หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร(14)
    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร(14)

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.องปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    3. ปัญญา เป็นเรื่องของการฝึกหรือพัฒนาในด้านการรู้ความจริง เริ่มตั้งแต่ความเชื่อ ความเห็น ความรู้ความเข้าใจ ความหยั่งรู้เหตุผล การรู้จักวินิจฉัย ไตร่ตรอง ตรวจสอบ คิดการต่างๆ สร้างสรรค์ เฉพาะอย่างยิ่งเน้นการรู้ตรงตามความเป็นจริง หรือรู้เห็นตามที่มันเป็น ตลอดจนรู้แจ้งความจริงที่เป็นสากลของสิ่งทั้งปวง จนถึงขั้นรู้เท่าทันธรรมดาของโลกและชีวิต ที่ทำให้มีจิตใจเป็นอิสระ ปลอดปัญหา ไร้ทุกข์ เข้าถึงอิสรภาพโดยสมบูรณ์

    หลักทั้ง 3 ประการที่กล่าวมานี้เป็นส่วนประกอบของชีวิตที่ดีงาม เราก็ฝึกคนให้เจริญงอกงามในองค์ประกอบเหล่านี้ และให้องค์ประกอบเหล่านี้นำเขาสู่การเข้าถึงอิสรภาพและสันติสุขที่แท้จริง ตัวการฝึกที่จะให้มีชีวิตที่ดีงามเป็นสิกขา ตัวชีวิตที่ดีงามที่เกิดจากการฝึกนั้นก็เป็นมรรค

    การฝึกที่เรียกว่าสิกขา หรือแปลว่าการศึกษานี้ บางทีก็ใช้ศัพท์แทนเป็นคำว่า ภาวนา ซึ่งก็คือเรื่องของสิกขานั่นเอง แต่คำว่าภาวนา แปลว่า ทำให้เจริญ ทำให้เป็น ทำให้มีขึ้น หรือฝึกอบรม ภาวนาจัดเป็น 4 อย่าง คือ

    1.กายภาวนา การพัฒนากาย คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ

    2.ศีลภาวนา การพัฒนาศีล คือ การมีความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลกับเพื่อนมนุษย์ในสังคม

    3.จิตตภาวนา การพัฒนาจิต คือ การทำจิตใจให้เจริญงอกงามขึ้นในความดีงาม ความเข้มแข็งมั่นคงสงบสุข และเป็นอิสระ

    4.ปัญญาภาวนา การพัฒนาปัญญา คือ การเสริมสร้าง ความรู้ความเข้าใจ ความคิดเหตุผล และการหยั่งรู้ความจริง จนเข้าถึงอิสรภาพ มีชีวิตที่ดีงามปลอดทุกข์ปราศปัญหา ภาวนา 4 นี้ จะพูดถึงในหัวข้อต่อไปข้างหน้า คำศัพท์อีกคำหนึ่งที่ใช้แทนสิกขาได้คือคำว่า ทมะ ซึ่งก็แปลว่า การฝึก ทมะเป็นคำที่มาจากการที่เรามองมนุษย์ โดยเทียบกับสัตว์ทั้งหลายในแง่ของการฝึก ซึ่งจะเห็นได้ว่ามี 2 ขั้นตอน คือ ขั้นที่หนึ่ง เป็นการฝึกในแง่ของการปราบพยศ ทำให้หมดสัญชาต ญาณป่า เป็นแง่ลบ อีกขั้นหนึ่งมองในแง่บวก เป็นการฝึกให้ทำอะไรต่ออะไรได้อย่างพิเศษ หรือที่ดีงามเป็นประโยชน์ ทมะเป็นการฝึก ถ้าเป็นคนก็เป็นทัมมะ แปลว่า ผู้ที่จะต้อง(ได้รับการ) ฝึก ดังที่ปรากฏในบทพุทธคุณที่ยกมาให้ดูข้างต้น ปฏิบัติการด้วยสิกขา แล้ววัดผลด้วยภาวนา

    ภาวนา มักใช้ในกรณีของการตรวจสอบ คล้ายๆ กับเป็นการวัดผลเพื่อดูว่าด้านต่างๆ ของการพัฒนาชีวิตของคนนั้นได้รับการพัฒนาครบถ้วนไหม ส่วนสิกขา นั้นใช้กับตัวกระบวนการฝึกเอง ทำไมจึงจัดสิกขาเป็น 3 (ในเวลาทำการฝึก) และจัดภาวนาเป็น 4 (ในเวลาวัดผลคนที่ได้รับการฝึก) ที่จัดอย่างนี้ เพราะสัมพันธ์กับตัวความเป็นจริงในการปฏิบัติ ซึ่งเป็นเรื่องของธรรมชาติเอง กล่าวคือ ในเวลาฝึก สิกขาทั้ง 3 ด้านจะผสานเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แต่ด้านที่ 1 คือ ศีลนั้น ที่จริงมันแยกออกเป็น ๒ ส่วนอยู่ในตัว และการแยกเป็น 2 ส่วนนี้จะปรากฏชัดอยู่ในภาวนา คือ

    1. ศีล ในส่วนของพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมทางกาย ที่เรียกว่าสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ได้แก่ ความสัมพันธ์กับวัตถุหรือโลกของวัตถุและธรรมชาติส่วนอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ เช่น เรื่องปัจจัย 4 สิ่งที่เราบริโภคใช้สอยทุกอย่าง และการเกี่ยวข้องกับธรรมชาติแวดล้อมทั่วๆ ไป 2. ศีล ในส่วนที่สัมพันธ์กับบุคคลอื่นในสังคมมนุษย์ด้วยกัน ความเกี่ยวข้องและอยู่ร่วมกันในหมู่มนุษย์ จุดเน้นของศีลในส่วนนี้จะอยู่ที่สังคมมนุษย์คือหมู่มนุษย์ด้วยกัน ดังจะเห็นได้ชัดในหลักศีล 5 ซึ่งมีแต่เรื่องของการที่เราจะเข้าไปสัมพันธ์ในหมู่มนุษย์ด้วยกัน ว่าจะอยู่ร่วมกันได้ดีอย่างไร เราควรจะมีพฤติกรรมที่ไม่ละเมิดต่อกัน ไม่เบียดเบียนกัน โดยไม่ทำร้ายชีวิตร่างกาย ไม่ลักขโมย ไม่ล่วงละเมิดกรรมสิทธิ์ ไม่ล่วงละเมิดคู่ครอง ไม่ล่วงละเมิดด้วยวาจา ไม่สร้างความประหวั่นพรั่นพรึงน่ากลัว หรือความรู้สึกไม่ปลอดภัยแก่ผู้อื่น ด้วยการดื่มสุรา เสพของมึนเมาที่ทำให้ตนเองไม่มีสติ

    และกลายเป็นตัวคุกคามสังคมโดยทั่วไป



    • Update : 23/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch