หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    มหัศจรรย์แห่งไส้เดือน ตัวแม่สละผิวหนังแทน น้ำนมให้ลูกน้อย

    พฤติกรรมประหลาดในการเลี้ยงลูกของ “ไส้เดือน” ช่างน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้มีโอกาสบันทึกภาพไส้เดือนตัวลูกกำลังแทะกินผิวหนังของแม่ ประหนึ่งการให้นมลูก แต่ทว่าเป็นผิวหนังพิเศษอุดมไปด้วยสารอาหาร ที่สร้างขึ้นมายามเป็นแม่ไส้เดือน เชื่อยังมีสัตว์เลื้อยคลานอีกหลายชนิดที่มีพฤติกรรมแปลกๆ แตกต่างกันไป
           
           ใครที่ไม่ชอบไส้เดือนอาจจะต้องทนหรี่ตาดูเล็กน้อย แล้วจะพบทั้งความน่าประทับใจและความพิศวง เมื่อนักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกวิดิโอภาพ “บัวเลนเกรูลา ไททานัส” (Boulengerula taitanus) หรือ “ไส้เดือน” แอฟริกัน ที่พบมากในแถบภูเขาไททานัสของเคนยา โดยตัวแม่ไส้เดือนที่มีลูกฟักออกมาแล้ว จะผลัดผิวหนังชั้นบนสุด ซึ่งเป็นเซลล์ที่ตายแล้วให้กลายเป็นชั้นผิวหนังที่หนาอุดมไปด้วยโปรตีนและไขมัน เพื่อจะกลายเป็นอาหารให้แก่ลูกน้อยเหมือนกับ “น้ำนม” ที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมป้อนแก่ทารก
           
           ไส้เดือนวัยทารกที่เพิ่งฟักออกมาจากไข่ที่แม่ไส้เดือนประคบประหงมไว้ จะต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากไส้เดือนแม่ประมาณ 2 เดือนก่อนที่จะแยกตัวออกไปใช้ชีวิตได้ตามลำพัง โดยในช่วง 2 เดือนนี้ฟันชนิดพิเศษของไส้เดือนน้อยจะงอกขึ้นมาเพื่อกัดงับที่ผิวหนังชั้นบนสุดของแม่อันเป็นแหล่งอาหารของไส้เดือนน้อย แต่ฟันดังกล่าวยังไม่แข็งแรงพอที่จะขุดเจาะดินได้
           
           อเล็กซ์ คุปเฟอร์ (Alex Kupfer) แห่งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ (Natural History Museum) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พร้อมทีมงานได้ค้นพบพฤติกรรมอันน่าประหลาดของไส้เดือนที่มีลักษณะกินเนื้อพวกเดียวกัน โดยไส้เดือนน้อยมีขนาดตัวยาวเพิ่มขึ้น 11% ต่อสัปดาห์ขณะที่กินผิวหนังของแม่
           
           อย่างไรก็ดี สัตว์จำพวก “คาอีซิเลียนส์” (Caecilians) ซึ่งเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำที่มีลักษณะคล้ายงู และยังเชื่อมโยงกับกบและตัวนิวต์ (รวมถึงไส้เดือน) ต่างมีวิวัฒนาการในการให้กำเนิดลูกที่หลากหลาย ซึ่งนักธรรมชาติวิทยาเชื่อว่าอาจนำไปสู่การอธิบายถึงวิวัฒนาการการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตจากการออกไข่สู่การออกลูกเป็นตัวอย่างในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั้งหลายได้
           
           “ประมาณ 30% ของสัตว์จำพวกนี้ ฟักตัวอ่อนตั้งแต่ยังอยู่ในท้องแม่ และกินอาหารจากเนื้อเยื่อท่อรังไข่ของตัวแม่ จากนั้นจึงคลอดออกมาเป็นตัว (เหมือนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม) ขณะที่บางพันธุ์ก็ให้ตัวอ่อนคลอดออกมาแล้วประคบประหงม หรือบางพันธุ์ก็ฟักออกมาเป็นตัวโตเต็มวัยได้เลย” คุปเฟอร์อธิบายถึงความหลากหลายในการให้กำเนิดชีวิตของสัตว์เหล่านี้
           
           ทว่ายังมีอีกมากมายหลายชนิดในตระกูลคาอีซิเลียนส์ที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้จักวงจรชีวิต ที่วิวัฒนาการมามากกว่า 150 ล้านปี โดยเชื่อว่ายังมีอีกจำนวนมากที่กินเนื้อพวกเดียวกัน และสามารถเจริญเติบโตได้ยาวกว่า 150 เซนติเมตร ซึ่งผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ก็พยายามเสาะหาต่อไป เพื่อวิเคราะห์ถึงวิวัฒนาการและค้นหาทางแยกของความแตกต่างที่เกิดขึ้นให้ได้


    • Update : 22/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch