|
|
เที่ยวทั่วไทย-วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์
วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ หากจะเรียกนามวัดกันให้เต็มที่ จะต้องเรียกว่า "วัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์" วัดนี้จัดสร้างขึ้นบนที่ดินของกรมธนารักษ์ ตั้งอยู่บนยอดเขาโคกแผ่น บ้านโคกแผ่น ตำบลทำนบ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ มีเนื้อที่ ๙๖ ไร่เศษ เริ่มก่อสร้างเมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ รูปแบบเป็นรูปเหมือนเรือที่ยกเอาเรือไปตั้งอยู่บนภูเขา ชื่อราชญาณนาวาฑีฆายุมงคล อันมีความหมายถึงที่ซึ่งน้ำท่วมไม่ถึง และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ จาดสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณีวัฒนา ฯ รับเป็นวัดในพระองค์ ซึ่งถือว่าเป็นวัดแรก และวัดเดียวเท่านั้น จะไม่มีวัดในพระองค์ของสมเด็จพระพี่นาง ฯ อีกต่อไปในอนาคตอีกแล้ว เพราะได้โปรดพระราขทานรับเป็นวัดในพระองค์ เมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๐ และพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์ เมื่อวันพุธที่ ๒ มกราคม ๒๕๕๑
เส้นทาง ผมเดินทางไปคราวนี้ตั้งใจจะไปยังวัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์เป็นลำดับแรก แล้วไปยัง จ.อุทัยธานี เพื่อไปยังหุบป่าตาด ไปต่อยัง จ.ชัยนาท เพื่อไปไหว้หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า แล้วจะไปปิดท้ายของการเดินทางที่ตลาดเก้าห้อง อ.บางปลาม้า จ.สุพรรณบุรี และการเดินทางคราวนี้ ผมหลงทางเพราะป้ายของกรมทาง ที่บอกไว้เกือบทุกจังหวัด ซึ่งหลงทางแต่ละที เสียน้ำมันไปไม่ต่ำกว่า ๒ – ๓ ลิตร ในวันที่ราคาน้ำมันลิตรละ ๓๙ บาท ก็หลายสตางยค์เหมือนกัน
จากบ้านลาดพร้าว ไปออกถนนเลี่ยงเมืองไปโผล่ที่ประตูน้ำพระอินทร์ แยกเข้าถนนเอเชีย หรือทางหลวงแผ่นดินสาย ๓๒ ซึ่งผมได้บอกแล้วว่า กรมทางหลวงนึกสนุกเปลี่ยนหมายเลขหลัก กม.ใหม่ และยังไม่ได้เปลี่ยนตลอดสาย พอเข้าสาย ๓๒ แทนที่หลัก กม.จะเป็น ๕๔ กม.จากกรุงเทพ ฯ ก็จะเป็น กม.๑ ไล่ไปจนถึงหลัก กม.ที่ ๑๘๔ ซึ่งถนนพหลโยธิน (เดิม) มาบรรจบ และจากนี้ไปถนนสาย ๓๒ จะต้องเป็นถนนพหลโยธินหลัก กม.จะมาถึง ๕๔ หรือ ๕๓ (ยังไม่ได้เขียนไว้) แต่ปรากฏว่ากระโดดไปเป็นหลัก กม.เดิมของพหลโยธินคือเริ่ม ๑๘๔ หรือ ๑๘๕ ใหม่ จึงวุ่นวายไปหมด
ผ่านอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี เลยไปอีก ๑๕ กม. ถึง อ.อินทร์บุรี เลยไปอีกนิดจะมีทางแยกขวาคือ ทางหลวงแผ่นดินสาย ๑๑ (เลี้ยวขวาไม่ได้ ต้องเลี้ยวซ้ายไปข้ามสะพานมา) เมื่อเข้าถนนสาย ๑๑ แล้วจะพบป้ายไปวสัดป่าสิริวัฒนวิสุทธิ์ เป็นป้ายแรกและจะพบต่อไปอีกหลายป้ายจนนถึงวัด เมื่อพบป้ายแล้วขับตรงต่อไปตามสาย ๑๑ ประมาณ ๔๐ กม. จะถึงสี่แยกตากฟ้า (เลี้ยวซ้ายไปชัยนาท - เลี้ยวขวามาลพบุรี) ให้ขับผ่านสี่แยกตรงต่อไปจนถึงประมาณ กม.๖๖ พบป้ายให้เลี้ยวซ้าย จะเลี้ยวเข้าถนนทางหลวงชนบท ไปถึง กม.๕ ให้เลี้ยวซ้ายอีก (ตรงไปจะไป อ.ท่าตะโก) ตามป้ายไปอีกประมาณ ๓ กม.เศษจึงจะถึงวัด ก่อนถึงวัดภูมิประเทศข้างทางจะเป็นทุ่งนา และทางขวาจะเป็นเนินเขาเตี้ย ๆ หากเงยหน้ามองไปยังยอดเขาจะมองเห็นวัดเป็นรูปเรือ เมื่อขึ้นไปถึงบริเวณวัดแล้ว จะผ่านเนินที่ ๑ ซึ่งทางขวาเป็ยนที่ตั้งของกุฎิชินวรสิริวัฒน์ (กุฎิเจ้าอาวาส) และศาลาหอฉัน (วัดไม่มีโรงครัว พระต้องเนลงไปบิณฑบาตที่หมู่บ้าน เวลากลับวัดมีรถรับกลับ) วิ่งต่อไปถนนจะลาดชันตลอดระยะทาง จะถึงเนินที่ ๒ มีลานบจอดรถทางด้านซ้ายสุดลาน มีร้านขายเครื่องดื่ม, วัตถุมงคล และหนังสือธรรม ทางขวาของลานคือทางเดินขึ้นไปยัง เรือราชญาณนาวาฑีฆายุมงคล และเจดีย์ศรีมหาราชา (ด้านหลังเจดีย์มีทางเดินต่อไปยังเนินที่ ๓ ได้) จากเนินที่ ๒ ขับรถขึ้นเขาต่อไป ขับระวังมาก ๆ เพราะถนนช่วงนี้จะชันมาก และหักโค้งเป็นข้อศอกเรียกว่า ไม่รู้ว่าโผล่ขึ้นไปจะพบอะไร ตั้งแต่เนินที่ ๒ รถจะเดินทางเดียว ลดอันตรายจากรถที่จะสวนลงมา ระหว่างทางจะผ่านลานจอดรถแคบ ๆ ลงไปยังด้านหลังอุโบสถได้ และมีวิหารสมเด็จย่า
ถ้าจะนำชมกันให้ทั่วทั้งวัด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างที่งดงามมากเหลือเกิน คงจะนำชมไม่ไหว ผมเองก็ชมไม่ทั่วทุกจุด ขนาดใช้เวลาร่วม ๒ ชั่วโมง เพราะไม่ใช่แค่ชมด้วยตา ใจตต้องชมด้วยและกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยความเคารพอย่างจริงใจ
ผมเริ่มชมจากวิหารสมด็จย่าหริอวิหาร สว.ก่อน วิหารนี้ประดิษฐานเทพทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับชะตาชีวิตมนุษย์ โดยมีเทพนพเคราะห์ทั้ง ๙ องค์ ได้แก่พระเกตุ พระเสาร์ พระราหู พระพฤหัศบดี พระศุกร์ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระอังคารและพระพุธ กำลังวันของเทพนพเคราะห์ (เว้นพระเกตุ) จะได้ดู ๑๐๘
จากวิหาร สว. ซึ่งมีทางลงไปยังอุโบสถได้ ก็ขับรถขึ้นต่อไปทางยิ่งชันไปจนถึงเนินที่ ๓ จอดรถแล้วเดินขึ้นไปยังเจดีย์ศรีพุทธคยา ซึ่งบอกว่าจำลองได้เหมือนสกับพุทธคยา ณ รัฐพิหาร เมืองคยา ประเทศอินเดีย ชั้นล่างเป็นที่ปฏิบัติธรรม ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย ชั้น ๓ เป็นพระคันธกุฎี ซุ้มสรอบพระเจดีย์มีพระพุทธรูป มีเสามังกรหน้าเจดีย์ ยามเช้าแสงอาทิตย์จะส่ององค์พระเจดีย์สวนมาก
พื้นลานด้านหน้า มีลานหยิน หยาง ใช้เป็นลานจอด ฮ.เวลาเสด็จ ฯ
เลยพื้นลานออกไปที่ปลายเนิน มีเสาอโศก แกะสลักภาพพุทธประวัติที่ฐานเสา
ชมพุทธคยาและเข้าไปนมัสการพระพุทธห้องชั้นล่างแล้วก็กลับลงมาที่เนิน ๒ ผมลงมาแล้วไม่รู้ว่าจะไป "นาวาธรรม"ได้อย่างไร ให้เลขา ฯ ไปถามพระในหอฉัน ท่านบอกว่าไปจอดรถที่ลานร้านโค๊ก วัดนี้มองหาพระจะไม่พบมีแต่สถานที่ จอดรถแล้วเดินขึ้ยนไปบนนาวาธรรม ซึ่งบนนาวานี้จะมีส่วนสำคัญดังนี้ ลำนาวากว้าง ๓๐ เมตร ยาวประมาณ ๑๐๐ เมตรเศษ ส่วนหัวเรือมีพระพุทธรูป พระพุทธเอกนพรัตน์ มองให้ดี ๆ เพราะพระพุทธรูปองค์นี้ สร้างผสมผสานกันเป้นพระพุทธรูป ๓ องค์ ๓ สมัย ๔๔ อิริยาบถ ๑๐ ปาง ในฐานเดียวกัน ประทับยืนแบบสุโขทัย ประทับนั่งแบบเชียงวแสน ปางไสยาสน์แบบสมัยอู่ทอง ประทับยืนมี ๕ ปางคือ ปางประทับรอยพระพุทธบาท ปางรำพึง ปางห้ามญาติ ปางถวานเนตร ปางอุ้มบาตร ปางประทับนั่ง มีปางนาคปรก ปางสมาธิ ปางป่าลิไลยก์ ปางไสยาสน์มี ๒ ปางคือ ไสยาสน์และพระเกตุธาตุ
ลานธรรมจักร กว้าง ๗๗ เมตร ประดิษฐานพระธรรมจักร อยู่ถัดมาจากหัวเรือ
ศาลเสด็จในกรม กรมหลวงชุมพรเจตอุดมศักดิ์ อยู่ต่อมาจากลานธรรมจักร์
อุโบสถ เดินมาจากหัวเรือตรงมาคือ อุโบสถสร้างเป็นมณฑปเรือนแก้ว ตามแบบสถาปัตยกรรมประยุกต์ไทย - อินเดีย อยู่ด้านหน้าเจดีย์ศรีธรรมราชา เมื่อเข้าไปจะเห็นพระบาทคู่ (ทีแรกนึกว่าแทนพระประธาน เพราะอยู่ตรงหน้าทางเข้า) พระประธานอยู่ทางงด้านซ้ายของประตู ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ได้เสด็จมาถวายเป็นการส่วนพระองค์คือ พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร พระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ๕๙ นิ้ว สูง ๙๕ นิ้ว
พระพุทธกุมาร พระพุทธรูปที่ซุ้มด้านหลังอุโบสถ (อย่าคิดว่าเป็นกุมารทอง)
เจดีย์ศรีมหาราช เป็นเจดีย์องค์แรกดของวัดนี้ อยู่ด้านหลังของอุโบสถสูง ๔๕ เมตร
ห้องมหาราช ห้องโถงชั้นล่างของเจดีย์ประดิษฐานรูปหล่อของมหาราชไทยทุกพระองค์ คือพ่อขุนรามนคำแหง สมแด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช รับาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระเจษฎาราชเจ้าพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (มี ๒ องค์ ที่ยังไม่ได้ถวายนามมหาราช แต่เจ้าคุณเทพโมลี ได้ให้หล่อไว้ด้วย เชื่อว่าต่อไปอาจจะมีการถวายมหาราช) และยังมีพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระพี่นาง ฯ และสูงสุดคือ พระสยามเทวาธิราช เข้าไปในห้องทุกท้อง ก็พูดได้คำเดียวว่าสงบ เยือกเย็น และสวยเหลือเกิน
ชั้นที่สูงขึ้นไป ไม่เปิดให้เข้าชม ต้องไปขอจากเจ้าอาวาส ทราบว่ามีดังนี้
ห้องพระนางจามเทวี ประดิษฐานพระนางจามเทวี แกะสลักด้วยไม้
ห้องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถและสนมเด็จพระสุพรรณกัลยา และที่ฝาผนังมีภาพวาดไกลบ้าน มีความหมายที่พรนาง ฯ จากบ้านไปแดนไกล
ชั้นที่ ๔ จะมีภาพของสมแด็จพระมหาจักรพรรดิกับสมเด็จพระศรีสุริโยทัยพร้อมด้วยโอรสและพระราชธิดา และมีภาพสมเด็จพระสุริโยทัยแต่งชุดอุปราชออกรบ
มีพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๖ ฝีมือ อ.ศิลป์ พีระศรี
ห้องพระสุริโยทัย ห้องติดกัน รูปหล่อจำลององค์สมเด็จพระสุริโยทัยและภาพวาดอีก ๓ ภาพ ภาพวีรกษัตริย์ ภาพแรงอธิษฐาน และภาพชื่อสุริโยทัย
ห้องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อยู่ชั้น ๕ เช่นกัน มีแท่นธรรมมาสน์ สมัยที่ ร.๔ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ
ชั้นที่ ๖ ห้องพระไตรปิฎก - ยอดเจดีย์ เก็บพระไตรปิฎกและมีรูปเหมือนของเกจิอาจารย์ที่พระเทพโมลีเคารพคือ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ สมเด็จโต หลวงปู่ทวด และหลวงปู่โง่นโสรโย จากห้องนี้มีบันไดขึ้นไปได้ถึงยอดเจดีย์ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ พระพุทธกาญจนาภิเษก ประดิษฐานอยู่หน้าบรรณของพระเจดีย์
กลับลงมาจากวัดด้วยความอิ่มเอิบใจ พอกลับมาถึงสามแยกก็เลี้ยวซ้ายไปอีก ๖ กม. จนบรรจบกับถนนสาย ๓๐๐๔ ไปนครสวรรค์ก็เลี้ยวซ้าย มีร้านอาหารหลายร้าน แต่ไม่เข้าตากรรมการ ๒ คน ทั้ง ๆ ที่บ่ายโมงกว่าแล้ว แต่พอเลี้ยวซ้ายมาสัก ๕๐๐ เมตร ทางซ้ายคือไทยประกันชีวิต ทางขวาคือศาลหลวงพ่อศิลา ข้างซ้ายของบศาลมีถนนผ่าน ติดถนนคือร้านก๋วยเตี๋ยวลิ้นวัวท่าตะโก ดูร้านแล้วเข้าตากรรมการ เลี้ยวรถไปจอด ร้านปลูกต้นไม้ไว้มากทำให้ร่มเย็น แต่น่าเสียดายที่มาช้าไป ลิ้นวัวหมด กระเพาะหมูหมด ตับเหล็กหมด เหลือแต่เนื้อเปื่อยอย่างเดียว
เส้นใหญ่น้ำเปื่อย ร้อนควันฉุย น้ำซุปหอม เนื้อเปื่อย ไม่ยุ่ย ได้เคี้ยวกรุบ ๆ น้ำจิ้มเยี่ยม ออกรสหวาน เผ็ดนิด ๆ กำลังอร่อยสั่งอีกเส้นเล็กแห้ง เสียงร้องตอบมาว่ามีเหลือชามเดียวค่ะ หมดเลี้ยงจริง ๆ เลย ต้องแบ่งกัน ได้แค่ครึ่งท้อง ขอรับรองในความอร่อย ไปวัดอีกเมื่อไร จะมาชิมตั้งแต่ก่อนเที่ยงเลยทีเดียว .............................................
|
Update : 28/8/2554
|
|