2. การเลี้ยงปลารุ่นในกระชัง สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลาได้ทำการเลี้ยงปลากดเหลืองให้เป็นปลารุ่นในกระชังตาข่ายพลาสติก ขนาด 2 ´3 ´1.5 เมตร ปลาความยาวเฉลี่ย 7.17 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 3.14 กรัม อัตราการปล่อย 300 ตัว/กระชัง
เปรียบเทียบอาหารเนื้อปลาสดสับกับอาหารเม็ดปลากินเนื้อในระยะเวลา 6 เดือน พบว่า ปลาที่เลี้ยงด้วยเนื้อปลาสดสับ มีอัตราการเจริญเติบโตดีมาก คือ มีน้ำหนักเฉลี่ย 83.87 กรัม อัตราการรอดตาย 73.79 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 4.98 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 24.90 บาท/กิโลกรัม (ปลาสดราคากิโลกรัมละ 5 บาท)
ในขณะที่การเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลากินเนื้อ ปลาที่เลี้ยงมีน้ำหนักเฉลี่ย 72.61 กรัม อัตราการรอดตาย 59.29 เปอร์เซ็นต์ อัตราแลกเนื้อ 2.76 คิดเป็นต้นทุนอาหาร 33.12 บาท/กิโลกรัม (อาหารเม็ดปลากินเนื้อราคากิโลกรัมละ 12 บาท)
3. การเลี้ยงปลาในกระชัง การเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชังโดยที่ตัวกระชังทำด้วยตาข่ายพลาสติกขนาดกระชัง 3 ´4 ´1.8 เมตร ปล่อยปลาขนาด 200-250 กรัม จนถึงขนาดตลาด อัตราปล่อย 1,000ตัว/กระชัง ให้ปลาเป็ดและส่วนผสมอื่นๆเป็นอาหารวันละ 1 ครั้ง ใช้เวลาเลี้ยง 4 เดือน ผลปรากฏว่าปลาเจริญเติบโตมีน้ำหนักเฉลี่ย 540 กรัม/ตัว อัตรารอดตาย 82.0 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม/กระชัง
ข้อควรคำนึงในการเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดที่ตลาดต้องการนั้น ถ้าเลี้ยงในบ่อดิน พันธุ์ปลาที่ปล่อยควรเริ่มที่ขนาด 5-7 เซนติเมตร อัตราการปล่อยตารางเมตรละ 1-2 ตัว ส่วนการเลี้ยงในกระชังควรปล่อยปลาตารางเมตรละ 50-70 ตัว และควรหมั่นคัดขนาดปลาให้สม่ำเสมอกันด้วย
ต้นทุนและผลตอบแทน
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จากปลาขนาดความยาวระหว่าง 15 –17 เซนติเมตร หรือน้ำหนักเฉลี่ย 32 กรัม/ตัว โดยให้ปลาเป็ด ไส้ไก่ วิตามินและแร่ธาตุเป็นอาหาร พบว่าในระยะเวลา 7 เดือน ได้ผลผลิตปลาขนาดเฉลี่ย 2.4 ตัว/กิโลกรัม ไร่ละประมาณ 1,062.50 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 63,750 บาท โดยมีต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ ต้นทุนรวมทั้งสิ้นไร่ละ 49,125.02 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 32,377.50 บาท/ไร่ มีกำไรสุทธิไร่ละ 14,625 บาท และคิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุนประมาณ 29.77 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดิน จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
|
เงินสด
|
ไม่เป็นเงินสด
|
รวม
|
รายได้(บาท,1,062.5 กก.´ 60 บ./กก.)
|
-
|
63,750.00
|
ต้นทุนผันแปร(บาท/ไร่)
|
31,372.50
|
15,328.03
|
46,700.53
|
- ค่าพันธุ์ปลา
|
4,800.00
|
-
|
4,800.00
|
- ค่าอาหารปลา
|
24,562.50
|
2,230.00
|
26,792.50
|
- ค่าปุ๋ยและปูนขาว
|
1,120.00
|
100.00
|
1,220.00
|
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
|
320.00
|
-
|
320.00
|
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง
|
350.00
|
-
|
350.00
|
- ค่าขนส่ง
|
220.00
|
-
|
220.00
|
- ค่าแรงงาน
|
-
|
12,000.00
|
12,000.00
|
- ค่าเสียโอกาสการลงทุน
|
-
|
1,098.03
|
1,098.03
|
- ค่าเสื่อมบ่อปลา
|
-
|
2,424.99
|
2,424.49
|
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
|
-
|
470.00
|
470.00
|
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุน สร้างบ่อ/อุปกรณ์
|
-
|
81.99
|
81.99
|
ต้นทุนทั้งหมด
|
31,372.50
|
17,753.02
|
49,125.02
|
รายได้สุทธิ
|
+17,049.47
|
กำไร(บาท/ไร่)
|
+14,624.98
|
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
ขนาดกระชัง 3 ´4 ´ 1.8 เมตร ปล่อยปลารุ่นอายุ 4 เดือน ในระยะเวลา 120 วัน ได้ผลผลิต 462.38 กิโลกรัม คิดเป็นรายได้ 16,402.63 บาท รายได้สุทธิ 12,322.78 บาท รายได้เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 13,919.25 บาท กำไรสุทธิ 11,340.17 บาท คิดเป็นผลตอบแทนต่อการลงทุน 69.14 เปอร์เซ็นต์ ดังตารางที่ 3
ตารางที่ 3 รายได้และต้นทุนการเลี้ยงปลากดเหลืองในกระชัง จังหวัดสงขลา ปี 2536
รายการ
|
เงินสด
|
ไม่เป็นเงินสด
|
รวม
|
รายได้(บาท)
|
27,742.80
|
ต้นทุนผันแปร(บาท/กระชัง)
|
13,823.55
|
1,596.47
|
15,420.02
|
- ค่าพันธุ์ปลา
|
3,000.00
|
-
|
3,000.00
|
- ค่าอาหารปลา
|
10,283.55
|
120.00
|
10,403.55
|
- ค่ายาป้องกันรักษาโรค
|
420.00
|
-
|
420.00
|
- ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง/ขนส่ง
|
120.00
|
-
|
120.00
|
- ค่าแรงงาน
|
-
|
1,200.00
|
1,200.00
|
- ค่าเสียโอกาสลงทุน
|
-
|
276.47
|
276.47
|
- ต้นทุนคงที่(บาท/กระชัง)
|
-
|
982.61
|
982.61
|
- ค่าเสื่อมกระชัง
|
-
|
833.34
|
833.34
|
- ค่าเสื่อมอุปกรณ์ฟาร์ม
|
-
|
130.00
|
130.00
|
- ค่าเสียโอกาสเงินลงทุนสร้างกระชัง/อุปกรณ์
|
-
|
19.27
|
19.27
|
ต้นทุนทั้งหมด
|
13,823.55
|
2,579.08
|
16,402.63
|
รายได้สุทธิ(บาท/กระชัง)
|
+12,322.78
|
รายได้เหนือต้นทุน
ที่เป็นเงินสด(บาท/กระชัง)
|
+13,919.25
|
กำไร(บาท/กระชัง)
|
+11,340.17
|
ที่มา : สุขาวดี และศราวุธ, 2537
โรคและการป้องกัน
โรคปลาที่พบได้ในปลากดเหลืองเกิดจากสาเหตุหลายปัจจัย เช่น การติดเชื้อพยาธิภายนอก การติดเชื้อพยาธิภายใน การติดเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อราและน้ำที่เลี้ยงเป็นพิษ เป็นต้น การดำเนินการรักษาและป้องกันจึงเป็นวิธีการแก้ไขที่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่ต้องใส่สารเคมี หรือยารักษาให้ถูกต้องกับชนิดของโรคดังนี้
โรคที่เกิดจากพยาธิภายนอก
1. โรคจุดขาว (Ichthyopthirius : “ Ich”) ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีจุดสีขาวขุ่นเท่าหัวเข็มหมุดเล็กๆกระจายอยู่ที่ลำตัวและครีบ
สาเหตุ ของโรคจุดขาว คือ โปรโตซัว ชนิดที่กินเซลล์ผิวหนังเป็นอาหาร เมื่อพยาธิโตเต็มที่จะออกจากตัวปลาโดยจมตัวลงสู่บริเวณก้นบ่อปลาและสร้างเกราะหุ้มตัว ต่อจากนั้นจะมีการแบ่งเซลล์เป็นตัวอ่อนจำนวนมากภายในเกราะนั้น เมื่อสภาวะแวดล้อมภายนอกเหมาะสม เกราะหุ้มตัวจะแตกแยกและตัวอ่อนของพยาธิจะว่ายน้ำเข้าตามผิวหนังของปลาต่อไป
การป้องกันและการรักษา ยังไม่มีวิธีกำจัดปรสิตที่ยังอยู่ใต้ผิวหนังที่ได้ผลเต็มที่ แต่วิธีการที่ควรทำ คือ การทำลายตัวอ่อนในน้ำหรือทำลายตัวแก่ขณะว่ายน้ำอิสระ โดยการใช้สารเคมีดังต่อไปนี้
1. ฟอร์มาลิน 150-200 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 1 ชั่วโมง สำหรับปลาขนาดใหญ่
2. มาลาไค้ท์กรีน 1.0-1.25 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นานครึ่งชั่วโมงสำหรับปลาขนาดใหญ่หรือ 0.15 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ไว้นาน 24 ชั่วโมง หรือเมทธิลีนบูล 1-3 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่ติดต่อกัน 7 วัน
3. มาลาไค้ท์กรีนและฟอร์มาลิน ในอัตราส่วน 0.15 กรัมและ 25 ซีซี. ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง แช่ติดต่อกันประมาณ 7 วัน ควรเปลี่ยนน้ำใหม่ทุกวันและแช่ยาวันเว้นวันจนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น วิธีนี้จะได้ผลดีมาก
2. โรคพยาธิปลิงใส (Gyrodactylus) ปลาที่มีพยาธิปลิงใสเกาะจะมีอาการว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวตามผิวน้ำ ผอม กระพุ้งแก้ม เปิดปิดกว่าปกติ อาจมีแผลขนาดเล็กเท่าปลายเข็มหมุดกระจายอยู่ทั่วลำตัว ถ้าเป็นการติดโรคในขั้นรุนแรง อาจมองเห็นเหมือนกับว่า ปลามีขนสั้นๆ สีขาวกระจายอยู่ตามลำตัว ซึ่งอาจทำให้ปลาตายได้ โดยเฉพาะลูกปลาที่เริ่มปล่อยลงบ่อดินใหม่ๆควรระมัดระวังโรคนี้ให้มาก
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 25-40 ซีซีต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
2. ใช้ดิพเทอร์เร็กซ์จำนวน 0.25-0.5 กรัมต่อน้ำ 1,000 ลิตร แช่นาน 24 ชั่วโมง
โรคที่เกิดจากพยาธิภายใน
1. โรคพยาธิใบไม้(pleurogenoides)
พยาธิใบไม้ที่ทำให้เกิดโรคปลานั้นพบทั้งขณะที่เป็นตัวเต็มวัยแล้วและตัวอ่อน ตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้พบได้ในทางเดินอาหารภายในช่องท้องไม่ค่อยทำอันตรายต่อปลาเท่าใดนัก ต่างกับตัวอ่อนซึ่งฝังตัวอยู่บริเวณเหงือกและอวัยวะภายในต่างๆ ทำให้เกิดความเสียหายกับเนื้อเยื่อของเหงือกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในลูกปลาที่เป็นโรคนี้จะมีอาการกระพุ้งแก้มเปิดอ้าอยู่ตลอดเวลา ว่ายน้ำทุรนทุรายลอยตัวที่ผิวน้ำ ผอม เหงือกบวม อาจมองเห็นจุดขาวๆ คล้ายเม็ดสาคู ขนาดเล็กเป็นไตแข็งบริเวณเหงือกและปลาจะทยอยตายเรื่อยๆ ปลาหลายชนิดในแหล่งน้ำธรรมชาติอาจพบพยาธิใบไม้เต็มวัยได้
การป้องกันและรักษา
1. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ปุ๋ยคอก เพราะอาจจะมีไข่ของพยาธิใบไม้ติดมา ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยคอก ควรตากให้แห้งเป็นอย่างดีก่อนจึงจะนำมาใช้พร้อมทั้งกำจัดหอย ซึ่งเป็นตัวช่วยเสริมการระบาดของพยาธิชนิดนี้อย่างครบวงจร โดยการตากบ่อให้แห้งและโรยปูนขาวให้ทั่วในอัตรา 30-50 กิโลกรัมต่อไร่ หลังจากจับปลาขึ้นแล้วทุกครั้ง
2. ยังไม่มีวิธีรักษาหรือจำกัดตัวอ่อนของพยาธิใบไม้ที่เกาะบนตัวปลา
2. โรคจากเชื้อแบคทีเรีย
1. โรคตัวด่าง เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย “ คอลัมนาริส” ปลาที่เป็นโรคนี้จะมีแผลด่างขาวตามตัว และเมื่อเกิดการติดเชื้อเป็นเวลานาน แผลด่างขาวนี้จะกลายเป็นแผลลึกได้ โรคนี้มักเกิดกับปลาหลังการลำเลียงเนื่องจากอุณหภูมิของอากาศที่สูงทำให้ปลามีความต้านทานลดลง เชื้อแบคทีเรียนี้ก็จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและทำอันตรายต่อปลา ปลาที่เป็นโรคดังกล่าวจะตายเป็นจำนวนมาก
การป้องกันและรักษา
1. แช่ปลาในยาเหลือง อัตราส่วน 2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 5 ลิตร นานประมาณครึ่งชั่วโมง
2.ในขณะขนส่งลำเลียงปลาควรใส่เกลือเม็ดในน้ำที่ใช้สำหรับการขนส่งปลาปริมาณ1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 ลิตร
3. ใช้ด่างดับทิมเข้มข้น 2 พีพีเอ็ม แช่ตลอด
4. ใช้ฟอร์มาลินจำนวน 40-50 พีพีเอ็ม แช่นาน 24 ชั่วโมง
5. ในกรณีที่เชื้ออยู่ในกระแสเลือดใช้เทอร์รามัยซิน 5 กรัมต่อ น้ำหนักปลา 100 กิโลกรัมต่อวัน ติดต่อกันเป็นเวลา 10-12 วัน
2. โรคแผลตามตัว เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Aeromonas และ Pseudomonas ปลาจะมีลักษณะผิวหนังบวมแดงและเริ่มเปื่อยเป็นแผลลึกลงไปจะเห็นกล้ามเนื้อส่วนในปลาขนาดเล็กมักจะทำให้เกิดอาการครีบกร่อน ทั้งครีบตามลำตัวและครีบหาง
การป้องกันและรักษา
1. ใช้ยาปฏิชีวนะจำพวกไนไตรฟูราโซนในอัตราส่วน 1-2 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร แช่ปลานานประมาณ 2-3 วัน
2. แช่ปลาที่เป็นโรคในสารละลายออกซีเตตร้าซัยคลิน หรือ เตตร้าไคลินในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำ 1 ลิตร นาน 1-2 วัน ติดต่อกัน 3-4 ครั้ง
3. ถ้าปลาเริ่มมีอาการของโรคอาจผสมยาปฏิชีวนะดังข้อ 1 หรือ 2 ในอัตราส่วน 60-70 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักปลา 1 กิโลกรัม หรือ 2-3 กรัม ต่ออาหาร 1 กิโลกรัม นานติดต่อกัน 3-5 วัน
3. โรคท้องบวม อาการของโรคจะเห็นส่วนท้องบวมมากและบางตัวผิวหนังจะเป็นรอยช้ำตกเลือด
การป้องกันและรักษา
ให้แช่ปลาในยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าไซคลินในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 10-20 พีพีเอ็ม ส่วนการฆ่าเชื้อในบ่อเลี้ยงปลาควรใช้ปูนขาวในอัตราส่วน 50-60 กิโลกรัม/ไร่
เกี่ยวกับสาเหตุของเชื้อโรคชนิดต่างๆซึ่งทำให้เกิดโรคในปลากดเหลืองแล้ว สภาพแวดล้อมที่ปลาอาศัยอยู่ทั้งด้านกายภาพหรือองค์ประกอบด้านเคมีจะเป็นปัจจัยสำคัญซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นให้ปลาอ่อนแอและส่งผลต่อการติดเชื้อโรคดังกล่าวข้างต้น ปัจจัยเหล่านี้ได้แก่ ปริมาณออกซิเจนในน้ำความเป็นกรดด่างน้ำ สารพิษในน้ำปริมาณคลอรีนหรือโลหะหนักในน้ำรวมถึงสภาวะอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน
ดังนั้นผู้เลี้ยงปลาจึงควรที่จะศึกษาวิธีการป้องกันและแก้ไขสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยของปลาหรือหลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้การเลี้ยงปลากดเหลืองมีผลผลิตลดต่ำในที่สุด
ด้านการตลาด
ปลากดเหลืองขนาด 3-5 ตัว/กิโลกรัม (ขนาดเฉลี่ย 250 กรัม/ตัว) จำหน่ายให้ผู้รวบรวมหรือบริโภคในท้องถิ่นทางภาคใต้ราคา 40 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ราคาจำหน่ายปลีกแก่ผู้บริโภคในเขตเมืองระดับราคา 60-80 บาท/กิโลกรัม สำหรับราคาขายส่งไปยังตลาดต่างประเทศในราคา 100-120 บาท/กิโลกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของปลา ปริมาณและความสดของปลาเป็นสำคัญ ปัจจุบันผลผลิตเกือบทั้งหมดมาจากการจับในแหล่งน้ำธรรมชาติ หากมีการเลี้ยงเพิ่มขึ้นก็จะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้จำหน่าย และผู้บริโภคปลากดเหลือง
การกำจัดกลิ่นโคลนในเนื้อปลา
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินสร้างป้องกันการเกิดกลิ่นสาปในเนื้อปลาได้โดยก่อนจับปลาขึ้นจำหน่าย ควรจะย้ายปลามาเลี้ยงในกระชังในแหล่งน้ำที่มีการถ่ายเทดีประมาณ 15 วัน จะป้องกันการเกิดกลิ่นสาบได้เพราะกลิ่นโคลนไม่ใช่เป็นกลิ่นถาวรที่ติดอยู่กับตัวปลาตลอดไป กลิ่นนี้จะหายได้เมื่อนำปลาไปใส่ไว้ในน้ำสะอาด และงดให้อาหารเป็นเวลา 7 วัน ที่อุณหภูมิน้ำ 24 องศาเซลเซียส ถ้าอุณหภูมิสูงกว่านี้จะทำให้กลิ่นโคลนหมดไปจากตัวปลาเร็วขึ้น
การเกิดกลิ่นโคลน(off-flavors)ในเนื้อปลากลุ่ม catfish อาจเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. เกิดจากแหล่งน้ำมีปริมาณของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว (blue green) ซึ่งจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในแหล่งน้ำที่มีปุ๋ยและแร่ธาตุปริมาณสูงวิธีแก้ไขโดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเพิ่มปริมาณน้ำในบ่อเพื่อลดจำนวนของสาหร่ายและตายในที่สุด
2. เกิดจากการให้อาหารปลามากเกินไป ทำให้อาหารเน่าตกอยู่พื้นก้นบ่อซึ่งจะดูดซึมเข้าสู่ตัวปลาได้และทำให้เกิดการ bloom ของสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว ซึ่งทำให้เกิดกลิ่นสาบได้
3. เกิดจากซากพืชหรือซากสัตว์ที่ตกค้างอยู่ในบริเวณ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดกลิ่นสาบได้ดังนั้นจะต้องทำความสะอาดบ่อกำจัดเศษซากพืช ใบไม้ ออกให้หมด
4. ชนิดหรือส่วนผสมของอาหาร อาหารที่มีส่วนผสมของจำพวกไขมันหรือสารละลายในไขมันทำให้เกิดกลิ่นสาบในเนื้อปลาได้