หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม (6)
    ชีวิตนี้เพื่องาน งานนี้เพื่อธรรม (6)

    พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    ตัวอย่างเช่น คนทำงานด้วยความต้องการให้เกิดความสงบสุข ความเรียบร้อย ความเป็นระเบียบของสังคม ถ้าทำงานเป็นแพทย์ หรือทำงานเกี่ยวกับโภชนาการ ก็อยากให้มนุษย์ในสังคมนี้เป็นคนที่มีสุขภาพดี ร่างกายแข็งแรง อยากให้มีแต่อาหารที่มีคุณค่าแพร่หลายออกไปในสังคมนี้ แรงจูงใจหรือความปรารถนาอย่างนี้ท่านเรียกว่าเป็นแรงจูงใจแบบฉันทะ แรงจูงใจนี้สำคัญมาก ถ้ามองอีกแง่หนึ่งจะเห็นว่าแรงจูงใจนี้สัมพันธ์กับสัมฤทธิผลหรือจุดหมาย ซึ่งอาจแบ่งได้เป็นจุดหมายของคน กับจุดหมายของงาน

    แรงจูงใจแบบที่หนึ่ง ที่ต้องการผลตอบแทนเป็นเงินเป็นทอง ต้องการเกียรติฐานะความยิ่งใหญ่นั้น โยงไปหาจุดหมายของคนที่ทำงาน ส่วนแรงจูงใจแบบที่สองจะมุ่งตรงไปยังจุดหมายของงาน

    ตามธรรมดาไม่ว่าเราจะทำงานอะไร งานนั้นย่อมมีจุดหมาย เช่นว่า การทำงานแพทย์ก็มีจุดหมายที่จะบำบัดโรค ทำให้คนไข้หายโรค ให้คนมีสุขภาพดี ตัวงานนั้นมีความมุ่งหมายที่ชัดเจนและตรงไปตรงมา

    ถ้าเราทำงานให้การศึกษา เราก็ต้องการผลที่เป็นจุดมุ่งหมายของการศึกษา จุดหมายของงานในการให้การศึกษา ก็คือ การที่เด็กและเยาวชนเป็นคนดี มีความรู้มีความประพฤติดี รู้จักดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ได้พัฒนาตนเองยิ่งขึ้นไป งานทุกอย่างมีจุดหมายของมัน แต่คนที่ไปทำงานก็มีจุดหมายของตัวเองด้วย

    ทีนี้ปัญหาก็อยู่ที่ว่า เมื่อเขาไปทำงานนั้นเขาจะทำงานเพื่อจุดหมายของคน หรือทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่หนึ่ง จุดหมายที่อยู่ในใจของเขาก็จะเป็นจุดหมายของคน คือทำงานเพื่อจุดหมายของคน ให้ตนได้นั่นได้นี่ แต่ถ้าเขาทำงานด้วยแรงจูงใจแบบที่สอง เขาก็จะทำงานเพื่อจุดหมายของงาน ให้งานเกิดผลเป็นประโยชน์ตามคุณค่าของมัน

    ทีนี้ ในการที่เป็นปุถุชน เมื่อยังมีกิเลสก็ต้องประสานประโยชน์ คือ ต้องให้จุดหมายของคนไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับจุดหมายของงาน หมายความว่า ต้องให้ได้จุดหมายของงานเป็นหลักไว้ก่อน แล้วจึงมาเป็นจุดหมายของคนทีหลัง คือให้จุดหมายของคนพลอยพ่วงต่อมากับจุดหมายของงาน

    ถ้าเอาแต่จุดหมายของคนแล้วบางทีงานไม่สำเร็จ และเสียงานด้วย คือ คนนั้นมุ่งแต่จุดหมายของคนอย่างเดียว จะเอาแต่ตัวได้เงินได้ทอง ไม่ได้ต้องการให้งานสำเร็จ ไม่ได้ต้องการเห็นผลดีที่จะเกิดจากงานนั้น ไม่ได้มีความคิดที่จะเอาธุระ หรือเห็นความสำคัญเกี่ยวกับตัวงาน เพราะฉะนั้นจึงพยายามเลี่ยงงาน หรือหาทางลัดที่จะไม่ต้องทำงาน ขอให้ได้เงินหรือผลตอบแทนมาก็แล้วกัน ตกลงว่าแรงจูงใจแบบหนึ่งเป็นเรื่องสัมพันธ์กับจุดหมายของคน และแรงจูงใจอีกแบบหนึ่งเป็นแรงจูงใจที่สัมพันธ์กับจุดหมายของงาน ซึ่งจะเห็นได้ว่าเมื่อทำงานไปแล้วได้ผลสำเร็จขึ้นมา จะเป็นผลสำเร็จของคน หรือเป็นผลสำเร็จของงาน

    ถ้าจะทำงานให้ถูกก็ต้องมองไปที่ผลสำเร็จของงาน ไม่ใช่มุ่งเอาแต่ผลสำเร็จของคน ถ้าจะเป็นผลสำเร็จของคนก็ต้องให้เป็นผลที่ความสำเร็จของงานส่งทอดมาอีกต่อหนึ่ง

    คนจำนวนไม่น้อยหวังแต่ผลสำเร็จหรือผลประโยชน์ของคนอย่างเดียว ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะเป็นปัญหาต่อการพัฒนาประเทศชาติ และการแก้ปัญหาของสังคม ก็ยากที่จะบรรลุความสำเร็จ และจะส่งผลต่อไปถึงสภาพจิตใจด้วย

    ดังได้พูดมาแล้วว่า สภาพจิตใจกับการทำงานส่งผลย้อนกลับกันไปมา คือ สภาพจิตใจที่ดีส่งผลต่อการทำงานให้ทำงานได้ดี และการทำงานได้ดีมีผลสำเร็จ ก็ส่งผลย้อนกลับไปยังสภาพจิตใจ ทำให้มีกำลังใจเป็นต้นอีกทีหนึ่ง

    ดังตัวอย่างที่พูดมาแล้วนี้ ที่ว่าสภาพจิตใจในด้านแรงจูงใจ ที่มุ่งจุดหมายของคน กับมุ่งจุดหมายของงาน ซึ่งจะส่งผลต่อความสัมฤทธิ์ในการทำงาน แล้วก็ย้อนกลับมาบันดาลผันแปรสภาพจิตใจของคนให้เป็นไปต่างๆ กัน



    • Update : 8/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch