โดยฉีดกระตุ้นทั้งเพศผู้และเพศเมียในเพศเมียฉีดเข็มแรกในอัตรา 5-7 ไมโครกรัมและยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม เข็มที่สอง ห่างจากเข็มแรก 6 ชั่วโมง ในอัตรา 15-20 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัมต่อแม่ปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ส่วนปลาเพศผู้ฉีดในอัตรา 5 ไมโครกรัม และยาเสริมฤทธิ์ 5 มิลลิกรัม ต่อพ่อปลาน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
ทั้งนี้แม่ปลาพร้อมที่จะรีดไข่ผสมน้ำเชื้อหลังจากฉีดน้ำยาเข็มที่ 2 ประมาณ 6-8 ชั่วโมง ถ้าหากปลาเพศผู้อยู่ในสภาวะสมบูรณ์เพศเต็มที่ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้
ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน
การฉีดฮอร์โมนปลากดเหลืองนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว ( 2 เซนติเมตร )
การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ
ก่อนการรีดไข่ปลากดเหลืองเพื่อผสมกับน้ำเชื้อจะต้องเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ต่างๆ ในการฟักไข่ให้พร้อม ได้แก่ กะละมังเคลือบที่เช็ดแห้งสนิท คีมคีบผ้าขาวบาง ขนไก่ และอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือ กระชังผ้าโอลอนแก้วสำหรับฟักไข่ ฯลฯ
การรีดไข่โดยจับแม่ปลาให้แน่นพร้อมทั้งเช็ดลำตัวให้แห้ง รีดไข่ใส่กะละมังพร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา ใช้คีมคีบถุงน้ำเชื้อออกมาขยี้ในผ้าขาวบางให้น้ำเชื้อไหลลงไปผสมกับไข่ ใช้ขนไก่คนให้ไข่กับน้ำเชื้อผสมเข้ากันอย่างทั่วถึงในขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างรวดเร็ว และรีบนำไข่ที่ผสมแล้วไปฟัก โดยโรยบนอวนมุ้งไนลอนตาถี่สีฟ้า หรือบนกระชังผ้าโอลอนแก้ว ในระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร การโรยไข่ปลาพยายามให้ไข่กระจายอย่าทับซ้อนกันเป็นก้อนเปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อฟักไข่ปลาด้วย
การฟักไข่
ไข่ปลากดเหลืองเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีซึ่งได้รับการผสมควรมีลักษณะกลมมีสีเหลืองสดใสและพัฒนาฟักออกเป็นตัว โดยใช้เวลาประมาณ 27-30 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 26-28 องศาเซลเซียส ถุงอาหาร (yolk sac) จะยุบตัวหมดในเวลา 3 วัน หลังจากนั้นลูกปลาจะเริ่มกินอาหาร
บ่อเพาะฟักลูกปลากดเหลืองควรมีหลังคาคลุมบังป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้
การอนุบาลลูกปลาวัยอ่อน
นำลูกปลาวัยอ่อนที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ๆ ไปอนุบาลในบ่อซีเมนต์ขนาด 50 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 20-30 เซนติเมตร สามารถอนุบาลลูกปลาได้ 50,000-100,000 ตัว หรือ 1,000-2,000 ตัว/ตารางเมตร ให้ออกซิเจนตลอดเวลา
อาหารลูกปลา ในสัปดาห์แรกเป็นอาหารที่มีชีวิต ได้แก่ ไรแดงหรือ อาร์ทีเมีย จนกระทั่งลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จึงเริ่มฝึกให้กินอาหารสมทบ ได้แก่ เนื้อปลาบดผสมวิตามินและแร่ธาตุ ส่วนปริมาณการให้อาหารจะให้น้อยๆแต่บ่อยครั้ง ในระยะนี้อาจผสมยาปฎิชีวนะกับอาหารในอัตรา 3 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม เพื่อป้องกันโรคพวกแบคทีเรีย โดยให้วันละ 1 ครั้ง ติดต่อกัน 5-7 วัน
ระดับน้ำ ในบ่ออนุบาลลูกปลาวัยอ่อนระยะแรกประมาณ 20-30 เซนติเมตรและค่อยๆ เพิ่มปริมาณน้ำเป็น 50 เซนติเมตร เมื่อเริ่มให้อาหารสมทบจำพวกเนื้อปลาบด และส่วนผสม ทั้งนี้ การทำความสะอาดพื้นบ่อเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยดูดตะกอนพื้นบ่อ เปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 1 ใน 3 ของบ่อ และเพิ่มประมาณน้ำให้เท่าเดิมในช่วงนี้
การป้องกันโรค ควรใส่ฟอร์มาลินในความเข้มข้น 40 พีพีเอ็ม แช่ตลอด 24 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
การคัดขนาด เมื่ออนุบาลลูกปลามีอายุ 8-10 วัน จะเริ่มขนาดต่างกันจึงต้องหมั่นคัดขนาดลูกปลาเพื่อช่วยลดการกินกันเอง และระยะเวลา 45 วัน จะได้ลูกปลาขนาด 1.5-2.0 นิ้ว
การอนุบาลลูกปลาในบ่อซีเมนต์
จากการอนุบาลปลากดเหลืองขนาดความยาว 3-4 เซนติเมตร อัตราการปล่อย 50 ตัว/ตารางเมตร ในบ่อซีเมนต์
พบว่า ลูกปลาที่ได้รับอาหารกุ้งเบอร์ 2 มีอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดตายดีที่สุด เมื่อเทียบกับอาหารปลาดุก (โปรตีน 31 เปอร์เซ็นต์) และเนื้อปลาสับ (โปรตีน 10 เปอร์เซ็นต์) คือลูกปลามีขนาดความยาว 5-8 เซนติเมตร ภายใน 7 สัปดาห์
การอนุบาลลูกปลาในบ่อดิน
บ่อดินที่ใช้อนุบาลลูกปลาต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อนและพื้นบ่อควรเรียบสะอาด ปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่างๆ ควรมีร่องขนาดกว้าง 0.5-1.0 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากพื้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร
เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลาตรงปลายร่องมีแอ่งลึก พื้นที่ประมาณ 2-4 ตารางเมตรเป็นแหล่งรวบรวมลูกปลา ลูกปลากดเหลืองอายุ 12-15 วัน ขนาด 1-1.5 เซนติเมตร บ่อขนาด 800 ตารางเมตร ระดับน้ำลึก 0.50-0.80 เมตร อัตราการปล่อยอนุบาลบ่อละ 50,000-70,000 ตัว ให้อาหารผสมได้แก่ เนื้อปลาบด 80 เปอร์เซ็นต์ อาหารผง (powder food) 19.6 เปอร์เซ็นต์ วิตามินและแร่ธาตุ 0.4 เปอร์เซ็นต์ ปั้นเป็นก้อนเล็กๆโยนให้ลูกปลาในบ่อกินวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น โดยปรับปริมาณอาหารที่ให้ทุกสัปดาห์เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกปลา นอกจากนี้อาจผสมน้ำมันปลาหมึกในอาหารจะช่วยดึงดูดลูกปลาให้กินอาหารได้ดีขึ้น เมื่อลูกปลาอายุประมาณ 15 วัน จะมีขนาด 4.5-5.0 เซนติเมตร
การเลี้ยงปลาขนาดตลาด
การเลี้ยงปลากดเหลืองให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและกระชัง
1. การเลี้ยงในบ่อดิน ควรปรับสภาพบ่อโดยใช้หลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่วๆไปดังนี้
1.1 ตากพื้นบ่อให้แห้งพร้อมทั้งปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
1.2 ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.3 ใส่ปุ๋ยคอกเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสำหรับลูกปลาควรใส่ปุ๋ยคอกในอัตราประมาณ 60-100 กิโลกรัม/ไร่
1.4 นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลา ติดเข้ามากับน้ำระดับน้ำลึก 30-40 เซนติเมตร วันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกิน ควรเติมไรแดงในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม/ไร่ หลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ก่อนที่จะนำลูกปลามาเลี้ยงควรตรวจดูด้วยว่าเป็นลูกปลาที่มีสุขภาพดีและแข็งแรง
การปล่อยลูกปลา ลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำ ในถุงและน้ำในบ่อให้เท่าๆกันก่อน โดยแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาทีจึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นเวลาตอนเย็นหรือตอนเช้า
การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินขนาด 2 ไร่จำนวน 2 บ่อ ของเกษตรกรกิ่งอำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา ในอัตราการปล่อยปลาขนาดความยาว 15.0-17.0 เซนติเมตร น้ำหนักระหว่าง 22-42 กรัม ตารางเมตรละ 1 ตัวหรือ ไร่ละ 1,600 ตัว โดยให้อาหารจำพวกปลาเป็ดสับผสมวิตามินและแร่ธาตุ ใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงประมาณ 7 เดือน จึงจับปลาจำหน่าย ได้น้ำหนักปลาทังสิ้น 2,125 กิโลกรัม เป็นผลผลิตไร่ละ 1,062.5 กิโลกรัม น้ำหนักตัวระหว่าง 400-500 กรัม (ประมาณ 2.40 ตัว/กิโลกรัม) ได้ปลา 5,110 ตัว อัตราการรอดตาย 79.82 เปอร์เซ็นต์ โดยใช้ปริมาณอาหารทั้งหมด 9,562 กิโลกรัม มีอัตราแลกเนื้อ (FCR) เท่ากับ 2 : 4.5 ดังตารางต่อไปนี้
ตารางที่ 1 การเลี้ยงปลากดเหลืองในบ่อดินของเกษตรกรจังหวัดสงขลา
บ่อ
|
จำนวนที่ปล่อย (ตัว)
|
น้ำหนักเริ่มปล่อย(ตัว)
|
จำนวนปลาที่เหลือ(ตัว)
|
อัตราการรอด(%)
|
น้ำหนักเฉลี่ย(กรัม)
|
น้ำหนักรวม(กิโลกรัม)
|
3,200
3,200
|
15.41
15.80
|
2,548
2,760
|
73.38
86.25
|
419.50
413.00
|
985
1,140
|
เฉลี่ย
|
3,200
|
15.60
|
2,654
|
76.80
|
416.25
|
1,062.5
|
ที่มา : สถานีประมงน้ำจืดจังหวัดสงขลา ,2537