หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (19)
    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (19)

    พระพรมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.อ.๙)


    ในเรื่องศีลนี้มีหลักการอย่างหนึ่งว่า มนุษย์ต้องมีการเคลื่อนไหวและการเคลื่อนไหวนั้นก็ต้องเป็นไปในรูปลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อเคลื่อนไหวในรูปลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งนั้นแล้ว พอจะมีการเคลื่อนไหวเช่นนั้นใหม่อีกเขาก็มักจะดำเนินตามรูปลักษณ์ของการเคลื่อนไหวอย่างนั้นซ้ำอย่างเดิม และเมื่อทำอย่างนั้นต่อๆ ไป การเคลื่อนไหวในรูปลักษณ์นั้นก็จะกลายเป็นพฤติกรรมเคยชิน พอเป็นพฤติกรรมเคยชินแล้วก็แก้ไขยาก ถ้าเป็นพฤติกรรมเคยชินที่ดีก็จะเป็นประโยชน์ต่อไปตลอด แต่ถ้าเป็นพฤติกรรมเคยชินที่ไม่ดีก็เป็นการเสียหายแก่ชีวิตของเขา เช่นเสียบุคลิกภาพ น่ารังเกียจ เสียความรู้สึกของผู้พบเห็น หรือสร้างความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์ เป็นต้น เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็จึงเป็นจุดช่วงชิงที่ว่าจะทำอย่างไรให้คนมีพฤติกรรมเคยชินที่ดีได้ก่อน โดยเฉพาะสำหรับเด็กๆ เรื่องนี้สำคัญมาก การยืนเดินนั่งนอน กิน ดื่ม ฯลฯ เป็นที่จับของพฤติกรรมเคยชินได้ทั้งนั้น

    ดังนั้น การวางระเบียบวินัยต่างๆ ในความหมายหนึ่งก็คือระบบการสร้างพฤติกรรมเคยชินที่มุ่งให้เกิดพฤติกรรมเคยชินที่ดี และพฤติกรรมเคยชินที่ดีนี่แหละเป็นศีล ซึ่งแปลว่าพฤติกรรมดีงามที่เป็นปกติของเขา เมื่อคนปฏิบัติตามวินัยแล้ว ความประพฤติอย่างนั้นก็ลงตัวกลายเป็นความเคยชินเป็นปกติของเขาอย่างนั้น เช่น มารยาทในการขับรถ มารยาทของคนเดินถนน เป็นต้น

    ดังนั้น จุดสำคัญที่จะต้องตั้งเป็นเป้าหมายอันดับแรกก็คือ ทำอย่างไรจึงจะให้เด็กหรือคนที่เข้ามาใหม่ได้พฤติกรรมเคยชินที่ดีติดตัวไป โดยเฉพาะคนที่มีศักยภาพในการฝึกน้อย พอเคยชินอย่างไรก็จะอยู่แค่พฤติกรรมนั้น จะติดจะยึดอยู่กับพฤติกรรมเคยชินนั้น จะแก้ไขปรับใหม่ได้ยากหรือไม่ได้เลย จะพัฒนาเหนือกว่านั้นยาก ต่างจากคนที่มีศักยภาพในการพัฒนาสูง ซึ่งสามารถปรับปรุงตัวเองได้เสมอ ไม่อยู่ในความครอบงำของความเคยชิน แต่คนประเภทนี้มีจำนวนน้อยอย่างยิ่ง เราจะต้องระลึกไว้ว่าในแง่ของสังคมนั้นเราพูดถึงคนส่วนใหญ่ เรากำลังเอาหลักการนี้มาใช้กับคนส่วนใหญ่ซึ่งชีวิตติดอยู่ในกรอบของพฤติกรรมเคยชิน การพัฒนาในระดับศีลจึงมีความสำคัญมาก เราจึงต้องเน้นเรื่องการสร้างพฤติกรรมเคยชินที่ดี

    สำหรับคนส่วนใหญ่ที่ว่านั้น เมื่อเขามีพฤติกรรมเคยชินอย่างไรแล้ว ก็จะเกิดการยึดติดว่าอันนี้แหละดี เขาเคยทำมาอย่างนี้ ใครทำอย่างอื่นจะแปลก เขาจะไม่เห็นด้วย คนพวกนี้อาจจะไม่ใช้ปัญญา อาจจะไม่ยอมคิดพิจารณาเลยด้วยซ้ำ เขาเพียงแต่ยึดติดในสิ่งที่ตนเองเคยทำมาเท่านั้น ในเมื่อมนุษย์อยู่ในสภาพอย่างนี้มาก เราจึงต้องใช้หลักธรรมชาติเหล่านี้ให้เป็นประโยชน์ คือชิงสร้างระบบพฤติกรรมเคยชินที่ดีให้สะสมขึ้นมาก่อน เรื่องของแบบแผน ประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงาม ตลอดจนกฎเกณฑ์กติกาที่ออกมาในรูปของบัญญัติทางสังคมเป็นกฎหมายเป็นต้นนั้น ก็รวมอยู่ในหลักการนี้ ถ้าเราวางระบบให้ดี จนลงตัวติดเป็นพฤติกรรมเคยชินของคนรุ่นหนึ่งได้แล้ว มันก็จะเกิดการสะสมและถ่ายทอดจากคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อที่จะได้ปฏิบัติตามๆ กันไป แล้วก็จะส่งผลไปที่จิตใจให้เกิดความชื่นชมและยึดถือด้วย เวลาจะประพฤติอย่างนั้นความชื่นชมยึดถือในจิตใจก็จะส่งแรงเสริม เจตจำนงให้เจตนามุ่งไปที่จะทำที่จะประพฤติอย่างนั้น

    เป็นอันว่า การฝึกฝนพัฒนาในขั้นศีลเป็นขั้นที่สำคัญมาก โดยเฉพาะสำหรับคนส่วนใหญ่ในสังคม ถ้าบุคคลเกิดพฤติกรรมเคยชินที่ไม่ดีแล้ว การที่จะเปลี่ยนแปลงก็ทำได้ยาก แต่อย่างไรก็ตาม ในพระพุทธศาสนา ซึ่งถือหลักสิกขาแห่งการฝึกฝนพัฒนา คน การปรับปรุงพัฒนาแม้จะทำได้ยาก ก็ถือว่าต้องพยายามทำ และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นก็สามารถทำได้โดยใช้หลักไตรสิกขานี่แหละ เพราะไตรสิกขานั้นเมื่อมองในแง่ของการพัฒนาสิ่งที่จะต้องทำอย่างหนึ่งก็คือการแก้ไขปรับปรุงความเคยชิน ด้านหนึ่งนั้นมันเป็นการสร้างพฤติกรรมที่ดี แต่พร้อมกันนี้อีกด้านหนึ่งก็เป็นเรื่องของการแก้ไขพฤติกรรมเคยชินที่ไม่ดีด้วย ยิ่งกว่านั้นยังก้าวต่อไปสู่การปรับปรุงแม้แต่พฤติกรรมเคยชินที่ดีอยู่แล้ว

    ให้เป็นไปด้วยจิตใจและปัญญาที่ถูกต้องให้ดียิ่งขึ้นไปอีก

    • Update : 30/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch