|
|
การเลี้ยงอูฐ-1
รัฐบาลได้กำหนดนโยบาย ให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจพันธุ์ใหม่และเห็นว่าอูฐนมเป็นสัตว์ ที่น่าจะส่งเสริมให้กับเกษตรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือในที่แห้งแล้ง เนื่องจากอูฐเป็นสัตวที่สามารถอยู่ในสภาพแห้งแล้งใช้อาหารที่มีคุณภาพต่ำ ได้เป็นอย่างดี ความต้องการพลังงานในการสร้างน้ำนมต่ำกว่าโคมาก นอกจากนี้อูฐยังเป็นสัตว์ที่มีอายุการใช้งานยาวดังนั้นจึงได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ ได้นำอูฐนมจากประเทศออสเตรเลียเข้ามาเลี้ยงโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการเลี้ยงและสายพันธุ์ที่เหมาะสมทั้งด้านเนื้อและนมโดยให้ทำการศึกษา วิจัยพันธุ์เพื่อทราบสมรรถภาพการผลิตของอูฐเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรผู้สนใจต่อไป
โดยทั่วไป อูฐเป็นสัตว์เลี้ยงในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทรายเพราะความสามารถในการปรับตัวให้อยู่ได้ในสภาพดังกล่าวได้เป็นอย่างดีกว่าสัตว์ ประเภทอื่น ในบริเวณที่มีการเลี้ยงสัตว์ประเภท โค กระบือ แพะ แกะ ส่วนมากจะมีความชื้นแฉะ พื้นที่ที่เลี้ยงไม่เพียงพอและมักจะเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรคและพยาธิ ในขณะที่อูฐจะสามารถเดินทางหาอาหารเป็นระยะทางไกลและมีความต้องการน้ำน้อย ในฤดูแล้งจัด อูฐสามารถถอดน้ำได้นานถึง 10-20 วัน ในขณะที่แพะ แกะต้องการน้ำในระยะทุก 3-8 วัน และโคมีความต้องการน้ำทุก 2-3 วัน อูฐสามารถให้นมได้แม้ว่าจะอยู่ในสภาพแห้งแล้งมาก ๆ ก็ตามดังนั้นอูฐจึงเป็นสัตว์ที่เลี้ยงในเขตแห้งแล้งทะเลทรายเพื่อผลผลิตน้ำนมด้วยนอกเหนือไปจากการใช้แรงงาน ในทางชีววิทยา อูฐเป็นสัตว์ที่จัดอยู่ใน Order Artiodactyla, Suborder Tylopoda, Family Camelidae, genus Camelus จัดแบ่งได้เป็นสอง species คือ Camelus bactrianus ซึ่งเป็นอูฐที่มีสองตะโหนกและเป็นอูฐที่อยู่ในแถบหนาว และ Camelus dromedarius ซึ่งเป็นอูฐที่เลี้ยงในที่ร้อนแห้งแล้งแบบทะเลทรายอูฐเป็นสัตว์ที่มีการเลี้ยงมาตั้งแต่โบราณโดยเลี้ยงทางตอนใต้ของของประเทศแถบอาหรับ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้บริโภคเนื้อและนมเป็นหลัก และใช้บรรทุกของ ทำงาน ขี่และใช้ประโยชน์จากหนังและขนด้วย อูฐมีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ต่อชาวทะเลทรายเป็นอย่างมาก โดยมีบทบาททั้งทางสังคมและประเพณีวัฒนธรรมด้วย เช่น ในชนบางเผ่าเมื่อได้ลูกชายเด็กจะได้รับลูกอูฐเป็นของขวัญและพ่อแม่จะใส่สายสะดือเด็กไว้ในถุงและแขวนไว้ที่คออูฐหรือบางเผ่าจะให้เป็นของขวัญแต่งงานเป็นต้น ปัจจุบันแหล่งที่มีการเลี้ยงอูฐมากที่สุดในโลกคือประเทศซูดานโดยเลี้ยงไว้เพื่อใช้งาน นอกจากนี้ได้มีการแพร่ขยายออกไปยังประเทศต่างๆ เช่นประเทศออสเตรเลีย ได้นำอูฐไปเลี้ยงแพร่ขยายพันธุ์ในเขตทะเลทราย
|
ผลผลิตน้ำนมและคุณภาพน้ำนม
|
อูฐเป็นสัตว์ที่มีนม 4 เต้า เช่นเดียวกับโค กระบือ อูฐ ตะโหนกเดียวส่วนใหญ่จะเลี้ยงเพื่อผลิตน้ำนม ตารางที่ 2 แสดงถึงผลผลิตน้ำนมของอูฐซึ่งเลี้ยงในประเทศต่าง ๆ (IFS 1980) ตามปกติอูฐจะเริ่มแห้งนมประมาณ 8 อาทิตย์หลังจากการผสมติด ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแม้ลูกจะยังไม่หย่านมซึ่งในกรณีนี้ จำเป็นจะต้องป้อนนมลูกด้วยขวด สาเหตุสำคัญที่ทำให้อูฐมีระยะการให้นมสั้นลงและปริมาณน้ำนมลดลงก็คือการเกิดโรคความผิดปกติทางระบบสืบพันธุ์ การขาดแคลนอาหารเป็นต้น อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับโคพื้นเมืองต่าง ๆ แล้วอูฐจะให้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่า ปริมาณน้ำนมต่อวันจะขึ้นอยู่กับระยะการให้นม ปริมาณอาหารที่กิน ความถี่ของการกินน้ำและสภาพโดยทั่วไปของอูฐในขณะรีดนม ปริมาณน้ำนมเฉลี่ยต่อวันเท่ากับ 6.21 ลิตร ระยะให้นมสูงสุดของอูฐจะอยู่ในระหว่าง 6 - 10 อาทิตย์หลังจากคลอดลูก สำหรับการรีดนม โดยทั่ว ๆ ไปจะรีดนมวันละสองครั้งในตอนเช้าและเย็น แต่ในบางประเทศเช่นประเทศ โซมาเลียจะรีดนมอูฐถึงวันละ 4 - 6 ครั้ง พบว่าได้ปริมาณน้ำนมเพิ่มขึ้นถึง 17 % นอกจากนี้การรีดนมอูฐจะต้องใช้ลูกกระตุ้นด้วย
|
ส่วนประกอบทางเคมีและฟิสิกค์ของนมอูฐนั้น ตามปกตินมอูฐจะมีรสหวาน ประกอบด้วยไขมัน 1.1- 4.3 % มีกรมไขมันประเภทระเหยได้ กรดลิโนเลอิกและกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง โปรตีน 2.5 - 4.6 % แลคโต๊ส 2.9 - 4.6 % มีส่วนประกอบของน้ำ 85.7 - 91.2 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำและอาหารที่อูฐได้รับนมอูฐมีระดับ calcium ค่อนข้างต่ำและมี phoshorus และมีธาตุเหล็กสูง และมี vitamin C สูงมาก จากตารางที่ 1 แสดงถึงผลสรุปส่วนประกอบของน้ำนมอูฐ (Yagil, 1982)
|
สำหรับนมและผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากนมอูฐจะใช้ในการเลี้ยงลูกของมันเองและใช้บริโภคสดเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นจึงมีการศึกษาและนำนมอูฐไปทำเป็นผลิตภัณฑ์น้อยมาก อย่างไรก็ตามได้มีผู้นำเอานมอูฐไปบริโภคเป็นยาซึ่งมีความเชื่อกันว่าสามารถรักษาโรคท้องมาน (dropsy) โรคเกี่ยวกับม้าม วัณโรค โรคหืด โรคโลหิตจางและมีรายงานว่าคนไข้ป่วยเป็นโรคตับอักเสบมีอาการดีขึ้นเมื่อรักษาด้วยนมอูฐ
|
ในประเทศทางแถบทะเลทรายจะมีการทำนมเปรี้ยวหรือทำเนยและชีสจากนมอูฐโดยวิธีง่าย ๆ คือ ใช้นมอูฐสดใส่ภาชนะวางทิ้งไว้ในอุณหภูมิ 25-30 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 12-24 ชั่วโมง จากนั้นนำมาคนหรือปั่นในอุณหภูมิ 12- 18 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 - 20 นาที ก็จะได้เนยจากนมอูฐแต่อย่างไรก็ตามเนยหรือ
ชีส ที่ทำจากนมอูฐก็จะมีคุณภาพแตกต่างจากเนยหรือชีสที่ได้จากน้ำนมของสัตว์อื่นเนื่องจากคุณสมบัติทางเคมีของ น้ำนมที่มีโครงสร้างของไขมัน โปรตีนและ
กรดอะมิโนที่แตกต่างกัน
ํ
|
ตารางที่ 1 ส่วนประกอบของน้ำนมอูฐ
|
ไขมัน %
|
ของแข็ง %
|
โปรตีน %
|
แลคโต๊ส %
|
เถ้า %
|
น้ำ %
|
อ้างอิง
|
5.38
2.90
3.07
3.02
|
7.01
-
10.36
9.31
|
3.01
3.70
4.00
3.50
|
3.36
5.80
5.60
5.20
|
0.70
0.60
0.80
0.70
|
-
-
86.5
-
|
Barthe, 1905
Leese, 1972
Davies, 1939
Lampert,1947
|
นอกจากจะได้ประโยชน์จากน้ำนมของอูฐแล้ว อูฐยังสามารถให้ผลผลิตอื่น เช่น หนังขนและเนื้ออีกด้วย อูฐจะให้ปริมาณขน 1 - 5 กก. ต่อตัว ขนอูฐสามารถนำมาทอเป็นผ้าขนสัตว์ ทำเป็นเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม พรมหรือเชือกได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับส่วนของร่างกายที่นำขนมาใช้งาน ขนที่ได้จาก บริเวณใต้ท้องและคอจะนุ่มและยาวกว่าขนจากบริเวณอื่น ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากขนอูฐจะมีราคาแพงมาก นอกจากนี้อูฐยังให้หนังที่มีคุณภาพดีสามารถนำไปทำรองเท้าหรือเครื่องหนังอื่นๆ ได้
|
อาหารและการจัดการเลี้ยงดู
|
อูฐมีระบบย่อยอาหารคล้ายสัตว์สี่กระเพาะ แต่กระเพาะส่วนที่สาม คือ Omasum ไม่เจริญเหมือสัตว์เคี้ยวเอื้องประเภทอื่น แต่จะมีลักษณะเล็กยาว มีเซลล์ที่มีความพิเศษคือเก็บน้ำได้มาก อูฐจึงไม่ต้องกินน้ำบ่อย อูฐเป็นสัตว์ที่ใช้ประโยชน์จากพืชคุณภาพต่ำได้ดีกว่าสัตว์กระเพาะรวมประเภทอื่นโดยเฉพาะพืชประเภทไม้พุ่ม ประสิทธิภาพการย่อยได้ของอูฐจะอยู่ระหว่าง 46-81 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งดีกว่าแพะและแกะ แต่อย่างไรก็ตามโค Zebu จะสามารถใข้อาหารประเภทหญ้าแห้งได้ดีกว่าอูฐ อูฐมีความต้องการอาหารหยาบประมาณ 5 - 10 กก. วัตถุแห้ง (dry matter) ต่อ 100 กก. ของน้ำหนักตัว หรือสามารถ กินหญ้าสดได้วันละ 10 - 20 กก. ส่วนความต้องการน้ำของอูฐจะขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศและอาหารที่กิน อูฐสามารถอยู่ได้เป็นเวลานานกว่าสัตว์อื่นโดยไม่มีน้ำ อูฐจะกินน้ำวันละประมาณ 13 ลิตรเมื่ออาหารอุดมสมบูรณ์หรือกินหญ้าสดและจะกินน้ำวันละ 30 ลิตร เมื่อขาดอาหารหรือกินอาหารจากพื้นที่ดินเค็มการที่อูฐสามารถ อดน้ำได้นานกว่าสัตว์ประเภทอื่นก็เนื่องจากอูฐมีอัตราการสูญเสียน้ำต่ำและทนอาการแห้งน้ำ อูฐจะเจริญเติบโตเต็มที่ เพศผู้อายุ 4 - 6 ปี มีน้ำหนักประมาณ 400-600 กก.เพศเมีย อายุ 3 - 5 ปี มีน้ำหนัก 300 - 400 กก. (Wilson ,1984)
|
อูฐมีอายุการเป็นหนุ่มเป็นสาว(puberty) เมื่ออายุ 4-5 ปี และเป็นสัตว์ที่มีฤดูการผสมพันธุ์ (seasonal breeding) มักจะผสมพันธุ์ในช่วงที่มีอากาศเย็น
คือในฤดูฝนหรือฤดูหนาวมีผู้รายงานว่าวงจรการสืบพันธุ์ของอูฐจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่อูฐอาศัยในประเทศรัสเซียพบว่าอูฐประเภทสองตะโหนกจะแสดงอาการ
เป็นสัดตลอดปี แต่อูฐตะโหนกเดียวจะเป็นสัดตลอดปี แต่อูฐตะโหนกเดียวจะเป็นสัตตามฤดูกาล ช่วงระยะเวลาการเป็นสัดของอูฐเพศเมียจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจน
โดยทั่วไปจะมีอาการกระวนกระวายมักมีนิสัยดุร้ายขึ้น อูฐมีวงรอบการเป็นสัดประมาณ 2 - 3 สัปดาห์มีระยะการตกไข่ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากการผสมพันธุ์แล้ว 30 - 48 ชั่วโมง ระยะการเป็นสัดของอูฐนานประมาณ 3 - 4 วัน อูฐมีช่วงระยะห่างของการให้ลูก 24 เดือน ระยะตั้งท้องนาน 365-393 วัน ในด้านความสมบูรณ์พันธุ์ อูฐมีอัตราการผสมติดต่ำประมาณ 50 % หรือต่ำกว่า
|
สรุป
|
จากการตรวจสอบเอกสารต่างๆพอจะสรุปได้ว่าอูฐเป็นสัตว์ที่น่าจะนำมาผลิตเพื่อใช้ประโยชน์ในทางเศรษฐกิจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการผลิต น้ำนมในพื้นที่ซึ่งมีความแห้งแล้งอากาศร้อนในขณะที่ประชากรโลกเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมาก การเน้นด้านการเลี้ยงสัตว์ให้ได้ผลผลิตสูงโดยการปรับปรุงด้านการ จัดการเป็นวิธีหนึ่ง อย่างไรก็ตามในพื้นที่ที่มีขีดจำกัดด้านการเลี้ยงสัตว์ก็จำเป็นที่ต้องนำมาพิจารณาการเลี้ยงอูฐในพื้นที่แห้งแล้งซึ่งไม่สามารถจะเลี้ยงสัตว์ให้ นมประเภทอื่นได้ก็น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่ง ซึ่งไม่เพียงแต่จะให้นมเท่านั้น แต่ยังสามารถใข้ประโยชน์จาก ขน หนังและเนื้อเพื่อบริโภคอีกด้วยในพื้นที่ แห้งแล้งทะเลทรายรายการเพิ่มพื้นที่การทำการเกษตกรน่าจะใช้ประโยชน์จากอูฐได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม อูฐเป็นสัตว์ที่มีปริมาณน้อยเมื่อเปรียบเทียบ กับสัตว์ให้นมประเภทอื่น ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าเพื่อหาแนวทางและความเป็นไปได้ให้การเลี้ยงให้เป็นเศรษฐกิจในอนาคต
|
|
Update : 19/8/2554
|
|