|
|
การเลี้ยงสวายในบ่อดิน
| |
การเลี้ยงสวายในบ่อดิน
การเลี้ยง ปลาสวายในบ่อดินทำกันมากในภาคกลาง โดยเฉพาะในเขตจังหวัดนครสวรรค์ลงมาถึง สุพรรณบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร แต่ข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยง การให้ อาหาร ตลอดจนการเจริญเติบโตค่อนข่างจะแตกต่างกันมาก ทั้งนี้เป็นเพราะมี ปัจจัยหลายอย่างที่ทำให้มีข้อแตกต่างกัน เช่น น้ำและคุณสมบัติของน้ำที่ใช้ เลี้ยง อาหารที่ใช้เลี้ยง วิธีการเลี้ยง และการจัดการ ตลอดจนการเอาใจ ใส่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นปัจจัยที่ส่งผลให้การเลี้ยงปลาสวายประสบผล สำเร็จหรือล้มเหลวทั้งนั้น
อย่างไรก็ตาม การเลี้ยงปลาสวายควรจะได้มีมากพิจารณาหลักทั่ว ๆ ไปดังต่อไปนี้
|
|
หลักเกณฑ์ต่างๆในการเลี้ยงปลาสวายในบ่อ
1. ขนาดของบ่อดินและที่ตั้ง
ควรเป็นบ่อขนาดใหญ่ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1 ไร่ขึ้นไป หรืออย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 400 ตารางเมตร ความลึกประมาณ 2 เมตร ที่ตั้งของบ่อควรใกล้แม่น้ำหรือลำคลองที่สามารถรับน้ำและระบายน้ำเข้าออกได้ เมื่อต้องการ
2. การเตรียมบ่อ
ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วไป คือ หากเป็นการเตรียมบ่อเก่า ต้องถ่ายน้ำทิ้งและตากบ่อจนแห้ง แล้วนำปูนขาวมาโรยให้ทั่วบ่อ เพื่อปรับความเป็นกรดเป็นด่างของบ่อให้เหมาะสมกับสภาพการเป็นบ่อเลี้ยงปลา หากเป็นบ่อใหม่ต้องมีการขุดและตากบ่อก่อนนำปูนขาวมาโรยเช่นเดียวกับบ่อเก่า
3. น้ำที่เอามาใส่บ่อ
ต้องเป็นน้ำที่มีคุณสมบัติมีความเป็นกรด - ด่าง และปริมาณออกซิเจนเหมาะสม
4. การคัดเลือกพันธุ์ปลาสำหรับปล่อยลงบ่อ
ควรพิจารณาถือหลักง่าย ๆ ดังนี้
- เป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่เป็นแผล ไม่แคระแกร็นหรือพิการ และปราศจากโรค
- เป็นปลาขนาดไล่เลี่ยกัน เพราะปลาที่โตกว่าจะรังแก และแย่งอาหาร ปลาที่ตัวเล็กกว่าสู้ตัวโตไม่ได้ เมื่อถึงเวลาจับขายทำให้มีปัญหา บางทีต้องคัดทำการเลี้ยงปลาที่โตไม่ได้ขนาดต่อไป
5. อัตราการปล่อย
ขนาดพันธุ์ปลาสวายที่นำมาปล่อยควรมีขนาดค่อนข้างโต คือ ขนาด 5-12 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 2-3 ตัว/ตารางเมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณและคุณภาพของอาหาร และความอุดมสมบูรณ์ของน้ำที่ใช้เลี้ยง
"การหาวัสดุมาใช้เป็นอาหารของปลาสวายเป็นจุดสำคัญจุดหนึ่งของการเลี้ยงปลา สวาย เพราะในการเลี้ยงปลาสวายให้ได้กำไรดีนั้น อยู่ที่การหาวัสดุมาใช้เลี้ยงปลา ถ้าหากการหาวัสดุได้มาด้วยราคาถูก การเลี้ยงปลาก็จะได้กำไร ......"
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาสวาย ส่วนใหญ่อาจหาได้จาก
- เศษอาหารจากภัตตาคารและร้านค้า
- พวกมูลสัตว์ หรืออาหารจากส่วนที่ย่อยไม่หมดของกระเพาะและลำไส้ของโค กระบือและสุกรจากโรงฆ่าสัตว์
- เศษผักจากสวนผัก ซึ่งผู้ทำสวนผักตัดและคัดทิ้ง
- เศษผักจากตลาดสดที่ถูกคัดทิ้ง ตลอดจนเศษเครื่องในและเหงือกปลาที่แม่ค้าในตลาดควักออกทิ้ง
- เศษมันเส้น (จากมันสำปะหลัง) หรือมันเส้น หรือหัวมัน ตลอดจนใบมัน โดยเฉพาะใบมันอาจโยนให้โดยตรง หรือต้มผสมกับวัสดุอื่นให้กิน
7. การเจริญเติบโต
การเลี้ยงปลาสวายในบ่อดินจะใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 8-12 เดือน ปลาสวายจะมีขนาด 1-1.5 กิโลกรัม ซึ่งเป็นขนาดที่จำหน่ายได้ในท้องตลาดทั่ว ๆ ไป
8. การจับ
หากทำการจับปลาสวายจำนวนน้อย ให้ใช้แหหรือสวิง แต่ถ้าจำนวนมากควรใช้อวนหรือเฝือกสุกล้อม หากเป็นบ่อขนากใหญ่ให้แบ่งตอนของบ่อด้วยเฝือกหรืออวนก่อน แล้วใช้อวนล้อมสกัดจับส่วนที่ต้องการออกเพื่อไม่ให้ปลาในบริเวณที่เหลือมี อาการตื่นตกใจตามไปด้วย
9. ผลผลิต
ปลาที่เลี้ยงในบ่อดินจะมีผลผลิตในระยะ 8-12 เดือน ประมาณ 4,000-6,000 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้แล้วแต่ความอุดมสมบูรณ์ของอาหารที่ให้และน้ำที่ใช้เลี้ยง
การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนของปลาสวายที่เลี้ยงในบ่อ
การเลี้ยงปลาสวายในบ่อดิน โดยเฉพาะที่เลี้ยงอย่างหนาแน่นนั้นมักจะมีกลิ่นสาบโคลน เมื่อนำมาทำเป็นอาหาร การแก้ปัญหากลิ่นสาบโคลนมีดังนี้
- ถ่ายเทน้ำที่เลี้ยงปลาติดต่อก้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ก่อนจะนำปลาสวายไปจำหน่ายหรือทำอาหาร
-ก่อนจะนำไปจำหน่ายหรือทำอาหาร ควรจับปลาหรือถ่ายปลาลง บ่อใหม่ที่มีน้ำสะอาดและถ่ายเทได้พอสมควร แล้วให้อาหารจำพวกปลายข้าวต้มผสมรำก่อนไปจำหน่าย 2-3 วัน จะทำให้ปลามีกลิ่นดีขึ้นเมื่อทำอาหาร
Update : 22/8/2554
|
|