หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-ไหว้พระเก้าวัด (เชียงใหม่3)
    ไหว้พระเก้าวัด (๓)

                ผมได้พาท่านผู้อ่านไปไหว้พระในเมืองเชียงใหม่ วัดที่มีนามเป็นมงคลมาแล้ว ๖ วัด ซึ่งวัดที่มีนามเป็นมงคล หรือวัดที่ชาวพุทธถ้าไปไหว้กราบแล้ว จะเกิดความศิริมงคลแก่ตัวเอง จะหมดเคราะห์และประสบโชคลาภ ยิ่งไปไหว้ให้จบได้ในวันเดียวได้ยิ่งดี ซึ่งเก้าวัดนั้น ได้แก่ วัดเจ็ดยอด วัดสวนดอก วัดพระสิงห์ วัดดับภัย วัดหมื่นเงินกอง วัดเจดีย์หลวง วัดดวงดี วัดเชียงมั่น และวัดชัยมงคล วันนี้ผมขอเล่าต่อ ถ้ามีเนื้อที่พอก็จะเล่าให้จบทั้งเก้าวัด ไปเชียงใหม่ตอนนี้ยังเลยไปเที่ยวทุ่งบัวตอง ที่ดอยแม่อุคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ทัน แต่ความงามคงน้อยลงไปหน่อย ไม่เหมือนตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน จนถึงกลางเดือนธันวาคม ที่ทุ่งบัวตอง ดอยแม่อุคอ จะงามสะพรั่งไปทั้งทุ่ง ขอเริ่มพาไปไหว้พระวัดที่ ๗ คือ วัดดวงดี
                    วัดดวงดี  เส้นทางเริ่มต้นกันที่วัดเจดีย์หลวง เมื่อออกจากวัดแล้วให้เลี้ยวซ้ายมาผ่านวัดพันเตา ซึ่งวัดนี้ก็น่าชมเพราะอุโบสถเป็นวัง หรือคุ้มเก่าที่รื้อเอามาสร้างเป็นไม้สักทองทั้งหลัง แต่ไม่ได้เป็น ๑ ใน ๙ วัด หากยังไม่เคยชมควรแวะชมเสียเลย อยู่ติดกับวัดเจดีย์หลวง เมื่อผ่านหน้าวัดพันเตาไปแล้ว ก็จะถึงสี่แยกที่เรียกว่า สี่แยกกลางเวียง ตรงต่อไปประมาณ ๑๐๐ เมตร วัดดวงดี จะอยู่ทางขวามือ หากเลยวัดดวงดีไปจะไปผ่านอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์  ซึ่งตั้งอยู่หน้าศาลากลางหลังเก่า และไปต่อยังวัดเชียงมั่นได้
                    เมื่อ พ.ศ.๒๓๐๔ "เจ้าขี้หุด" บวชเป็นภิกษุอยู่ที่วัดดวงดี "เจ้าปัด" ลูกเจ้าองค์คำ นิมนต์ให้สึกออกมาปกครองเมืองเชียงใหม่ ในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ที่เชียงใหม่พ้นจากการปกครองของพม่า ก่อนที่พม่าจะกลับมาปกครองอีกครั้ง (พ.ศ.๒๓๐๖ - ๒๓๑๗)  หลังจากนั้น ชื่อของวัดดวงดี ก็ปรากฎอีกหลายครั้งโดยเฉพาะชื่อของ "ครูบาเกสรปัญโญ" ซึ่งคงเป็นพระชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนร่วมในพิธีกรรมใหญ่ ๆ ของเชียงใหม่หลายครั้ง รวมทั้งด้านการศึกษาในวัดด้วย เพราะพบผลงานในคัมภีร์ใบลานหลายเรื่องที่ระบุชื่อว่า ครูบาเกสรปัญโญ เป็นผู้เขียนไว้
                    พ.ศ.๒๓๖๒ เจ้าหลวงธรรมลังกา (พ.ศ.๒๓๕๖ - ๒๓๖๔)  เจ้าหลวงเชียงใหม่ องค์ที่ ๒ ได้มาบูรณะวัดดวงดี เมื่อเรียบร้อยแล้วได้มีการสมโภช
                    สิ่งที่สำคัญภายในวัดคือ
                        เจดีย์  จากลักษณะของเจดีย์เข้าใจว่า จะเป็นเจดีย์ทรงระฆัง ที่มีมาลัยเถาแปดเหลี่ยม ซึ่งมีอายุระหว่างพุทธศตวรรษ ถึงปลายพุทธศตวรรษที่ ๒๑
                        อุโบสถ  มีหลักฐานกล่าวถึงการฉลอง เมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗ แต่สภาพที่มองเห็นในปัจจุบันคงได้มีการซ่อมแซมเพิ่มเติม แต่คงไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างหลักมากนัก ส่วนลวดลายประดับนั้น ควรเป็นงานซ่อมภายหลังการสร้างในครั้งแรก
                        หอไตร หรือหอธรรม นับว่ามีรูปร่างแปลก เป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส มีหลังคาทรงมณฑป ซึ่งนับเป็นรูปแบบพิเศษแบบหนึ่ง ของหอไตรในเมืองเชียงใหม่ ด้านนอกมีลายปูนปั้นประดับ จากลักษณะของลวดลายเข้าใจว่า เป็นงานแรกสร้างพร้อมกับการสร้างหอไตร ที่สร้างเสร็จเมื่อ พ.ศ.๒๓๗๗
                        พระพุทธรูปสำริด วัดดวงดีมีพระพุทธรูปสำริดหลายองค์ แต่องค์ที่สำคัญที่สุดน่าจะได้แก่ พระพุทธรูปสำริด ปางมารวิชัย ที่มีจารึกระบุไว้ว่า เมื่อ พ.ศ.๒๐๓๙ ได้อาราธนามาที่วัดต้นหมากเหนือ ซึ่งวัดต้นหมากเหนืออาจจะเป็นวัดดวงดี ก็ได้
                    วัดเชียงมั่น  ตำบลศรีภูมิ อ.เมือง วัดแรกแห่งเชียงใหม่ เส้นทาง ตั้งต้นจากวัดดวงดี เลี้ยวขวาผ่านอนุสาวรีย์ ๓ กษัตริย์ แล้วเลี้ยวขวา พอถึงสี่แยกเลี้ยวซ้ายไปสัก ๑๐๐ เมตร ทางเข้าวัดเชียงมั่นจะอยู่ทางซ้ายมือ ความเป็นมา ในตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ กล่าวไว้ว่า เมื่อพญามังราย หรือพญามังรายมหาราช มาสร้างเมืองเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๖ ได้มาตั้งชัยภูมิอยู่ที่บริเวณวัดเชียงมั่นนี้ ซึ่งเวลานั้นยังไม่ได้สร้างวัดเชียงมั่น จนสร้างวังที่ประทับเสร็จ พญามังรายได้ย้ายเข้าอยู่ในที่ชัยภูมิแล้ว ก็ให้ตั้งบ้านเรือนน้อยใหญ่เป็นอันมาก ตามคำเมืองเรียกว่า "บ้านต่ำ บ้านสูง" ส่วนบริเวณที่พญามังรายมาสร้างเวียงเหล็ก หรือพระราชมณเฑียรประทับคุมการก่อสร้างคุ้มหลวงอยู่นั้ พระองค์ทรงดำริว่า "ที่แห่งนี้เป็นหอนอนของเจ้าฟ้า เจ้าแผ่นดิน เกรงจะเป็นเสนียดจัญไรแก่ผู้นอนทับในภายหลัง"  จึงโปรดให้สร้างพระเจดีย์คร่อมทับตำแหน่งหอนอนนั้นไว้ ต่อมาได้สร้างวัดขึ้นชื่อว่า วัดเชียงมั่น เพื่อถวายแก่พระรัตนตรัยคือ แก้วสามประการ และเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของ ๓ กษัตริย์ คือ กษัตริย์แห่งเมืองเชียงใหม่ เมืองสุโขทัย และเมืองพะเยา
                    จากศิลาจารึกที่พบในวัดเชียงมั่น ซึ่งได้จารึกเมื่อ พ.ศ.๒๑๒๔ ปรากฎว่าสิ่งสำคัญที่สุดในวัดเชียงมั่นคือ "เจดีย์ " ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ ในหลักศิลาจารึกระบุว่า สร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองเชียงใหม่ และวัดเชียงมั่นคือ เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ (เริ่มสร้างเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.๑๘๓๖ พญามังรายสร้างคุ้มหลวงแล้วเสร็จ เสด็จไปประทับ พ.ศ.๑๘๓๙ ถือเป็น พ.ศ.ที่ตั้งเมืองหลวงของล้านนาแห่งใหม่ ก่อนกรุงศรีอยุธยาซึ่งตั้ง เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙) ต่อมามีการบูรณะปฎิสังขรณ์องค์เจดีย์ โดยสร้างทับองค์เดิมถึง ๒ ครั้ง คือเมื่อ พ.ศ.๒๐๑๔ สมัยพระเจ้าติโลกราช และ พ.ศ.๒๑๑๔ สมัยพญาแสนหลวง ซึ่งในการสร้างคร่อมทับครั้งที่ ๒ นี้ ได้มีการสร้างวิหาร อุโบสถ หอไตร ธรรมเสนาสนะ กำแพง ประตู อีกด้วย วัดเชียงมั่น จึงมีความสำคัญควบคู่ไปกับเมืองเชียงใหม่
                    ระยะเวลากว่า ๒๐๐ ปี ที่พม่าเข้าครองเมืองเชียงใหม่ วัดเชียงมั่นเช่นเดียวกับโบราณสถานอื่นๆ ที่ชำรุดทรุดโทรม และถูกทิ้งร้าง (เช่น วัดเจ็ดยอด ถูกทิ้งร้างนับร้อยปี) จนพระเจ้ากาวิละขึ้นครองเมืองเชียงใหม่ จึงได้มีการบูรณปฎิสังขรณ์ วัดเชียงมั่นอีกครั้งเช่นเดียวกับพระอารามอื่น ๆ ที่อยู่ภายในกำแพงเมืองที่ถูกทิ้งร้าง และต่อมาในสมัยเจ้าอินทวโรรส ได้นิมนต์พระธรรมยุติให้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดเชียงมั่น และกรมศิลปากรได้ดำเนินการบูรณะครั้งใหญ่ และปิดทองจังโก้พระเจดีย์ แล้วเสร็จทันฉลอง ๗๐๐ ปี เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๙ วัดเชียงมั่นประกาศเป็นโบราณสถานมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๘
                    สิ่งสำคัญภายในวัดคือ
                        พระเจดีย์  ซึ่งได้กล่าวถึงการก่อสร้างแล้ว
                        วิหาร  เจ้าราชวงศ์ ได้รื้อเอาหอของพญาธรรมลังกามาสร้าง แต่วิหารเดิมได้รื้อถอนไปแล้ว แต่ภายในยังมีโขงปราสาท ที่เป็นรุ่นเดียวกับการสร้างวิหาร
                        หอไตร สองชั้น ใต้ถุนโล่งฝาผนังชั้นบนมีภาพลายทอง
                        พระอุโบสถ ไม่พบประวัติว่าสร้างเมื่อใด แต่ประมาณ พ.ศ.๒๓๔๗ พระเจ้ากาวิละ กับพระมหาสังฆราชเจ้า ได้สร้างปฎิสังขรณ์พระอุโบสถ
                        กลุ่มพระพุทธรูปในอุโบสถ มีอยู่องค์หนึ่งที่สำคัญคือ พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร มีจารึกระบุว่าสร้างเมื่อ พ.ศ.๒๐๐๘ นับว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีจารึกเก่าที่สุดในเมืองเชียงใหม่ และน่าจะเป็นต้นแบบที่ปรากฎขึ้นในล้านนา ก่อนที่จะแพร่กระจายไปในดินแดนใกล้เคียง เช่น ที่พบกันมากที่ เมืองน่าน และหลวงพระบาง
                        พระพุทธรูปศิลาดำปางปราบช้างนาฬาคีรี ข้างซ้ายมีรูปช้างนาฬาคีรี ข้างขวาเป็นรูปพระอานนท์ เป็นพระพุทธรูปในศิปละปาละ สร้างขึ้นราว ๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๕ มีตำนานว่า นำมาจากลังกาในสมัยพระเจ้าติโลกราช และพระเจ้ากาวิละ สร้างฐานพระ, ทำซุ้มด้วยไม้ลงรักปิดทอง ได้จำลองไว้ ๒ องค์ อยู่ที่วัดสวนดอก และวัดหัวข่วง
                        พระเสตังคมณี หรือ พระแก้วขาว มีขนาดหน้าตักกว้าง ๔ นิ้ว สูง ๖ นิ้ว ตามตำนานกล่าวว่า เป็นศิลปะสกุลช่างละโว้ แกะสลักด้วยแท่งศิลาสีขาวใส พญามังรายอัญเชิญมาจากหริภุญไชย เมื่อ พ.ศ.๑๘๒๔ มาประดิษฐานที่วัดเชียงมั่น เมื่อ พ.ศ.๑๘๓๙ ส่วนฐานนั้นพึ่งมาสร้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นไม้แกะสลักหุ้มด้วยทองคำ มีฉัตรทองคำปักจากฐานด้านหลัง ในอดีตกาลเป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์ ของพระนางจามเทวี
                        วันนี้ ผมขอพาไปชิมของหวาน ซึ่งเป็นร้านที่มีชื่อเสียงอย่างยิ่งของเชียงใหม่ เรียกว่าใครพาฝรั่งมาเที่ยว ต้องพามาชิมขนมเค้กที่ร้านนี้ เส้นทางออกจะลึกลับ สำหรับคนต่างถิ่น คงต้องบอกให้ละเอียด ตั้งต้นจากหน้าโรงพยาบาลมหาราช ผ่านวัดสวนดอก ผ่านตลาดต้นพยอม (ตลาดนี้อาหารพื้นเมืองมีขายแยะ เช้า ๆ มีพระเดินมารับบาตรนับร้อย)  ข้ามสะพานข้ามคลองชลประทานไปสัก ๕๐๐ เมตร สังเกตไว้ให้ดี จะมีซอยเล็ก ๆ ทางซ้ายมืออยู่ตรงข้ามกับ "มอ" เรียกว่า หลังมอ ปากซอยมีป้ายแยะ ๑ ใน ป้ายนั้นบอกว่าไป "วัดอุโมงค์ ๑.๕ กม."  เลี้ยวซ้ายเข้าซอยไปประมาณ ๑.๕ กม. จะชนกับประตูวัดอุโมงค์ ให้เลี้ยวซ้ายเลาะกำแพงวัดไปหน่อย ร้านหรือบ้าน (จอดรถในบ้านได้ ๑ คัน) จะอยู่ทางขวามือ มีป้ายบอกชื่อร้าน ป้ายเล็ก ๆ อย่าเผลอขึ้นไปบนบ้าน ร้านคือ สวน นั่งในซุ้มสวน ที่ร่มรื่นด้วยต้นไม้ บ้านเขาสำหรับอยู่อาศัย  แม้แต่ครัวเขาก็อยู่ในสวน ร้านนี้จะขายอาหารเช้าแบบอังกฤษ ขายผลไม้ ขายแซนวิช ที่บากบั่นไปกิน เพราะเขาบอกว่า "สโคน" แบบอังกฤษร้านนี้อร่อยนัก ผมเคยกินสโคนในอังกฤษมาแล้ว ยังจำรสชาติความอร่อยได้ ขออธิบายว่า สโคน ก็คือ ขนมปังแบบหนึ่ง ไม่ใช่ขนมเค้ก กินกับเนย และแยม สโคนก็คือ  สโคน ทางร้าน ยังมีพายเนื้อ พายไก่ ลาซานย่า
                    สั่ง สโคน คนละอันแหละดี ไม่แย่งกัน เขาจะเสริฟพร้อมกับ เนย แยมรัสเบอร์รี่ และแยมบลูเบอรี่ เสริฟมาในจานเซรามิค สีม่วง ราคาชุดละ ๕๐ บาท สั่งกาแฟ บอกว่าเติมได้ไม่อั้น ต้องจิบกาแฟร้อน ๆ จึงจะเข้ากัน แถมขอกาแฟเติมได้เสียอีก บอกได้คำเดียวว่าอร่อยมาก หากินยาก แม้จะเป็นกรุงเทพ ฯ ก็ตาม ร้านเปิดขายตั้งแต่เช้าเรื่อยไป
                    ผมไปกินสโคน เมื่อกินมื้อกลางวันที่ นาซิ จำปู๋ มาแล้ว จึงไปชิมอาหารหวาน ส่วนท่านที่ไม่ไปชิมสโคน ก็แนะทบทวนร้านอาหารไว้ด้วยคือ หากวิ่งผ่านปากซอยวัดอุโมงค์ ตรงไปจนสุดทางแล้วเลี้ยวขวาไปสัก ๕๐๐ เมตร หลังประตูสวนสัตว์คือ ร้านดังกล่าว ต้องมื้อเย็นวิวสวย อีกร้าน หากไม่เลี้ยวขวาตรงเข้าไป ทั้งสองร้านผมพาไปชิมมาแล้ว เอามาทบทวนได้ด้วย



    • Update : 1/8/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch