หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม (9)
    ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม (9)

    พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    แต่ความหวังนั้นคู่กับความหวาด เป็นคู่กันกับความห่วงและความกังวล ดังนั้น พร้อมกับการมีความสุขด้วยความหวังนั้น เขาก็มีความกังวล เช่น เมื่อหวังว่าจะได้ ก็หวาดระแวงหรือกังวลว่าจะมีอะไรมาขัดขวางให้ไม่เป็นไปอย่างที่หวัง เป็นความทุกข์อย่างหนึ่งในการรอความหวัง

    ส่วนคนอีกพวกหนึ่งนั้นอยู่เหนือความหวัง หรือพ้นเลยความหวังไปแล้ว คือไม่ต้องอยู่ด้วยความหวัง ไม่ต้องอาศัยความสุขจากความหวัง หรือว่าความสุขของเขาไม่ต้องขึ้นต่อความหวัง เพราะชีวิตเป็นความสุขตลอดเวลา โดยไม่ต้องหวังเลย และไม่ต้องห่วงกังวล

    เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะทำงานให้ได้ผลดี โดยที่ว่าชีวิตก็มีความสุข และงานก็ได้ผลดีด้วย ก็ควรจะมาให้ถึงขั้นนี้ คือขั้นที่ว่า มองงานกับชีวิตเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน มองว่างานเป็นกิจกรรมที่เป็นเนื้อเป็นตัวของชีวิตแท้ๆ แล้วเราก็ทำงานไปอย่างที่รู้สึกว่ามันเป็นการดำเนินชีวิตของเราเอง และดำเนินชีวิตนั้นให้ดีที่สุดต่อไป

    อีกด้านหนึ่งก็คือ เมื่อเราทำงานไป ไม่ว่าจะมองในความหมายว่าเป็นการพัฒนาตนเองก็ตาม เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนหรือของสังคมก็ตาม ในเวลาที่ทำอยู่นั้น สภาพจิตใจอย่างหนึ่งที่ควรเกิดขึ้น ก็คือความร่าเริงบันเทิงใจ ความเบิกบานใจ

    การทำงานในความหมายบางอย่างก็เอื้อต่อการเกิดสภาพจิตอย่างนี้อยู่แล้ว เช่น ถ้าเราศรัทธาในความหมายของงาน ในคุณค่าของงาน เราทำงานไปก็ทำจิตใจของเราให้ร่าเริงได้ง่าย

    แต่การที่จะให้ร่าเริงนั้น บางทีก็ต้องทำตัวทำใจเหมือนกัน ไม่ใช่ว่ามันจะเกิดขึ้นมาเฉยๆ เราต้องตั้งท่าทีของจิตใจให้ถูกต้อง บอกตัวเอง เร้าใจตัวเองให้ร่าเริง ทำใจให้เบิกบานอยู่เสมอ สภาพจิตอย่างนี้เรียกว่ามีปราโมทย์ ทางพระบอกว่า สภาพจิตที่ดีของคนนั้น ก็คือ

    หนึ่ง ปราโมทย์ มีความร่าเริงเบิกบานใจ

    สอง ปีติ มีความอิ่มใจ ปลาบปลื้มใจ

    สาม ปัสสัทธิ มีความผ่อนคลาย หรือสงบเย็น

    ข้อที่สามนี้มีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน คือ เมื่อผ่อนคลาย ก็ไม่เครียด เป็นข้อที่จะช่วยแก้ปัญหาสภาพจิตในวัฒนธรรมสมัยใหม่ของยุคอุตสาหกรรม พอมีปัสสัทธิแล้ว

    สี่ สุข มีความฉ่ำชื่นรื่นใจ จิตใจคล่องสบาย แล้วก็

    ห้า สมาธิ มีใจแน่วแน่ อยู่ตัว แนบสนิท และมั่นคงไม่วอกแวก ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรรบกวน เรียบ สม่ำเสมอ อยู่กับกิจ อยู่กับงาน เหมือนดังกลืนเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับงาน ซึ่งหมายถึงว่าสมาธิในการทำงานก็เกิดขึ้นด้วย

    องค์ประกอบ 5 ตัวนี้ เป็นสภาพจิตของคนที่ปฏิบัติธรรม ดังนั้น ในการเป็นอยู่และในการทำกิจกรรมทุกอย่าง เราจึงปฏิบัติธรรมได้ทั้งนั้น เมื่อเราดำเนินชีวิตถูกต้อง ทำสิ่งนั้นๆ ได้ถูกต้อง เรามีสภาพจิตทั้งห้าอย่างนี้ ก็เรียกว่า เรากำลังปฏิบัติธรรมตลอดเวลา

    หลายคนไปมองการปฏิบัติธรรมแยกจากชีวิตออกไป ต้องรอไปเข้าป่า ไปอยู่วัด การปฏิบัติธรรมอย่างนั้นอาจเป็น course แบบ intensive แต่ในปัจจุบันคือทุกขณะนี้ เราต้องปฏิบัติธรรมตลอดเวลา ถ้าใครปฏิบัติได้อย่างนี้ตลอดเวลาแล้ว การปฏิบัติอย่างที่เรียกว่า intensive course ก็ไม่จำเป็น สำหรับบางคนจำเป็น เพราะเขาไม่เคยฝึกตนเลย

    ทีนี้ ถ้าเราฝึกตัวเองตลอดเวลาด้วยการทำงานแบบนี้ เราก็ปฏิบัติธรรมตลอดเวลาอยู่แล้ว เราทำงานไป โดยมีสภาพจิตดี ซึ่งจะไม่มีปัญหาสุขภาพจิตเลย

    เพราะมันเป็นสุขภาพจิตเองอยู่แล้วในตัว



    • Update : 13/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch