หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    มาติกา-บังสุกุล

    มาติกา-บังสุกุล

    ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าไม่อนุญาตให้พระภิกษุรับผ้านุ่งห่มจากฆราวาส แต่ให้พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุล หรือผ้าที่เขาทิ้งไว้ตามร้านตลาด หรือผ้าห่อศพที่ไม่มีผู้ใดปรารถนา เพราะสกปรก มาซักล้างให้สะอาด แล้วเก็บไว้เพื่อนำมาตัดเย็บเป็นผ้าผืนใดผืนหนึ่งที่ชำรุด เช่น ผ้านุ่ง หรืออันตรวาสก หรือผ้าสบง ผ้าห่ม หรือผ้าจีวร หรือผ้าอุตราสงค์ หรือผ้าห่มซ้อน หรือสังฆาฏิ ในเวลาที่เหมาะสมต่อไป

    ต่อมาจึงมีพระบรมพุทธานุญาตให้รับผ้าจากฆราวาสได้ เพื่อเจริญศรัทธาของอุบาสกอุบาสิกาผู้เลื่อมใส และบรรเทาความยากลำบากของพระภิกษุสงฆ์ในการแสวงหาผ้าอีกทางหนึ่งด้วย

                คำว่า "บังสุกุล" นั้น มาจากคำภาษาบาลีว่า ปํสุ (อ่านว่า ปัง-สุ) แปลว่า ฝุ่น และคำว่า กุล (อ่านว่า กุ-ละ) แปลว่า เปื้อน, คลุก สมาสคำทั้งสองเข้าด้วยบทวิเคราะห์เป็น ปํสุกุล (อ่านว่า ปัง-สุ-กุ-ละ) แปลว่า ผ้าที่เปื้อนฝุ่น

                เมื่อมาเป็นคำไทย เปลี่ยน "ปอ ปลา" เป็น "บอ ใบไม้" และปรับเสียงเป็นรูปแบบภาษาไทยที่มีตัวสะกด เป็น บังสุกุล อ่านว่า บัง-สุ-กุน ดังนั้นคำว่า "บังสุกุล" จึงต้องเขียนว่า บังสุกุล เท่านั้น ไม่สามารถเขียนเป็นอย่างอื่นได้ หากเขียนเป็น บังสกุล ถือเป็นคำที่เขียนผิด อันเกิดจากการเทียบเคียงผิดกับคำว่า สกุล ที่หมายถึง ตระกูลวงศ์

                ทั้งนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต) เจ้าอาวาสวัดราชโอสาราม ได้อธิบายความหมายของคำว่า “บังสุกุล" แปลว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น, เปื้อนฝุ่น

                บังสุกุล เป็นคำใช้เรียกผ้าที่ภิกษุชักจากศพ หรือผ้าที่ทอดไว้หน้าศพ หรือผ้าที่ทอดไว้บนด้ายสายสิญจน์ หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อมาจากศพด้วยการพิจารณากรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล โดยเรียกกริยาที่พระชักผ้าหรือพิจารณาผ้าเช่นนั้นว่า ชักผ้าบังสุกุล หรือพิจารณาผ้าบังสุกุล

                ส่วนคำว่า มาติกา (อ่านว่า มาด-ติ-กา) นั้น เจ้าคุณทองดี ได้ให้ความหมายไว้ว่า หัวข้อ, แม่บท

                มาติกา หมายถึง พระบาลีที่เป็นหัวข้อ เป็นแม่บท เรียกว่า บทมาติกา

                เรียกการที่พระสงฆ์สวดพระบาลีเฉพาะหัวข้อธรรมในพระอภิธรรมปิฎก ซึ่งขึ้นต้นด้วยบทว่า กุสลา ธัมมา อกุสลา ธัมมา ในงานที่เกี่ยวกับศพว่า สวดมาติกา

                มาติกา คำนี้ในงานเผาศพจะใช้คู่กับคำว่า บังสุกุล เป็น มาติกา บังสุกุล กล่าวคือพระสงฆ์จะสวดมาติกาก่อนแล้วบังสุกุลต่อกันไป เช่นที่เขียนในบัตรเชิญงานศพว่า "๑๔.๐๐ น. พระสงฆ์มาติกา บังสุกุล"


    • Update : 22/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch