ภาพที่ 8 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดลูกทุ่ง
4.3 ปลากัดลูกผสม หรือพันธุ์สังกะสี หรือพันธุ์ลูกตะกั่ว เป็นลูกปลาที่เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อกับปลากัดลูกทุ่ง โดยอาจผสมระหว่างพ่อเป็นปลาลูกหม้อกับแม่เป็นปลาลูกทุ่ง หรือพ่อเป็นปลาลูกทุ่งกับแม่เป็นปลาลูกหม้อ ได้ทั้งสองแบบ ผู้เพาะต้องการให้ปลาลูกผสมที่ได้มีลักษณะปากคม กัดคล่องแคล่วว่องไวแบบปลาลูกทุ่ง และมีความอดทนแบบปลาลูกหม้อ
4.4 ปลากัดจีน เป็นปลากัดที่เกิดจากการเพาะและคัดพันธุ์ปลากัดโดยเน้นเพื่อความสวยงาม พยายามคัดพันธุ์เพื่อให้ปลามีหางยาวและสีสันสดเข้ม จนในปัจจุบันสามารถผลิตปลากัดจีนที่มีความสวยงามอย่างมาก มีครีบต่างๆค่อนข้างยาว โดยเฉพาะครีบหางจะยาวมากเป็นพิเศษและมีรูปทรงหลายแบบ มีสีสันสดสวยมากมายหลายสี เป็นปลาที่ไม่ค่อยตื่นตกใจเช่นเดียวกับปลาหม้อ แต่ไม่มีความอดทน เมื่อปล่อยกัดกันมักรู้ผลแพ้ชนะภายใน 10 นาที ไม่นิยมใช้ในการกัดพนัน
ภาพที่ 9 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดจีน
ที่มา : http://www.tropicalresources.net/phpBB2/fish_profiles_splendens.php (ภาพซ้าย)
http://animals.timduru.org/dirlist/fish/Bettafish-SiameseFightingFish-Closeup.jpg (ภาพกลาง)
http://gallery.pethobbyist.com/data/29312Fish3h.jpg (ภาพขวา)
ปัจจุบันผู้เพาะพันธุ์ปลากัดสามารถเพาะพันธุ์ปลากัดสายพันธุ์ใหม่ๆออกมาอีกหลายสายพันธุ์ และมีความหลากหลายทางด้านสีสันอีกด้วย ทำให้มีการเรียกชื่อสายพันธุ์ปลากัดเพิ่มขึ้นอีกมากมาย ได้แก่ ปลากัดสองหาง (Double Tail) ปลากัดหางหนามมงกุฎ (Crown Tail) ปลากัดหางพระจันทร์ เป็นต้น
ภาพที่ 10 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีเดียว
ที่มา : http://www.Dong2002.com
ภาพที่ 11 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบสั้นสีแฟนซี
ที่มา : http://www.straitsaquariums.com/details.php
ภาพที่ 12 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีเดียว
ที่มา : http://www.efish2u.com/
ภาพที่ 13 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดครีบยาวสีแฟนซี
ที่มา : สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ 2544
ภาพที่ 14 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบสั้น
ที่มา : http://www.efish2u.com/
ภาพที่ 15 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดสองหางครีบยาว
ที่มา : http://www.efish2u.com/
ภาพที่ 16 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางหนามมงกุฎ
ที่มา : http://midwestbettaclub.com/articles/page.asp (ภาพซ้ายและกลาง)
http://www.betta4u.com/gallery.php (ภาพขวา)
ภาพที่ 17 แสดงลักษณะรูปร่างของปลากัดหางพระจันทร์
ที่มา : http://www.straitsaquariums.com/details.php
5 การจำแนกเพศปลากัด
ปลากัดเพศผู้และเพศเมียมีลักษณะภายนอกที่แสดงความแตกต่างกัน ซึ่งพอจะสังเกต
ได้หลายประการ คือ
5.1 สีของลำตัว ปลาเพศผู้จะมีสีของลำตัวและครีบ เข้มและสดกว่าปลาเพศเมียอย่างชัดเจน เมื่อปลามีอายุตั้งแต่ 2 เดือน หรือมีขนาดตั้งแต่ 3 เซนติเมตรขึ้นไป
5.2 ขนาดของตัว ปลาที่เลี้ยงในครอกเดียวกันปลาเพศผู้จะเจริญเติบโตเร็วกว่าปลาเพศเมีย
5.3 ความยาวครีบ ปลาเพศผู้จะมีครีบหลัง ครีบหาง และครีบก้นยาวกว่าของปลาเพศเมียมาก ยกเว้นปลากัดหม้อจะยาวต่างกันไม่มากนัก
5.4 เม็ดไข่นำ ปลาเพศเมียจะมีเม็ดหรือจุดขาวๆอยู่ 1 จุด ใกล้ๆกับช่องเปิดของช่องเพศ ลักษณะคล้ายกับไข่ของปลากัดเอง เรียกจุดนี้ว่าไข่นำ ส่วนปลาเพศผู้ไม่มี
ภาพที่ 18 แสดงความแตกต่างระหว่างเพศผู้(ซ้าย)และเพศเมีย(ขวา)
6 การแพร่พันธุ์ของปลากัด
ในธรรมชาติปลากัดเป็นปลาที่วางไข่ได้เกือบตลอดปี โดยปลาจะจับคู่วางไข่ตามน้ำนิ่ง ปลาเพศผู้จะทำหน้าที่สร้างรัง ด้วยการก่อหวอดที่บริเวณผิวน้ำและจะติดอยู่ใต้ใบพันธุ์ไม้น้ำชายฝั่ง หวอดนี้ทำจากลมและน้ำลายจากตัวปลา โดยการที่ปลาเพศผู้จะโผล่ขึ้นมาที่ผิวน้ำ แล้วใช้ปากฮุบเอาอากาศที่ผิวน้ำเข้าปาก ผสมกับน้ำลายแล้วพ่นออกมาเป็นฟองอากาศเล็กๆลอยติดกันเป็นกลุ่มทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร จากนั้นจะกางครีบว่ายวนเวียนอยู่ใกล้ๆหวอด เป็นเชิงชวนให้ปลาเพศเมียที่มีไข่แก่เข้ามาที่หวอด การผสมพันธุ์วางไข่จะเกิดขึ้นในช่วงเช้า เวลาประมาณ 7.00 - 8.00 น. โดยทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะเข้าไปอยู่ใต้รัง จากนั้นปลาเพศผู้จะงอตัวรัดบริเวณท้องของปลาเพศเมีย ลักษณะนี้เรียกว่า “การรัด” ปลาเพศเมียจะปล่อยไข่ออกมาครั้งละ 7 - 20 ฟองในขณะเดียวกันปลาเพศผู้จะปล่อยน้ำเชื้อเข้าผสมกับไข่ ในช่วงนี้ทั้งปลาเพศผู้และเพศเมียจะค่อยๆจมลงสู่ก้นบ่อ จากนั้นปลาเพศผู้จะค่อยๆคลายการรัดตัว แล้วรีบว่ายน้ำไปหาไข่ที่กำลังจมลงสู่พื้น ใช้ปากอมไข่นำไปพ่นติดไว้ที่หวอด ปลาเพศเมียก็จะช่วยเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดด้วย เมื่อตรวจดูว่าเก็บไข่ไปไว้ที่หวอดหมดแล้ว จากนั้นปลาก็จะทำการรัดตัวกันใหม่ ทำเช่นนี้ไปเรื่อยๆจนแม่ปลาไข่หมดท้อง ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง เมื่อวางไข่หมดแล้วปลาเพศผู้จะไล่กัดขับไล่ปลาเพศเมียไม่ให้มาใกล้รังอีกเลย เพราะเมื่อปลาเพศเมียวางไข่หมดแล้วมักจะกินไข่ของตัวเอง จะมีเฉพาะปลาเพศผู้เท่านั้นที่คอยดูแลรักษาไข่ คอยไล่ไม่ให้ปลาตัวอื่นเข้าใกล้รัง และจะคอยเปลี่ยนลมในหวอดอยู่เสมอ ไข่ของปลากัดจัดว่าเป็นไข่ประเภทไข่ลอย ถึงแม้ตอนปล่อยจากแม่ปลาใหม่ๆไข่จะจมน้ำ แต่เมื่อถูกนำไปไว้ในหวอดจะพัฒนาเกิดหยดน้ำมันและลอยน้ำได้ดี ลักษณะไข่เป็นเม็ดกลมสีขาว ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 30 - 40 ชั่วโมง ปลาเพศเมียที่มีขนาดความยาวประมาณ 4 - 6 ซม. จะมีไข่ประมาณ 300 - 700 ฟอง เมื่อวางไข่ไปแล้วจะสามารถวางไข่ครั้งต่อไปภายในเวลาประมาณ 20 - 30 วัน
ภาพที่ 19 แสดงลักษณะการรัดตัวของปลากัดในขณะผสมพันธุ์
ที่มา : http://en.wikipedia.org/wiki/Siamese_fighting_fish
ภาพที่ 20 แสดงการรัดตัว(ซ้าย) ไข่ที่ถูกปล่อยออกมา(กลาง)
และปลาเพศผู้กำลังจะเก็บไข่ที่ปล่อยออกมา(ขวา)
ที่มา : http://royalbetta.free.fr/index.htm
7 การเพาะพันธุ์ปลากัด
การเพาะพันธุ์ปลากัดดำเนินได้ตามขั้นตอนต่อไปนี้
7.1 การเตรียมพ่อแม่พันธุ์ ปลากัดจะสมบูรณ์เพศเมื่ออายุ 4 - 6 เดือน สามารถนำไปใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ได้ การเลือกปลาเพศผู้ควรเลือกปลาที่คึกคะนอง คือ เมื่อนำปลาดังกล่าวไปใกล้กับปลาเพศผู้ตัวอื่น ก็จะแสดงอาการก้าวร้าวทันที โดยจะกางกระพุ้งแก้มและกางครีบ รี่เข้าหาปลาตัวอื่นทันทีพร้อมที่จะกัด หรืออาจสังเกตจากการสร้างหวอดก็ได้ เพราะปลาเพศผู้ที่สมบูรณ์เพศและพร้อมจะผสมพันธุ์ มักจะสร้างหวอดในภาชนะที่เลี้ยงเสมอ สำหรับปลาเพศเมียควรเลือกปลาที่มีท้องแก่ คือมีไข่แก่เต็มที่ โดยสังเกตได้จากส่วนท้องของปลา ซึ่งจะขยายตัวพองออกอย่างชัดเจน และเมื่อลองให้อดอาหารเป็นเวลา 1 วัน ส่วนท้องก็ยังคงขยายอยู่เช่นเดิม นำแม่ปลาที่เลือกได้ไปใส่ขวดแล้วนำไปวางเทียบกับปลาเพศผู้ เมื่อปลาเพศผู้แสดงอาการเกี้ยวพาราสี ปลาเพศเมียที่ท้องแก่จะเกิดลายสีขาวแกมเหลืองพาดจากส่วนหลังลงไปทางส่วนท้อง จำนวน 4 - 6 แถบ ในเรื่องสีสันของปลานั้นสามารถเลือกได้ตามความชอบของผู้ดำเนินการ เพราะปลาสีต่างกันสามารถผสมกันได้