดนี้ไม่ชอบน้ำที่เข้มจัด สังเกตว่าถ้าเลี้ยงแบบระบบปิด ไม่ถ่ายน้ำเป็นเวลานานๆ เมื่อน้ำมีสีเข้มมาก เหงือกกุ้งจะมีสีดำ ควรถ่ายน้ำเป็นระยะๆ ควบคุมอย่าให้ปริมาณแพลงก์ตอนเข้มข้นมากเกินไป อาจจะมีผลทำให้เกิดการขาดออกซิเจนในตอนกลางคืนได้ กุ้งชนิดนี้ไม่ค่อยพบตามขอบบ่อเหมือนกับกุ้งกุลาดำ ดังนั้นเมื่อมีปัญหา กุ้งอาจจะตาย จมอยู่บนพื้นบ่อเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ตามขอบบ่ออาจจะไม่พบกุ้งป่วยหรือมีเพียงจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น แต่ถ้ามีกุ้งอย่างหนาแน่นและให้อาหารพอดีไม่มากเกินไป สีน้ำจะไม่เข้มแต่มักจะขุ่นมากกว่า เพราะเมื่ออาหารหมด กุ้งขาวจะคุ้ยหาอาหารตามพื้นบ่อทำให้น้ำขุ่นมาก บ่อที่น้ำเขียวจัดหรือสีเข้มจัดส่วนมากมีสาเหตุมาจากอาหารเหลือ การลดอาหารให้น้อยลงจะทำให้สีน้ำที่เข้มขึ้นกลับคืนมาเป็นปกติได้
     
        ภาพที่ 6.39 บ่อเลี้ยงกุ้งขาวที่มีสีน้ำเข้มมาก                                     ภาพที่ 6.40 บ่อเลี้ยงกุ้งขาวที่สีน้ำขุ่น
            จากการให้อาหารมากเกินไป                                                          เนื่องจากมีกุ้งหนาแน่น
     
    6.    การจับกุ้ง ถ้าต้องจับกุ้งโดยการเปิดประตูแล้วให้กุ้งออกไปอยู่ในถุงอวน เช่นเดียวกับการจับกุ้งกุลาดำต้องระวังอย่าให้กุ้งออกมากองกันแน่นเกินไป ได้รับความเสียหายได้ การจับแบบเปิดประตูระบายน้ำ น้ำต้องมีความแรงมากพอกุ้งจึงจะออกไปกับน้ำ ถ้าจับตอนกลางคืนควรปิดไฟมืดทั้งบ่อ    ยกเว้นบริเวณบ่อที่เปิดประตูจับกุ้ง ควรใช้ไฟส่องให้สว่าง กุ้งจะมาบริเวณที่มีแสงไฟ เมื่อเปิดประตูให้น้ำไหลออกไปจะจับกุ้งได้อย่างรวดเร็ว การจับในตอนกลางวันอาจจะใช้การไล่กุ้งจากด้านตรงข้ามกับประตูเปิดจับกุ้งโดยใช้คลอรีนผงหรือใช้อวนลากไล่กุ้งให้ออกมาตรงประตูเปิดจับ 
     
    ในกรณีที่เลี้ยงด้วยน้ำความเค็มต่ำหรือบ่อเลี้ยงที่ไม่มีประตูระบายน้ำ การจับควรใช้อวนทับตลิ่งตามที่แสดงในภาพ 6.41-6.42
     
     
    ภาพที่ 6.41 วิธีจับแบบเปิดประตูใช้อวนทับตลิ่งไล่กุ้งจากด้านตรงข้ามประตูจับเข้าหาประตู
     
          ภาพที่ 6.42 วิธีการจับกุ้งโดยใช้อวนทับตลิ่งในพื้นที่ความเค็มต่ำหรือบ่อที่ไม่มีประตู

    • Update : 15/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch