หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (3)
    จะพัฒนาคนกันได้อย่างไร (3)

    พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต ป.ธ.๙)


    5.ธรรมนิยาม คือกฎทั่วไปแห่งความเป็นเหตุเป็นผลกันของสิ่งทั้งหลาย ได้แก่ธรรมดาของสิ่งต่างๆ ที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ชีวิตมนุษย์มีการเกิดขึ้น แล้วก็มีความตายในที่สุด การที่สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยง มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นต้น ซึ่งถือเป็นกฎใหญ่ที่ครอบคลุม

    ในบรรดากฎทั้ง 5 ที่กล่าวมานี้ กรรมนิยาม เป็นกฎข้อเดียวที่เราจะนำมาศึกษา เพราะกฎแห่งกรรมนี้เป็นกฎแห่งเจตจำนง ซึ่งเป็นส่วนพิเศษของมนุษย์ที่ธรรมชาติในโลกฝ่ายวัตถุไม่มี แม้แต่ชีวิตพวกพืชก็ไม่มีกฎนี้ สัตว์อื่นทั้งหลายมีส่วนในกฎนี้บ้างแต่อยู่ในขอบเขตที่จำกัดมาก ไม่เหมือนมนุษย์ มนุษย์มีความพิเศษตรงที่มีเจตจำนงซึ่งเป็นเหมือนหัวหน้าที่นำหรือพาคุณสมบัติต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวมาปรุงแต่งเป็นความคิดสร้างสรรค์ จัดทำสิ่งทั้งหลายและดำเนินกิจการต่างๆ ตลอดจนก่อการทำลายได้อย่างมากมายมหาศาล

    กฎแห่งกรรม เป็นกฎที่เกี่ยวข้องกับชีวิตและสังคมมนุษย์มากที่สุด โดยที่มนุษย์เป็นเจ้าของเรื่อง เป็นผู้ที่สร้างกรรมขึ้นมา เมื่อมนุษย์สร้างหรือกำหนดมันแล้วมันก็มาสร้างหรือกำหนดเราด้วย ทำให้ชีวิต สังคม และโลกมนุษย์เป็นไปตามวิถีของมัน เราจึงควรต้องเอาใจใส่กับกฎนี้ให้มาก

    ส่วนกฎอื่นๆ ก็เป็นไปตามธรรมดา อย่างชีวิตของเรา ร่างกายของเรา ก็เป็นไปตามกฎอุตุนิยาม ต้องขึ้นต่ออุณหภูมิของอากาศ มีเซลล์ที่จะต้องเกิดต้องดับ มีผิวพรรณรูปร่างลักษณะที่เป็นไปตามพีชนิยาม และกระบวนการทำงานของจิตของเราก็เป็นไปตามกฎเกณฑ์ของจิตนิยาม

    กฎพวกนี้เราเพียงแต่รู้แต่เราไม่ค่อยเกี่ยวข้องเท่าไรนัก จุดที่เราจะต้องเกี่ยวข้องมากที่สุดก็คือ เจตนา หรือเจตจำนง ในกฎแห่งกรรมนี้ เพราะเราเป็นเจ้าของเรื่องเลยทีเดียว มันเป็นส่วนของมนุษย์แท้ๆ ที่มนุษย์จะเอามาใช้ประโยชน์หรือจะทำอย่างไรก็ได้ เราจะจัดการกับชีวิตของตนเองอย่างไรก็อยู่ในแดนของกรรมทั้งนั้น ถ้าเรารู้เรื่องหรือฉลาดในเรื่องกรรมแล้วเราก็นำกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยเอาเจตจำนงของเราไปจัดสรรเกี่ยวข้องกับกฎอื่น ใช้กฎอื่นให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์เรานี้ได้ทั้งหมด รวมความว่าเรื่องของมนุษย์และความพิเศษของมนุษย์นั้นอยู่ที่เรื่องของกรรม ทิศทางและความเป็นไปของเจตจำนง

    ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมด้านไหน ตัวแกนของกรรมก็อยู่ที่เจตจำนง เจตจำนงนี้เป็นตัวมุ่งหน้าหรือวิ่งแล่นไป หรืออย่างน้อยก็เป็นตัวกำหนดหรือเลือกว่าจะเอาอันไหนอย่างไร แต่มันจะดำเนินไปอย่างไรก็ต้องมีคุณสมบัติประกอบ ต้องอาศัยคุณสมบัติ ต่างๆ ที่เข้ามาร่วม เช่นว่า เจตจำนงนี้มีความโลภเข้ามาเป็นตัวประกอบหรือเป็นตัวบงการ เจตนาหรือความตั้งจิตคิดหมายก็ออกไปในทางที่จะเอาจะเข้าไปหา หรือถ้าเกิดมีโทสะเข้ามาเป็นตัวประกอบเข้ามาควบคุมวิถี เจตจำนงนี้ก็จะคิดหมายออกไป

    ในทางที่จะทิ้งหรือทำลาย แต่ถ้ามีปัญญามาเป็นตัวประกอบ เจตจำนงก็จะปรับพฤติกรรมใหม่ทำให้ตั้งจิตคิดหมายไปในทางของเหตุผล ให้ทำการด้วยความรู้ความเข้าใจ เช่น มองเห็นว่าถ้าทำไปด้วยความโลภมุ่งจะเอาให้แก่ตัว หรือถ้าคิดไปในทางโกรธจะทำลายกัน จะมีผลไม่ดีมีโทษอย่างนั้นๆ ก็เกิดการปรับพฤติกรรมใหม่ ไม่ทำตามความโลภ และโทสะ แต่ทำไปตามเหตุผลที่มองเห็นด้วยปัญญา

    คุณสมบัติที่จะมาประกอบเจตนาหรือเจตจำนงนี้มีมากมาย เมื่อมาถึงตรงนี้ก็เป็นเรื่องกระบวนการของกรรม ซึ่งต้องอาศัยการทำงานของจิตมาเกี่ยวข้อง เป็นเรื่องของกฎธรรมชาติทั้งหลายที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ความเป็นไปของชีวิตและสังคมมนุษย์นั้นเป็นไปตามกรรมนี้เป็นส่วนใหญ่ แต่กฎแห่งกรรมหรือกรรมนิยามนั้นก็สัมพันธ์กันกับกฎธรรมชาติอื่นทั้ง 4 กฎ สิ่งสำคัญอยู่ที่ว่าเราต้องแยกแยะให้ถูกว่าสิ่งที่เกิดขึ้นมาจากกฎข้อใด หรือมาจากการผสมผสานโยงกันของกฎต่างๆ ข้อไหนบ้าง อย่างไรก็ตามขอเน้นว่า พุทธศาสนาถือว่ากฎข้อที่มีความสำคัญที่สุดสำหรับมนุษย์ก็คือ กรรมนิยาม

    โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรรมนิยามในส่วนที่เกี่ยวกับมโนกรรม



    • Update : 9/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch