หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    สงครามเขย่าโลก 10 ปีวินาศกรรม9/11

    ช่วงเช้าวันที่ 11 กันยายน ราว 9 โมง ตามเวลาสหรัฐ เมื่อสิบปีก่อน ซีเอ็นเอ็นราย งานสดเหตุการณ์เครื่องบินชนตึกในนครนิวยอร์ก

    ตรงกับช่วงหัวค่ำในไทย

    ช่วงแรกผู้ชมตื่นเต้นพอสมควรกับรายงานที่เหมือนเป็นข่าว "อุบัติเหตุ" ครั้งใหญ่

    แต่ยังไม่ทันได้คำอธิบายถึงต้นสายปลายเหตุ ภาพที่ถ่ายทอดสดนั้นปรากฏเครื่องบินอีกลำบินเข้ามาพุ่งชนตึกอีกหลังของอาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์

    ชนให้เห็นกันต่อหน้าต่อตาผู้ชมทั่วโลก!

    จากนั้นรายงานอันโกลาหลก็ทยอยเข้ามาไม่ขาดสาย

    มีเครื่องบินอีกลำพุ่งชนอาคารกระทรวงกลาโหม หรือเพนตากอน ในกรุงวอชิงตัน

    ต่อด้วยเครื่องอีกลำของสายการบินยูไนเต็ด เที่ยวบิน 93 ดิ่งกระแทกพื้นและระเบิดในรัฐเพนซิลเวเนีย

    รายงานชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ แล้วว่า นี่ไม่ใช่อุบัติเหตุ แต่เป็นเหตุการณ์ที่กำลังจะเปลี่ยนสถานการณ์โลกครั้งใหญ่

    อธิบายได้ด้วยคำว่า "ก่อการร้าย"



    11 กันยาฯ กลายเป็นเหตุวินาศกรรมที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอเมริกา ดินแดนแห่งเสรีภาพที่ขยายแนวคิดด้านประชาธิปไตยไปทั่วโลก

    การพังครืนของตึกแฝด สัญลักษณ์แห่งความรุ่งเรืองของทุนนิยม เป็นความสูญเสียอันเจ็บปวดรวดร้าวของชาวอเมริกัน

    รวมทั้งสามสถานที่ซึ่งถูกก่อการร้ายในวันที่ 11 เดือน 9 หรือ 9/11 มีเหยื่อเสียชีวิตเกือบ 3,000 ราย ผลการสอบสวนที่ตามมา พบว่า กลุ่มผู้ก่อการจี้เครื่องบินพุ่งชนอาคารเป็นสมาชิกเครือข่าย อัล ไคด้า

    เป็นกลุ่มติดอาวุธชาวอาหรับนำโดย โอซามา บิน ลาเดน ทายาทมหาเศรษฐีซาอุดีอาระเบีย ผู้ผันชีวิตมาต่อกรกับมหาอำนาจสหรัฐ

    ด้วยความคิดที่ต่อต้านอเมริกาอย่างสุดขั้ว ทั้งในด้านการเมืองและศาสนา

    จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ผู้นำสหรัฐในตอนนั้น ไม่รอช้าที่จะหาทางปลอบประโลมชาวอเมริกันด้วยวิธี "ชำระแค้น" เกิดเป็นยุทธการที่เรียกว่า "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย"

    ภายในปีนั้น สหรัฐยกทัพไปโจมตีอัฟกา นิสถาน เพื่อกวาดล้างเครือข่ายของบิน ลาเดน และกลุ่มตาลิบัน

    แม้จะเอาชนะได้เร็ว แต่กลับปิดฉากสงครามไม่ลง กระทั่งภายหลังปลิดชีพบิน ลาเดนได้แล้ว



    ไม่เพียงสหรัฐที่ต้องปรับตัวเข้ากับสถาน การณ์ใหม่ แต่สงครามต่อต้านการก่อการร้ายได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก

    เกิดความขัดแย้งในด้านศาสนาที่ชาวมุสลิมถูกมองด้วยสายตาผิดๆ

    เกิดรอยด่างด้านสิทธิมนุษยชนที่ผู้นำประชาธิปไตยละเมิดเอง จากการกวาดต้อนผู้ต้องสงสัยก่อการร้าย

    รวมถึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดทางการเมืองที่มีผู้คนจำนวนมากเลือกจะยืนอยู่ในฝ่ายตรงข้ามสหรัฐ โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐก่อสงครามอิรักด้วยข้ออ้างด้านอาวุธทำลายล้าง

    มีอีกหลายประเทศในตะวันตกที่ถูกก่อการร้ายครั้งใหญ่ตามมา

    อินโดนีเซีย ถูกวางระเบิดย่านบันเทิงที่เกาะบาหลี ปี 2545 มีผู้เสียชีวิตทั้งชาวต่างชาติและคนในพื้นที่รวม 202 ราย ที่ สเปน ถูกวางระเบิดรถไฟในกรุงมาดริด ปี 2547 มีเหยื่อเสียชีวิต 191 ราย ส่วน อังกฤษ ถูกวางระเบิดซ้อนหลายจุดในกรุงลอนดอน ปี 2548 มีผู้เสียชีวิต 52 ราย

    และยังมีอีกหลายประเทศที่ถูกก่อการร้ายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่า ปากีสถาน เยเมน ไนจีเรีย ฟิลิปปินส์ รวมถึงไทย



    รศ.ดร.ชัยชนะ อิงคะวัต อุปนายกสมาคมอเมริกันศึกษาในไทยประเทศไทย กล่าวว่า เหตุ 9/11 ส่งผลกระทบต่อไทยในทางอ้อม ในฐานะทางผ่านของผู้ก่อการร้าย

    เช่น ฮัมบาลี แกนนำกลุ่มก่อการร้ายเจไอ ถูกทางการไทยและซีไอเอจับกุมได้ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ในปี 2546 และถูกส่งไปอินโดนีเซีย

    ผลส่วนหนึ่งจากการเป็นมิตรที่จงรักภักดีต่อสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุครัฐบาลพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จนถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ทำให้ไทยได้เป็นพันธมิตรหลักนอกนาโต้ (เอ็มเอ็นเอ็นเอ)

    ด้าน นายสุณัย ผาสุก ที่ปรึกษาฮิวแมนไรต์ วอตช์ เห็นว่า ผลกระทบจากวินาศกรรม 9/11 ทำให้เกิดความตื่นตัวของรัฐบาลพ.ต.ท. ทักษิณ ต่อปัญหาก่อการร้ายว่าไม่ได้เป็นเรื่องไกลตัว

    โดยสหรัฐกังวลว่าไทยจะเป็นพื้นที่ปฏิบัติการของเจไอ จึงผลักดันให้ไทยตรวจสอบการเคลื่อนไหว

    นอกจากนี้ หลังจากเหตุ 9/11 หลายประเทศ รวมทั้งไทยแก้ไขกฎหมายอาญาเพิ่มฐานความผิดฐานก่อการร้าย แต่ไทยไม่เคยนำตัวผู้ต้องสงสัยว่าก่อการร้ายมาดำเนินคดีก่อการร้าย แต่กลับดำเนินคดีฐานเข้าเมืองผิดกฎหมาย และไม่ได้ขึ้นศาลไทย เช่น กรณีนายฮัมบาลี

    นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวกลับถูกนำมาใช้ในการห้ำหั่นกันทางการเมือง กล่าวหากลุ่มต่อต้านฝ่ายของตนว่าเป็นกลุ่มก่อการร้าย ซึ่ง อ.คณิต ณ นคร ยังกล่าวว่าการใช้กฎหมายฐานก่อการร้ายถูกนำมาใช้ตามอำเภอใจ

    รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า เหตุความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ลุกเป็นไฟขึ้นมาหลังเหตุการณ์ 9/11 ซึ่งเชื่อมโยงกับกลุ่มอัล ไคด้า ในแนวคิดเรื่องการแบ่งแยกดินแดน แต่ทางการไทยใช้ยุทธศาสตร์ผิด เช่น กรณีตากใบ และกรือเซะ ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมาย

    และยังส่งผลถึงปัจจุบัน



    • Update : 11/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch