หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-สู่อีสาน (๔)

    สู่อีสาน (๔)

               เวลาผมไปโคราช เดิมทีเดียวมักจะพักที่โรงแรม ถนนมหาดไทย ต่อมาก็มักจะไปพักที่โรงแรม ริมถนนมิตรภาพ ที่มีราคาตั้งแต่ ๑,๘๐๐ ไปจนถึงราคาเป็นหมื่น  เชื่อว่าที่เคยพักมีหลายโรงแรมคงไม่เต็ม จึงไม่ได้จองมา แต่ปรากฎว่า พอออกจากชมพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน ก็โทรถามโรงแรมดู มีแต่ผมสู้ราคาไม่ไหว สุดท้ายเมื่อวิ่งมาตามถนนมิตรภาพ จนถึงสามแยกมีไฟสัญญาณ มีทางแยกซ้ายไปขอนแก่น  ไปเข้าถนนช้างเผือกไปประมาณ ๓๐๐ เมตร เลี้ยวซ้ายเข้าโรงแรม เป็นโรงแรมใหม่เอี่ยม ตึกหลังเล็กราคาถูกมี ๒๔ ห้อง คืนละ ๘๐๐ บาท ปรากฎว่าเต็มหมด ตึกหลังใหญ่คืนละ ๒,๖๐๐ - ๙,๐๐๐ แต่ตอนนี้คิดแค่คืนละ ๑,๘๐๐ บาท ผมเห็นโรงแรมของเขาแปลกดี บริการดี ราคาพอสมควร และการตกแต่งเล่นสี ฉูดฉาดตัดกันสวย รวมทั้งพนักงานดูจะย้อมสีผมกันแปลก ๆ หนุ่ม ๆ สาว ๆ แต่งตัวดี มารยาทดี ไหว้กันทั้งวัน ราคานี้รวมอาหารเช้าชั้นดีไว้ด้วย ผมพัก ๒ คืน แล้วก็ออกตระเวนเที่ยวเมืองย่าโม
                   สมัยก่อนประวัติศาสตร์  มีร่องรอยของคนก่อนประวัติศาสตร์ ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดนครราชสีมา จากการสำรวจขุดค้นทางโบราณคดี มีอยู่ทั่วแทบทุกอำเภอ
                   จากการขุดค้นทางโบราณคดี ในบริเวณแอ่งโคราช พบว่า ในบริเวณลุ่มน้ำมูลตอนบน มีกลุ่มชนที่มีการพัฒนาการ รวมกันเป็นหมู่บ้าน รู้จักการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ และผลิตโลหะใช้ เมื่อราว ๓,๕๐๐ ปี มาแล้ว ร่องรอยการตั้งถิ่นฐานของคนก่อนประวัติศาสตร์ ได้พบในเขต  อ.เมือง อ.ชุมพวง อ.โนนสูง อ.โนนไทย อ.สีคิ้ว
                   สมัยประวัติศาสตร์ตอนต้น  เริ่มมีการรับวัฒนธรรมประเพณี ตลอดจนคติความเชื่อมาจากแหล่งอื่น รับอารยธรรมอินเดีย ในสมัยทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๘ และการรับอิทธิพลวัฒนธรรมของขอม หรือเขมร ในพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๘ ก่อนที่จะมีการตั้งอาณาจักรสุโขทัยขึ้น ในพุทธศตวรรษที่ ๑๙
                   พุทธศตวรรษที่ ๑๑ - ๑๖  ความเจริญในสมัยนี้เป็นสังคมเมือง ที่มีพุทธศาสนาลัทธิเถรวาทเป็นหลักของชุมชน เมืองสำคัญ ๆ มีเมืองเสมา (อยู่ใน อ.สูงเนิน) กับเมืองโคราฆะปุระ หรือโคราช  ภายหลังได้มีข้อสันนิษฐานว่า เมืองเสมา คือ เมืองศรีจนาศะ
                   พุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๑๘  วัฒนธรรมขอมได้แพร่เข้ามาสู่อีสาน ทางปักธงชัย และช่องตะโก ลงสู่ชุมชนลำน้ำพระเพลิง ลำจักราช ลำปลายมาศ เกิดเมืองใหม่สมัยลพบุรี
                   สมัยอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๔  (พ.ศ.๑๘๙๓ - ๒๓๑๐)  ปรากฎชื่อเมืองนครราชสีมา ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้ให้พระยายมราช (สังข์) มาครองเมือง และโปรดเกล้า ฯ ให้ย้ายเมืองจากที่ตั้งเดิมคือ เมืองที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน มาสร้างเมืองใหม่ ซึ่งคือที่ตั้งในปัจจุบัน เมืองใหม่นี้ช่างชาวฝรั่งเศส เป็นผู้ออกแบบวางผังเมือง มีเนื้อที่ภายใน ๑,๐๐๐ ไร่ มีป้อม ๑๕ ป้อม มีประตูเมือง ๔ ประตู คือ ประตูพลแสน ประตูไชยณรงค์ ประตูพลล้าน ประตูชุมพล (เป็นประตู ที่ยังเหลืออยู่ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี อยู่หน้าประตูนี้)
                   สมัยกรุงธนบุรี  พระเจ้าตากสินมหาราช ปราบปรามก๊กกรมหมื่นเทพพิพิธ ได้แล้ว และในปี พ.ศ.๒๓๒๑ ได้โปรดให้ เจ้าพระยาจักรี และเจ้าพระยาสุรสีห์ มารวมพลที่นครราชสีมา แล้วยกไปตีกรุงศรีสัตนาคนหุต เมื่อตีได้แล้ว ได้อัญเชิญพระแก้วมรกต และพระบาง กลับมา (พระบาง รัชกาลที่ ๒ คืนกลับไปให้ลาว)
                   สมัยรัตนโกสินทร์  โคราชเป็นเมืองสำคัญในด้านการทหารและการปกครอง เหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ "กบฎเจ้าอนุวงศ์"  มีแผนการจะยกกำลังมาจะเข้าตีกรุงเทพ ฯ เพราะเห็นกรุงเทพ ฯ กำลังระแวงการเข้ามายึดของกองทัพอังกฤษ ที่ได้ทำกับพม่าสำเร็จแล้ว เจ้าอนุวงศ์ซึ่งมีเวียดนามสนับสนุน ให้เวียงจันทน์แยกตัวออกเป็นอิสระ จึงยกกองทัพลาวมา และหลอกหัวเมืองต่าง ๆ ว่า จะมาช่วยกรุงเทพ ฯ รบอังกฤษ ที่สุดยึดนครราชสีมาได้เมื่อ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๓๖๙ ในระหว่างนั้น เจ้าพระยานครราชสีมา (อิน) ไปสนับสนุน เจ้ากิ่งหล้าให้โค่นล้มพระยาไกรสงคราม ที่เมืองขุขันธ์ พระยาปลัด (ทองคำ) ซึ่งเป็นสามีของคุณหญิงโม ก็ติดตามเจ้าเมืองไปด้วย ส่วนทางโคราช เจ้าอนุให้แบ่งครัวชาวเมืองที่กวาดต้อนมาออกเป็น ๒ พวก เพื่อส่งไปเวียงจันทน์ พวกแรกให้ เพี้ยรามพิชัย นำกำลังทหารลาว ๒๐๐ คน คุมชาวเมืองไปทาง ทุ่งสัมฤทธิ์ ทำให้เกิดวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ นำโดยคุณหญิงโม โดยได้วางแผนขอมีด ขอดาบ จอบ เสียม จากทหารลาวอ้างว่า เพื่อไปตัดไม้ ไปล่าสัตว์ แล้วจัดหญิงสาวสวย ช่วยกันนำอาหาร สุรา ไปเลี้ยงทหารลาว จนเมามายและเข้าโจมตีทหารลาว จัดนางสาวบุญเหลือ คนงามที่สุดไปปรนนิบัติ เพี้ยรามพิชัย พอได้เวลาโจมตี นางสาวบุญเหลือแย่งดาบจากเพี้ย แต่ไม่สำเร็จ จึงวิ่งหนีไปทางกองเกวียน ที่บรรทุกดินดำ พร้อมทั้งถือคบเพลิงไปด้วย เมื่อวิ่งไปถึงกองเกวียนดินดำ ก็จุดระเบิดทำลายดินดำ ทางคุณหญิงโม ก็นำหญิงไทยโจมตีฆ่าฟันทหารลาว จนแตกพ่าย
                    ขอบอกกล่าวไว้ก่อนว่า วีรกรรมของคุณหญิงโมนี้ หลายเล่มจะเล่าไม่ค่อยตรงกัน
                    จุดท่องเที่ยวจุดแรกของโคราช ควรจะไปเคารพอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ที่หน้าประตูชุมพล ถนนราชดำเนิน เสียก่อน คุณหญิงโม ภริยาพระยาปลัดทองคำ (ต่อมาได้เป็น พระยามหิศราธิบดี ที่ปรึกาาราชการเมืองนครราชสีมา) จุดนี้นับว่า เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยว ตรงข้ามอนุสาวรีย์ตรงหัวมุม ก็มีร้านอาหาร ประเภทหลายเจ้าอยู่รวมกัน มีตลาดกิมเฮง ที่ไก่ย่างอร่อยนัก มีทั้งไก่ย่าง ไก่เลี้ยง  เครื่องในไก่ หมูย่าง ตับย่าง น้ำจิ้มรสเด็ด น้ำพริกชนิดต่าง ๆ ข้าวเหนียวนึ่งร้อน ๆ อร่อยไปหมด
                    จากอนุสาวรีย์ท่านท้าว ฯ หากเลี้ยวซ้ายมาทางจะมาค่ายทหารสุรนารี จะมาถึงวัดสุทธจินดา ซึ่งเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์ และพุทธอุทยานพระโพธิสัตว์ เจ้าแม่กวนอิม ไปพิพิธภัณฑ์ ไปจอดรถในวั เข้าประตูวัดไปทางขวามือคือ พุทธอุทยาน ติดกับวัดคือ พิพิธภัณฑ์ ซึ่งอดีตเจ้าอาวาส วัดสุทธจินดา สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ดิสโส)  ได้รวบรวมโบราณวัตถุ จากจังหวัดต่าง ๆ แล้วมอบให้กรมศิลปากรเพื่อจัดแสดง มีโบราณวัตถุที่พบในโคราช และจากจังหวัดอื่น ๆ ในภาคอีสาน มีพระพุทธรูปสมัยทวารวดี ที่ได้มาจากแหล่งโบราณคดีเมืองเสมา เครื่องภาชนะดินเผา ที่เผาจากเตาบุรีรัมย์ ก็มี จากบ้านปราสาท อ.โนนสูง กลองมโหรทึกสำริด อายุกว่า ๒,๐๐๐ ปี

                   วัดศาลาลอย  วัดสำคัญที่ย่าโม สร้างขึ้นไว้ เส้นทางหากมาตามถนนมิตรภาพ เลยทางแยกไปขอนแก่น ตรงต่อมาผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา รร.อนุบาล ฯ วิ่งเลียบคูเมือง ผ่านโรงเรียนสุรนารี ผ่านวัดพลับ ถึงสามแยก (หากเลี้ยวขวากลับรถ ตรงสามแยกไปยังคูเมืองอีกฟากหนึ่ง ร้านที่จะพามาชิมอาหารมื้อเที่ยงคือ ร้านตรงข้ามวัดพลับ)
                   สุดทางตรงโค้งถนน วิ่งเข้าประตูวัดศาลาลอยไปเลย เข้าไปสัก ๔๐๐ เมตร ผ่านคณะเพลงโคราชหลายคณะ ก็จะถึงยังลานจอดรถของวัด โบสถ์ศิลปะประยุกต์ สวยงามมาก หน้าโบสถ์คือ อนุสรณ์สถานคุณหญิงโม วัดนี้คุณหญิงโม สร้างไว้เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ หลังชนะศึก เมื่อคุณหญิงถึงแก่อสัญกรรมแล้ว ท่านพระยาปลัดผู้สามี จึงพร้อมใจกันฌาปณกิจ เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๐ เป็นอาคารตึกคอนกรีต ลักษณะคล้ายเรือสำเภา กำลังโต้คลื่น ผนังด้านหน้าเป็นภาพปูนปั้น พุทธประวัติ ภายในประดิษฐานพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร (ขณะนี้ โบสถ์ทรุด กำลังบูรณะ)
                    โบสถ์เก่า คุณหญิงสร้างไว้เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๐ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ตอนนี้ปฎิสังขรณ์ใหม่ แต่รักษาสถาปัตยกรรมเดิมไว้ ได้น้อยไปหน่อย คือ เก่า ปนใหม่
                    ด้านหน้าโบสถ์เก่า มีเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี จะมาสักการบูชากันที่ตรงนี้
                    อาศรมบูรพปรมาจารย์ ชีวกโกมารภัจจ์ อยู่หน้าซ้ายของเจดีย์บรรจุอัฐิ ไปกราบไหว้ หากอยากหายโรคอะไร ก็ซื้อส้มติดไปด้วย ๙ ผล ขอให้ท่านชีวก รักษาโรคให้ ด้วยการอ่านคาถาบูชาท่านชีวก (มีวิธีการบอกไว้ให้ ) แล้วนำส้มกลับมากินโรคจะหาย
                    อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ประดิษฐานในศาลากลางน้ำ หลังอุโบสถหลังใหม่ เป็นรูปหล่อในท่านั่งพนมมือ ไหว้พระฟังพระธรรมเทศนา
                    คงจะพาเที่ยวในเมืองโคราช ได้เพียงเท่านี้งานประเพณี ฉลองชัยชนะของท้าวสุรนารี มีทุกปีจัดด้านหลังของอนุสาวรีย์ย่าโม มีวันที่ ๒๓ มีนาคม วันชำนะศึกจนถึง ๓ เม.ย. ผมพักที่โรงแรม อยู่ ๒ คืน มื้อค่ำคืนแรกเดินออกมาจากถนนหน้าโรงแรม ข้ามถนนช้างเผือก ไปกินข้าวต้มที่มีแต่อาหารตามสั่ง สั่งมา ๔  จาน กินไม่ถึงครึ่งรสชาติดี แต่ชามใหญ่เหลือเกิน เจ็บใจเลยห่อกลับมาใส่ตู้เย็น
                    คืนที่ ๒ ถนนช้างเผือก ถนนหน้าทางเข้าโรงแรม ร้านอาหารแยะ เสียดายถนนที่อยู่หน้าโรงแรม ร้านอาหารปิดแค่ตอนบ่ายคือ ก๋วยเตี๋ยว กุ๋ง กิ๋ง น่าชิม ร้านไอคริม เค้ก แขวนป้ายคลีน ฟู๊ด ก็ปิดเร็วไปหน่อย ต้องชิมกันมื้อเที่ยง ฝากไว้ก่อน ออกจากหน้าโรงแรม พอถึงถนนช้างเผือก เลี้ยวซ้ายจะเห็นร้านเนื้อย่างเกาหลี หมูกระทะ ๒ ร้าน คนเต็มเดินไปเรื่อย ๆ สัก ๑๐๐ เมตร ร้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่โดด ๆ มีโต๊ะนั่ง ๕ - ๖ ตัว ไม่ต้องเสียเวลาหาชื่อร้าน จัดร้านสบาย ๆ มีอาหาร ๓ พวก คือ สเต็ก ต่าง ๆ ราคาอย่างแพง ๕๕ บาท พวกอาหารจานเดียว เช่น ข้าวหน้าต่าง ๆ และขนมปังหน้าต่าง ๆ เช่น ทาแยม เครื่องดื่มประเภทน้ำปั่น ๒ คน จ่ายไป ๑๓๐ บาท อิ่มจนพุงแข็ง
                    ชวนชิม ร้านริมคูเมืองฝั่งตรงข้ามวัดพลับ สงสัยกลับไปดูเส้นทางตอนไปวัดศาลาลอยอีกที อยู่ติดกับวัดอีสาน ร้านขนาด ๒ ห้อง คนเต็ม เป็นร้านเดียวที่หาเป็ดย่างพิมายกินได้ โดยไม่ต้องไปกินถึงร้านที่ อ.พิมาย
                    เป็ดย่างพิมาย นำเป็ดมาแบะออกหมักรส แล้วประกบไม้ย่างแบบไก่ย่าง ย่างแห้งจิ้มน้ำจิ้มรสออกหวาน ใส่ถั่ว หนังเป็ดกรอบ กลัวไม่พอสั่งปีกเป็ด คอเป็ด เครื่องในเป็ดย่างมาอีกจาน เป็ดจะเนื้อแน่น รสเยี่ยม อร่อยมาก ๒ คน ๑ ตัว ให้ถือเกณฑ์นี้เอาไว้
                    ลาบเป็ด เผ็ดนิดเดียว เผ็ดอร่อย โรยหน้าด้วยพริกขี้หนูทอด ใบมะกรูดทอด  ผัก ๑จาน มีผักไผ่ ผักจิก ถั่วฝักยาว แตงกวา โหระพา สะระแหน่
                    แกงผักหวาน ไข่มดแดง ไข่มดแดงลอยหน้า ใส่เห็ดนางฟ้า วุ้นเส้น ซดรสเด็ดนัก
                    อย่าลืมสั่ง ข้าวนึ่งมาอีก ๑ กระติ๊บ กินกับข้าวสวยจะไม่เข้ากัน


    • Update : 4/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch