หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ทำชั่วได้ชั่ว
    ทำชั่วได้ชั่ว

    คอลัมน์ ธรรมะวันหยุด


    คนทั้งหลายเมื่อทำความชั่วแล้ว ไม่ต้องการได้รับผลชั่ว คอยนึกคิด อธิษฐานว่า ขออย่าให้ผลชั่วตกมาถึงเราเลย ถ้าจะให้ผล ก็ขอให้ยืดเวลาไปให้นานที่สุดท่าที่จะนานได้

    กรรมชั่วที่บุคคลทำแล้ว จะให้ผลเร็วหรือช้า มากหรือน้อยอย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยประกอบในเวลานั้นว่า เปิดโอกาสให้กรรมชั่วให้ผลมากน้อยเพียงใด

    เหตุปัจจัยประกอบที่จะให้กรรมชั่วให้ผลเร็วหรือช้า มากหรือน้อยนี่เอง ท่านเรียกว่า วิบัติ เป็นเหตุปัจจัยอันอำนวยหรือเปิดช่องให้กรรมชั่วให้ผลได้มาก ปิดกั้นโอกาสแห่งกรรมดี

    วิบัติ หมายถึง ข้อเสีย หรือจุดอ่อน ความไม่สมประกอบ ความไม่ถูกต้อง สิ่งที่เมื่อมีหรือบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดอุปสรรคขัดข้อง ท่านจำแนกไว้ 4 ประการ คือ

    1. คติวิบัติ กำเนิดเสีย เกิดในที่อันไม่เหมาะสมแก่ความเจริญรุ่งเรือง ทางดำเนินชีวิตไม่ดี สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยให้ทำความดี ไม่เปิดทางให้ทำความดี แต่เปิดทางให้ความชั่วต่างๆ เกิดขึ้น

    2. อุปธิวิบัติ หมายถึง ร่างกาย คือ ได้ร่างกายที่พิการ ไม่งดงาม บุคลิกภาพหรือสุขภาพไม่ดี ไม่เอื้ออำนวยให้ทำความดี แต่กลับเปิดทางให้แก่กรรมชั่วและผลชั่ว

    3. กาลวิบัติ บุคคลบางคนเกิดในกาลอันไม่สมควร เช่น เกิดในสมัยที่โลกกำลังเสื่อม ไม่เจริญ บ้านเมืองมีแต่ภัยพิบัติ สังคมกำลังเสื่อม คนชั่วได้รับการยกย่อง คนดีถูกดูหมิ่น เหยียดหยาม ผู้เกิดในกาลเช่นนี้ ในสังคมเช่นนี้ มีอุปสรรคมากในการทำความดี แม้ทำความดีแล้ว จะให้ความดีให้ผลปรากฏชัดในขณะนั้น เวลานั้นก็ยาก 4. ปโยควิบัติ หมายถึง ความพยายามเสีย ถึงแม้จะมีความพยายาม แต่ก็ใช้ความพยายามไปในทางที่เสีย ใช้ไปในทางที่ผิด เป็นมิจฉาวายามะ เช่น ความพยายามของโจร ความพยายามของผู้มุ่งทำความชั่ว ยิ่งพยายามมากก็ยิ่งผิดมาก ไม่มีผลไปในทางที่ดี ก่อโทษทุกข์ให้เกิดขึ้นทั้งแก่ตนและผู้อื่น เหมือนคนเดินทางผิด ยิ่งเดินไปมากเท่าใด ก็ห่างจุดหมายปลายทางออกไปทุกที

    ดังนั้น บุคคลผู้ประกอบด้วยวิบัติ 4 ประการดังกล่าวมา ก็จะทำให้ความสำเร็จแห่งชีวิตลดน้อยลง การที่คนทั่วไปต้องประสบวิบัติอยู่เป็นอันมาก เช่น ความลำบากยากจน ความพิการ โรคร้ายไข้เจ็บ ความขัดแย้ง ความไม่สมหวังในสิ่งประสงค์ เรื่องนี้ หลักพระพุทธศาสนาบอกว่า ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย สิ่งทั้งหลายเป็นไปตามเหตุตามปัจจัย ไม่เป็นไปตามความต้องการของคนใดคนหนึ่งนั่นเอง



    พระเทพคุณาภรณ์ (โสภณ โสภณจิตฺโต ป.ธ. 9)

    เจ้าอาวาสวัดเทวราชกุญชร วรวิหาร

    • Update : 4/9/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch