การเลี้ยงไส้เดือนดินสายพันธุ์นอกเชิงพาณิชย์ รายได้ต่อหน่วยผลผลิตสูง
ปัจจุบัน นี้อาชีพการเลี้ยงไส้เดือนกำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเพราะไส้เดือน เลี้ยงง่าย การจัดการไม่ยุ่งยาก ขายก็ได้ราคาดี ไส้เดือน เป็นสัตว์ที่มีประโยชน์เป็นอย่างมากเปรียบเสมือนเป็นรถไถขนาดเล็กที่ทำ หน้าที่ไถพรวนดิน ไส้เดือน ก็มีสารเคมีหลายๆอย่างที่มีประโยชน์ต่อการเจริญเติบโตของพืชและไม่มีผลข้าง เคียงสำหรับคนที่ซื้อผลไม้หรือผักที่เป็นผลผลิตจากการ กลายเป็นปุ๋ยของ ไส้เดือน ที่ทำหน้าที่ดูแลและส่งเสริมการเติบโตของพืชต่างๆ ที่จังหวัดอุบลราชธานี มีเกษตรกร คือ คุณธงชัย ก้อนทอง อยู่บ้านเลขที่ 42 หมู่ 15 ต.กุดประทาย อ.เดชอุดม จ.อุบลราชธานี ได้หันมายึดอาชีพเลี้ยงไส้เดือนเป็นอาชีพเสริมซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้กับ ครอบครัวเป็นอย่างมาก
การเตรียมโรงเรือนเลี้ยงไส้เดือน
โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไส้เดือนดินต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสง เนื่องจากไส้เดือนดินไม่ชอบแสงสว่างในบริเวณบ่อเลี้ยงต้องมีตาข่ายปิดด้านบน หรือใช้ตาข่ายกั้นบริเวณด้านข้างรอบโรงเรือนเพื่อป้องกันศัตรูของไส้เดือน
ลักษณะของโรงเรือนสำหรับเลี้ยงไส้เดือน ต้องมีหลังคากันฝนและพรางแสง
บ่อเลี้ยงไส้เดือนกว้าง ประมาณ 1 เมตรความยาวแล้วแต่ต้องการ และมีความลึกไม่เกิน 0.5 เมตรจะใช้เป็นบ่อเลี้ยงที่ใช้ผลิตปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากวัสดุอินทรีย์ ได้ดีและสะดวกในการจัดการ
1.บ่อเลี้ยงไส้เดือนแบบสี่เหลี่ยม 2.บ่อเลี้ยงไส้เดือนแบบวงกลม
บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือนดินควรก่อสร้างบริเวณด้านข้างโรงเรือนหรือด้าน หลังโรงเรือนให้น้ำหมักจากบ่อเลี้ยงไส้เดือนไหลเข้าไปเก็บไว้ในบ่อเก็บน้ำ หมักได้ง่ายขนาดของบ่อเก็บน้ำหมักจะมีขนาดเล็กกว่าบ่อเลี้ยงไส้เดือนตามความ เหมาะสมของปริมาณน้ำหมักที่ได้
บ่อเก็บน้ำหมักมูลไส้เดือน
พันธุ์ไส้เดือนที่เลี้ยง
1.ไส้เดือนพันธุ์แอฟริกัน ไนท์คลอเรอร์ ลักษณะเป็นไส้เดือนตัวใหญ่ลำตัวออกสีน้ำเงิน
2.ไส้เดือนพันธุ์อาร์เชน่า ลักษณะเป็นไส้เดือนตัวเล็กสีแดง
1.ไส้เดือนพันธุ์แอฟริกันไนท์คลอเรอร์ 2.ไส้เดือนพันธุ์อาร์เชน่า
การเตรียมวัสดุรองพื้นเพื่อเป็นที่อาศัยของไส้เดือน
ที่อยู่ของไส้เดือนนั้นจะใช้ฟางแห้งจำนวน 1กระสอบ ขี้เลื่อย จำนวน 2 ปี๊บ คนให้เข้ากันกันใช้น้ำรดไปเรื่อยๆจนกระทั่งส่วนผสมติดกันปั้นเป็นก้อนได้ คลุมทับด้วยกระสอบป่านหรือผ้าสแลนสีดำ ทิ้งบ่อไว้ 7 วันเมื่อครบ 7 วันจึงปล่อยไส้เดือนลงเลี้ยงการเริ่มต้นเลี้ยงไส้เดือนในระยะเตรียมการจึง ควรมีปริมาณไส้เดือนอย่างน้อย 1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ก็จะทำให้ปริมาณไส้เดือนเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วและทวีจำนวนมาก ขึ้นสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ที่อยู่อาศัยของไส้เดือน
การให้อาหาร
การให้อาหารที่เป็นเศษอินทรียวัตถุกับไส้เดือนในบ่อเลี้ยงนำขยะสดจากชุมชนมา แยกวัสดุที่ไม่ย่อยสลายเช่นถุงพลาสติกต่างๆ ออกปริมาณขยะสดที่ควรเตรียมให้ไส้เดือน ควรจะมีการเตรียมการหมักให้เริ่มบูดเสียก่อนนำมาใส่ในบ่อเลี้ยงไส้เดือนความ หนาไม่เกิน 10 เซนติเมตร เนื่องจากถ้าหนามากกว่านี้จะทำให้เกิดความร้อนโดยให้สัปดาห์ละ 2 ครั้ง อาหารที่สามารถใช้เลี้ยงไส้เดือนได้เช่น มูลสัตว์ กระดาษลัง กากถั่วต่างๆ เศษอาหาร เศษผักและผลไม้สดเศษกระดาษและอื่นๆ
การจัดการโรงเรือน
การในการจัดการโรงเรือนจะต้องพยายามควบคุมไม่ให้เกิดความร้อนขึ้นในบ่อ เลี้ยงที่ไส้เดือนอาศัยอยู่เนื่องจากจะเป็นสิ่งที่จำกัดการเจริญเติบโตของ ไส้เดือน
หลังจากที่นำไส้เดือนลงเลี้ยงในบ่อแล้วก็เลี้ยงต่อเนื่องจนไส้เดือนอายุ ประมาณ 2 เดือน ไส้เดือนก็จะเริ่มเป็นหนุ่มสาว จะสังเกตเห็นถุงเก็บน้ำเชื้อสีขาว(ไคเทอรั่ม)บริเวณรอบคอ พร้อมที่จะวางไข่จากนั้นจะเริ่มสังเกตเห็นไข่ไส้เดือนเกาะกันเป็นกลุ่มๆ มีลักษณะเหมือนเม็ดแมงลักออกสีน้ำตาล สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจนหลังจากเห็นไข่ไส้เดือน 20 วัน จะเริ่มเห็นลูกไส้เดือนตัวเล็กแรกเกิดจะมีลักษณะเหมือนเส้นด้ายสีขาวหลังจาก นั้นอีก 7 วัน จะเริ่มออกเป็นสีน้ำตาลแดงช่วงนี้ก็สามารถคัดแยกไส้เดือนแม่พันธุ์ออกจากบ่อ ทั้งหมดเหลือไว้แต่ลูกไส้เดือนเลี้ยงต่อไปตามปกติ ผลผลิตที่ได้จากการเลี้ยงไส้เดือน คือปุ๋ยหมักมูลไส้เดือน น้ำหมักมูลไส้เดือน และสร้างรายได้อย่างงามให้กับคุณธงชัยก้อนทอง นอกจากนั้นการเลี้ยงไส้เดือนก่อให้เกิดประโยชน์หลายด้าน เช่นด้านสิ่งแวดล้อม เปลี่ยนขยะอินทรีย์เป็นปุ๋ยหมัก ลดการฝั่งกลบขยะด้านการเกษตรผลิตปุ๋ยหมักจากไส้เดือนและน้ำสกัดชีวภาพใช้ใน การเกษตรอินทรีย์ ด้านอาหารสัตว์ใช้เป็นอาหารโปรตีนทั้งในรูปไส้เดือนเป็นและผง
การจำหน่ายตัวไส้เดือน
1.พันธุ์แอฟริกันไนท์ คลอเรอร์
-ตัวเล็กอายุ 2 เดือน ขายตัวละ 1 บาท
-อายุ 2.5 – 3 เดือนขายตัวละ 3 บาท
-พร้อมวางไข่ อายุ 3 เดือนขึ้นไป ขายตัวละ 5 บาท
2 พันธุ์อาร์เชน่า
-ขายกิโลกรัมละ 2,500 บาท
ไส้เดือนพร้อมจำหน่าย