หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (17)
    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (17)

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    ในขณะที่ทำเรามีสภาพจิตใจเป็นอย่างไร เร่าร้อน กระวน กระวายขุ่นมัว เศร้าหมอง หรือว่ามีจิตใจที่สงบ ร่าเริง เบิกบาน เป็นสุข เอิบอิ่ม ผ่องใส (สมาธิ) การกระทำครั้งนี้ เราทำด้วยความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำ มองเห็นเหตุผล รู้เข้าใจหลักเกณฑ์และความมุ่งหมาย มองเห็นผลดีผลเสีย และหนทางแก้ไขปรับปรุงพร้อมดีแล้วหรือไม่ (ปัญญา)

    เพราะฉะนั้น คนที่ฉลาดจึงสามารถบำเพ็ญสิกขา คือฝึกฝนพัฒนาตน และสำรวจตรวจสอบวัดผลการพัฒนาตนได้เสมอตลอดทุกครั้งทุกเวลา เป็นการบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับรอบเล็ก (คือครบทั้งสามสิกขาในพฤติกรรมเดียวหรือกิจกรรมเดียว) พร้อมกันนั้นก็เจริญไตรสิกขาในระดับรอบใหญ่ (คือค่อยๆ พัฒนาขึ้นไปทีละส่วน) ไปด้วย ชนิดที่ดูภายนอกก็เหมือนศึกษาไปตามลำดับทีละอย่าง โดยที่การบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับรอบเล็กนี้ก็จะช่วยให้การเจริญไตรสิกขาในระดับรอบใหญ่ก้าวหน้าไปด้วยดี แล้วในทางย้อนกลับการเจริญไตรสิกขาในระดับรอบใหญ่ ก็จะส่งผลให้การบำเพ็ญไตรสิกขาในระดับรอบเล็กมีความมั่นคงและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจนเต็มเปี่ยมในที่สุด

    ตามที่กล่าวมานี้ต้องการให้มองเห็นความสัมพันธ์อย่าง อิงอาศัยซึ่งกันและกันขององค์ประกอบที่เรียกว่าสิกขา 3 ในกระบวนการศึกษาและพัฒนาพฤติกรรม เป็นการมองรวมๆ อย่างสัมพันธ์ถึงกันหมดในรอบเล็ก โดยไม่ได้แยกออกเป็นเรื่องๆ แต่ถ้ามองในแง่ของช่วงยาว จุดเน้นจะต่างกันในกระบวนการฝึกนี้ กล่าวคือ เริ่มต้นจุดเน้นจะอยู่ที่ศีล ส่วนสมาธิและปัญญาจะเป็นตัวแทรกเสริมหรือแฝงอยู่ ต่อมาในช่วงที่ 2 เมื่อศีลมั่นคงดีแล้วก็จะเน้นเรื่องสมาธิ โดยมีศีลเป็นฐานรองรับและปัญญาก็คอยดูแลอยู่ จึงมองเห็นเป็นภาพรวมแบบหยาบๆ ว่า ขั้นแรกฝึกศีล ขั้นที่สองฝึกสมาธิ และขั้นสุดท้ายฝึกปัญญา คนที่จะฝึกปัญญาได้ดีนั้น ด้านศีล ด้านสมาธิ ต้องมั่นคงเป็นฐานอยู่แล้ว

    วินัยคือการจัดสรรให้เกิดโอกาสในการพัฒนา

    อนึ่ง ขอแทรกว่า ในการฝึกระดับศีล หรือพัฒนาศีลนั้น ตามปกติจะใช้วินัยเป็นเครื่องฝึก แต่เมื่อพูดถึงวินัย หลายคนจะมีภาพในใจที่ไม่ค่อยถูกต้อง ซึ่งจะทำให้เสียผลต่อการศึกษา จึงควรจะยกเรื่องนี้ขึ้นมาทำความเข้าใจกันสักหน่อย กล่าวคือ เราจะต้องเน้นการมองวินัยในแง่บวก คือวินัยนั้นในความหมายที่ถูกต้องจะไม่เป็นเรื่องของการบังคับ ซึ่งเป็นนัยลบ แต่เป็นเรื่องของการจัดสรรให้เกิดโอกาสในการพัฒนานั่นเอง

    แนวทางที่จะทำให้มองวินัยในทางบวกนั้นมีหลายอย่าง

    วินัย เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะเรามีวัตถุประสงค์ที่มุ่งประโยชน์ แก่ชีวิตและสังคม เช่น เราต้องการที่อยู่อาศัยที่เรียบร้อยอยู่สบาย ต้องการโอกาสในการที่จะทำงาน ต้องการความคล่องตัวในการดำเนินกิจการ ต้องการการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข เราจึงดำเนินการจัดข้าวของอุปกรณ์ให้เป็นที่เป็นทางไม่เกะกะและใช้สะดวก จัดระเบียบการอยู่ร่วมกันในบ้าน ในที่ทำงาน ในท้องถนน จัดลำดับการใช้เวลาเป็นต้น เมื่อเราจัดระเบียบดีและพากันปฏิบัติตามระเบียบนั้น เราก็มีเวลาและโอกาส ตลอดจนความคล่องตัวมากขึ้นในการทำงาน และทำการต่างๆ ที่ปรารถนา เพราะฉะนั้นวัตถุ ประสงค์โดยแท้ของวินัย คือ การจัดสรรโอกาส ให้มนุษย์สามารถทำอะไรๆ ได้สะดวกและมากขึ้น อันเป็นการเอื้อโอกาสต่อการพัฒนา

    อนึ่ง วินัยนั้นสัมพันธ์กับจิตสำนึกของมนุษย์ คือจิตสำนึกในการพัฒนาตน ถ้ามนุษย์มีจิตสำนึกในการพัฒนาตน วินัยก็จะได้ผลและจะเกิดผลดีทางจิตใจด้วย เช่น มีความสมปรารถนา ความภูมิใจ และมีความสุข แต่ถ้าไม่มีจิตสำนึกในการพัฒนาตนเอง ก็จะเสี่ยงต่อการฝืนใจ แล้วความทุกข์ก็ตามมา



    • Update : 26/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch