ภาพที่ 29 แสดงลักษณะลูกปลาที่ถุงอาหารยุบตัวหมดแล้ว จะเริ่มว่ายน้ำเพื่อหาอาหาร
ที่มา : http://www.flippersandfins.net/bettabreedingarticle.htm
ภาพที่ 30 การขยี้ไข่ตุ๋นผ่านผ้าไนล่อนเพื่อใช้เป็นอาหารเลี้ยงลูกปลาแทนอาหารมีชีวิต
ขยี้ผ่านครั้งแรกแล้วเทกลับลงบนไนล่อน ขยี้ผ่านอีกครั้งจะทำให้ได้ไข่ตุ๋นเป็นเม็ดเล็กๆ
ภาพที่ 31 เมื่อลูกปลาเคยชินกับการกินไข่ตุ๋นแล้ว ก็ให้เป็นก้อนปลาจะค่อยๆเข้ามารุมล้อมแทะกินไข่ตุ๋น
9 การเลี้ยงปลากัด
บ่อเลี้ยงปลากัดถ้าเป็นบ่อดินควรมีขนาด 10 - 30 ตารางเมตร ถ้าเป็นบ่อซีเมนต์ควรมีขนาด 2 - 6 ตารางเมตร มีความลึกประมาณ 50 - 60 เซนติเมตร คัดแยกลูกปลาจากบ่ออนุบาลโดยคัดเอาเฉพาะปลาเพศผู้มาเลี้ยง เนื่องจากปลาเพศผู้เป็นที่ต้องการของตลาดมากกว่าและราคาสูงกว่าปลาเพศเมียมาก ปล่อยเลี้ยงในอัตรา 150 - 200 ตัว ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตรสำหรับบ่อดิน และอัตรา 100 - 150 ตัว ต่อเนื้อที่ 1 ตารางเมตรสำหรับบ่อซีเมนต์ แล้วเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดลอยน้ำ นอกจากนั้นควรใส่พรรณไม้น้ำพวกสาหร่าย และสันตะวา เพื่อป้องกันการทำอันตรายจากปลาด้วยกันเอง ใช้เวลาเลี้ยงอีกประมาณ 50 - 60 วัน ปลาจะมีขนาดประมาณ 5 เซนติเมตร สามารถคัดแยกใส่ขวดเพื่อรอจำหน่ายต่อไป
ภาพที่ 32 แสดงลักษณะบ่อเลี้ยงปลากัดทั้งบ่อซิเมนต์และบ่อดิน
ที่มา : http://www.plakatthai.com/bettasmaragdina (บ่อซิเมนต์)
http://fighterbetta.s5.com/howto.html(บ่อดิน)
ภาพที่ 33 แสดงลักษณะฟาร์มเลี้ยงปลากัดจีน(จรินพรฟาร์ม) ที่อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม
1 ปลาที่คัดขึ้นขวด 2บริเวณเพาะพันธุ์ 3 บ่ออนุบาลและบ่อเลี้ยง
ภาพที่ 34 แสดงการเลี้ยงปลากัดลูกทุ่งในถังความจุประมาณ 70 ลิตร ซึ่งสามารถเลี้ยง
ปลากัดลูกทุ่งได้ถังละประมาณ 150 ตัว
10 การลำเลียงปลากัด
เนื่องจากปลากัดเป็นปลาที่มีอวัยวะช่วยหายใจที่จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับพวก Labyrinth Fish จึงค่อนข้างมีความอดทน ทำให้สามารถลำเลียงในภาชนะขนาดเล็กๆไปเป็นระยะทางไกลๆเป็นเวลานานได้โดยไม่ต้องมีการอัดออกซิเจน วิธีการที่นิยมมากที่สุด คือการลำเลียงโดยบรรจุในถุงพลาสติกขนาดเล็กๆโดยไม่ต้องอัดออกซิเจน และใช้กระดาษห่อด้านนอกเพื่อให้ปลาสงบนิ่งทำให้ใช้พลังงานน้อยลง หรือการใช้ภาชนะขนาดเล็กๆพอดีกับตัวปลา ใส่น้ำพอท่วมตัวปลาโดยไม่ต้องปิดฝา แล้ววางเรียงซ้อนกันในกล่องโฟมอีกทีหนึ่ง ก็จะสามารถลำเลียงปลากัดได้คราวละจำนวนมากและเป็นระยะทางไกล หรือลำเลียงแบบรวมในถุงพลาสติคขนาดใหญ่โดยใส่ปลาจำนวนมากในแต่ละถุง
ภาพที่ 35 แสดงลักษณะการลำเลียงปลากัดโดยใช้ถุงพลาสติค(ซ้าย) กับในขวดขนาดเล็ก(กลางและขวา)
ภาพที่ 36 แสดงลักษณะการลำเลียงปลากัดแบบรวมโดยใช้ถุงพลาสติคขนาดใหญ่
เอกสารอ้างอิง
สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ. 2544. ปลากัด. วารสารการประมง