หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ไตรลักษณ์
    ไตรลักษณ์

    คอลัมน์ ศาลาวัด


    พระไตรปิฎก เป็นคัมภีร์ที่บรรจุคำสอนของพระพุทธศาสนา เรียกรวมว่า พุทธธรรม เป็นที่รวบรวมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า หรือคัมภีร์บรรจุพุทธพจน์ 3 หมวด คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก

    ในพระไตรปิฎก หมวดสุตตันตปิฎก เล่ม 10 สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค รโหคตสูตร

    มีใจความตอนหนึ่งว่า พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่าง คือ สุขเวทนา ทุกขเวทนา อทุกขมสุขเวทนา (เป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุข) พระผู้มีพระภาคตรัสเวทนา 3 อย่างนี้ ก็พระผู้มีพระภาคตรัสพระดำรัสนี้ว่า ความเสวยอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นทุกข์ (หมายความว่าเวทนาแต่ละชนิดล้วนเป็นทุกขลักษณะในไตรลักษณ์)

    ทุกขลักษณะ หรือทุกข์ในไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) หมายถึง ลักษณะที่มีความไม่เที่ยง มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป แปรปรวนไปเป็นธรรมดานั่นเอง

    ซึ่งสุขเวทนา ทุกขเวทนา และอทุกขมสุขเวทนา ก็ล้วนมีลักษณะเช่นนี้ด้วย คือ เวทนาทุกชนิดล้วนเป็นทุกข์ (ทุกขลักษณะ)

    คำว่า ไตรลักษณ์ นี้มาจากภาษาบาลีว่า "ติลกฺขณ"

    ไตรลักษณ์ แปลว่า ลักษณะ 3 อย่าง หมายถึงสามัญลักษณะ หรือลักษณะที่เสมอกัน หรือข้อกำหนด หรือสิ่งที่มีประจำอยู่ในตัวของสังขารทั้งปวงเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ 3 อย่าง ได้แก่

    1.อนิจจตา หรือ อนิจจัง (อนิจจลักษณะ) อาการไม่เที่ยง อาการไม่คงที่ อาการไม่ยั่งยืน อาการที่เกิดขึ้นแล้วเสื่อมและสลายไป อาการที่แสดงถึงความเป็นสิ่งไม่เที่ยงของขันธ์

    2.ทุกขตา หรือ ทุกขัง (ทุกขลักษณะ) อาการเป็นทุกข์ อาการที่ถูกบีบคั้นด้วยการเกิดขึ้นและสลายตัว อาการที่กดดัน อาการฝืนและขัดแย้งอยู่ในตัว เพราะปัจจัยที่ปรุงแต่งให้มีสภาพเป็นอย่างนั้นเปลี่ยนแปลงไป จะทำให้คงอยู่ในสภาพนั้นไม่ได้ อาการที่ไม่สมบูรณ์มีความบกพร่องอยู่ในตัว อาการที่แสดงถึงความเป็นทุกข์ของขันธ์

    3.อนัตตตา (อนัตตลักษณะ) อาการของอนัตตา อาการของสิ่งที่ไม่ใช่ตัวตน อาการที่ไม่มีตัวตน อาการที่แสดงถึงความไม่ใช่ใคร ไม่ใช่ของใคร ไม่อยู่ในอำนาจควบคุมของใคร อาการที่แสดงถึงไม่มีตัวตนที่แท้จริงของมันเอง

    ลักษณะ 3 อย่างนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะที่มีเสมอกันแก่สังขารทั้งปวง และเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธรรมนิยาม คือ กฎธรรมดาหรือข้อกำหนดที่แน่นอนของสังขาร



    • Update : 15/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch