หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่ไข่-2
    อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
     
     


       
     
    อุปกรณ์ในการเลี้ยงไก่ไข่
       
     
     
              การเลี้ยงไก่ไข่เป็นอาชีพหรือเพื่อการค้าจำเป็นที่จ้องมีอุปกรณ์การเลี้ยงที่จำเป็นและสำคัญนับตั้งแต่ระยะลูกไก่จนถึงระยะให้ไข่ ดังนี้
     
     
              1. อุปกรณ์การให้อาหาร มีอยู่หลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากมี 4 ชนิด คือ
      1.1 ถาดอาหาร ขนาด 48 x 72 x 6.5 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 1 ถาด ใช้กับลูกไก่อายุ 1-7 วัน ได้จำนวน 100 ตัว วางไว้ใต้เครื่องกก เพื่อหัดไก่กินอาหารเป็นเร็วขึ้น
      1.2 รางอาหาร ทำด้วยไม้ สังกะสี เอสล่อนหรือพลาสติก ทำเป็นรางยาวให้ไก่ยืนกินได้ข้างเดียวหรือสองขาง ที่มีจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ขนาดคือ ขนาดเล็กสำหรบลูกไก่ และขนาดใหญ่ใช้กับไก่อายุประมาณ 2 สัปดาห์ขึ้นไป นอกจากนี้รางอาหารอาจทำจากปล้องไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่แทนก็ได้
      1.3 ถังอาหาร ทำด้วยเอสล่อนหรือพลาสติก เป็นแบบถังแขวนมีขนาดเดียวเป็นมาตรฐาน มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 นิ้ว มีเส้นรอบวงประมาณ 50 นิ้ว หลังจากลูกไก่อายุได้ 15 วัน อาจใช้ถังอาหารแบบแขวนได้ และให้อาหารด้วยถังตลอดไป การให้อาหารด้วยการใช้ถังแขวนนี้ต้องปรับให้อยู่ในระดับเดียวกับหลังไก่หรือต่ำกว่าหลังไก่เล็กน้อย อาหารจะไหลลงจานล่างได้โดยอัตโนมัติ และควรเขย่าถังบ่อยๆ เพื่อไม่ให้อาหารติดค้างอยู่ภายในถัง สำหรับจำนวนถังสำหรับถังที่ใช้จะแตกต่างไปตามอายุของไก่
      1.4 รางอาหารแบบอัตโนมัติ โรงเรือนขนาดกว้างประมาณ 10-12 เมตร ใช้รางอัตโนมัติ 2 แถว แล้วเพิ่งถังอาหารแบบแขวนจำนวน 6-8 ถัง ต่อไก่จำนวน 1,000 ตัว แต่ถ้าโรงเรือนที่มีความกว้างเกิน 12 เมตร ควรตั้งรางอาหารเกิน 4 แถว
     
     

     
     
              2. อุปกรณ์ให้น้ำ  แตกต่างกันไปตามช่วงอายุของไก่ อุปกรณ์ให้น้ำที่นิยม มีอยู่ 2 แบบ ดังนี้
      2.1 แบบรางยาว รางน้ำอาจทำด้วยสังกะสี พลาสติกหรือเอสล่อน การเลี้ยงลูกไก่อายุ 1-3 สัปดาห์ ถ้าใช้รางน้ำที่เข้าไปกินได้ด้านเดียว ควรใช้รางยาว 2-2.5 ฟุตต่อลูกไก่ 100 ตัว สำหรับไก่อายุ 3 สัปดาห์ขึ้นไป ให้เพิ่มอีก 3 เท่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อนควรเพิ่มขึ้นอีก สำหรับไก่ในระยะไข่ ควรให้มีเนื้อที่รางประมาณ 1 นิ้ว ต่อ ไก่ 1 ตัว
      2.2 แบบขวดมีฝาครอบ เป็นภาชนะให้น้ำที่นิยมใช้มากเพราะใช้สะดวกมีขายอยู่ทั่วไป มีหลายขนาด หรือเกษตรกรอาจดัดแปลงจากขอบประมาณ 1 เซนติเมตร จำนวน 2 รู ใส่น้ำสะอาดแล้วคว่ำลงบนจานหรือถาดใช้เลี้ยงลูกไก่ได้ลูกไก่ในระยะ 1-2 สัปดาห์แรกควรใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ในอัตราส่วน 2 ใบ ต่อลูกไก่ 100 ตัว เมื่อลูกไก่อายุ 3-6 สัปดาห์ ใช้ขวดน้ำขนาดบรรจุ 2 แกลลอน ควรใช้ 2 ใบต่อลูกไก่ 100 ตัว
     
     

     
     
              3. เครื่องกกลูกไกเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากในการเลี้ยงลูกไก่ ทำหน้าที่ให้ความอบอุ่นแทนแม่ไก่ในขณะที่ลูกไก่ยังเล็กอยู่ ซึ่งมีหลายแบบ ดังนี้
      3.1
    เครื่องกกแบบฝาชี เป็นเครื่องกกที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายกว่าเครื่องกกแบบอื่น มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกัน ส่วนมากมีรูปร่างกลมหรือเป็นเหลี่ยม ทำด้วยโลหะช่วยให้ความร้อนสะท้อนลงสู่พื้นกก ขนาดของกกแบบฝาชีโดยทั่วไปมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 เมตร สามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 500 ตัว เครื่องกกแบบฝาชีอาจจะเป็นห้วยแขวนกับเพดาน สามารถปรับให้สูงต่ำได้ตามต้องการ เมื่อไม่ต้องการใช้ก็สามารถดึงขึ้นเก็บไว้หรืออาจเป็นแบบมีขาวางกับพื้นคอกที่สามารถปรับให้สูงต่ำได้ และยกออกจากบริเวณกก เมื่อไม่ต้องการใช้ เครื่องกกแบบนี้ส่วนมากจะใช้ไฟฟ้า น้ำมันหรือแก๊ส เป็นแหล่งให้ความร้อน
    เครื่องกกแบบฝาชี
      3.2 เครื่องกกแบบหลอดอินฟราเรด การกกด้วยเครื่องกกแบบนี้โดยใช้หลอดไฟอินฟราเรด ซึ่งหลอดไฟอินฟราเรดขนาด 250 วัตต์ 1 หลอด แขวนไว้เหนือพื้นดินประมาณ 45-60 เซนติเมตร จะสามารถกกลูกไก่ได้ประมาณ 60-100 ตัว แต่โดยทั่วไปจะใช้หลอดอินฟราเรดจำนวน 4 หลอดต่อกก ความร้อนที่ได้จากหลอดไฟจะไม่ช่วยให้อากาศรอบๆ อุ่น แต่จะให้ความอบอุ่นโดยตรงแก่ลูกไก่
      3.3 เครื่องกกแบบรวม เป็นการกกลูกไก่จำนวนมากๆ โดยให้ความร้อนจากแหล่งกลางแล้วปล่อยความร้อนไปตามท่อในรูปของน้ำร้อนหรือไอน้ำ วางท่อไปตามความยาวของโรงเรือนตรงกลางใต้คอนกรีต อย่างไรก็ดี การกกลูกไก่ด้วยวิธีนี้การให้ความร้อนจะไม่ทั่วพื้นคอนกรีตทั้งคอก แต่จะให้เฉพาะตรงส่วนกลางไปตามความยาวของโรงเรือน กว้างเพียง 2-2.5 เมตรเท่านั้น นอกจากนี้การกกแบบรวมอาจปล่อยความร้อนออกมาในรูปของลมร้อนออกมาตามท่อกระจายไปทั่วคอก ซึ่งแหล่งให้ความร้อนอาจได้จากน้ำมัน แก๊ส ถ่านหิน หรือไม้ฟืน เป็นต้น
      การเลี้ยงลูกไก่ในระยะกกจำเป็นจะต้องมีที่สำหรับล้อมเครื่องกก ซึ่งอาจจะเป็นไม้กระดานหรือสังกะสีแผ่นเรียบ หรือลวดตาข่ายหรือกระดาษแข็งก็ได้ ที่มีความสูง
     
     

     
     
    4. รังไข่  รังไข่ที่ดีต้องมีขนาดกว้างพอ สามารถเคลื่อนย้ายได้ ทำความสะอาดได้ง่าย มีการระบายอากาศได้ดี เย็น ภายในมีความมืดพอ และวางอยู่ในที่มีความเหมาะสมภายในโรงเรือนไก่ไข่ รังไข่อาจะทำด้วยไม้หรือสังกะสี รังไข่ทำด้วยไม้อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาด และจะเป็นที่อาศัยของไรแดง รังไข่ที่นิยมใช้กันอยู่ทั่วไปมีดังนี้
      4.1
    รังไข่เดี่ยว เป็นรังไข่ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศ มีลักษณะเป็นแถวยาว แถวละ 4-6 ช่อง แต่ละช่องมีขนาดกว้าง 25-30 เซนติเมตร สูง 30-35 เซนติเมตร ด้านหน้าเปิดมีขอบสูงจากพื้นรังไข่ประมาณ 8-10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันไข่และสิ่งรองรังไข่หลุดออกมาจากรังไข่ ด้านหลังอาจมีการปิดด้วยลวดตาขายตาห่าง เพื่อช่วยใหมีการระบายอากาศได้ดีขึ้น ด้านหน้ารังไข่ควรมีคอนให้ไก่เกาะเพื่อเข้าไปไข่ในรังได้สะดวก คอนเกาะหน้ารังไข่ รังไข่อาจวางเรียงเป็นแถวชั้นเดียวหรือวางซ้อนกันเป็นชั้นๆ 2-3 ชั้น โดยให้ชั้นล่างสูงจากพื้นคอกประมาณ45 เซนติเมตร ส่วนหลังคาของรังไข่ชั้นบนสุด ควรให้ลาดชันหรือมีลวดตาข่ายปิดกั้น เพื่อป้องกันไก่บินขึ้นไปเกาะและนอนในเวลากลางคืน อัตราส่วนรังไข่ 1 รัง ต่อแม่ไก่ 4-5 ตัว
      4.2 รังไข่แบบไหลออก เป็นรังไข่ที่นิมใช้กันมาก ในการเลี้ยงไก่ไข่บนพื้นไม้ระแนง พื้นไม้ไผ่หรือพื้นคอนกรีต รังไข่แบบนี้อาจตั้งเดี่ยวหรืออาจวางซ้อนกันเป็นแถว โดยพื้นของรังไข่ทำเศษตาข่ายมีความลาดเอียงประมาณ 10 องศา ซึ่งทำให้ไข่กลิ้งออกมาตามแนวลาดเอียงมาติดอยู่นอกรัง ทำให้ผู้เลี้ยงสามารถเก็บไข่ไก่ได้โดยไม่ต้องเข้าไปในโรงเรือน นับได้ว่าเป็นรังไข่ที่สะดวกกว่ารังไข่แบบอื่นมาก
     
     

     
                    5. วัสดุรองพื้น  หมายถึง วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเพื่อให้ไก่ในคอกสะอาดและอยู่ได้สบาย วัสดุที่ใช้รองพื้นคอกเลี้ยงไก่ควรหาได้ง่ายในท้องถิ่น ราคาถูก และเมื่อเลิกใช้แล้วสามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ยได้อย่างดี
               วัสดุรองพื้นที่เหมาะสำหรับใช้ในประเทศไทยและนิยมใช้กันทั่วไป ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ชานอ้อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ต้นข้าวโพด เปลือกฝ้าย เปลือกถั่วลิสง เปลือกไม้และทราย ถ้าใช้แกลบควรมีฟางข้าวโรยหน้าบางๆ เพื่อป้องกันไก่คุ้ยแกลบลงไปในรางน้ำและรางอาหาร
     
     

     
                     6. อุปกรณ์การให้แสง  เนื่องจากแสงสว่างมีความจำเป็นต่อการมองเห็นของไก่ ไม่ว่าเวลากินอาหาร กินน้ำ หรืออื่นๆ นอกจากนี้แสงยังมีความสำคัญต่อการให้ไข่ของไก่ ดังนั้น ภายในโรงเรือนจะต้องมีอุปกรณ์การให้แสงสว่างอย่างเพียงพอ โดยทั่วไปนิยมติดตั้งหลอดไฟ หลอดไฟที่นิยมใช้กันมาก คือ หลอดกลมธรรมดาและหลอดฟลูออกรสเซนต์หรือหลอดนีออน

     
      โปรแกรมการให้แสงสว่าง
                   ปกติแสงสว่างจะมีอิทธิพลทำให้ไก่ไข่ช้าขึ้นหรือเร็วกว่ามาตรฐาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความยาวของวันและความเข้มของแสง สำหรับในประเทศไทยความยาวของวันแตกต่างกันประมาณ 2-3 ชั่วโมง (ช่วงแสง 11-13 ชั่วโมง) ดังนั้น ควรให้ระดับแสงคงที่อยู่ที่ 13 ชั่วโมงต่อวัน อย่างไรก็ตามผู้เลี้ยงที่ไม่ใช้ไฟฟ้าก็ไม่ประสบปัญหาอย่างใด เพราะจะไม่กระทบต่อผลผลิตมากนัก แต่ผู้เลี้ยงควรจะเลี้ยงไม่ให้น้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน
     
     
      
     
      กฎของการให้แสงสว่างในการเลี้ยงไก่ คือ
                   1. ความยาวของแสงจะไม่เพิ่มขึ้นในช่วง 8-16 สัปดาห์
                   2. ไม่ลดความยาวของแสงหลังจากไก่เริ่มไข่
     
     
                 
     
      การให้แสงสำหรับไข่ในประเทศไทย ขอแนะนำดังนี้
    อายุ
    ความยาวแสง
    0-2 วัน
    3-4 วัน
    5-6 วัน
    7-8 วัน
    9-10 วัน
    11 วัน - 16 สัปดาห์
    17 สัปดาห์
    18 สัปดาห์
    19 สัปดาห์
    20 สัปดาห์
    21 สัปดาห์
    22 สัปดาห์
    22 ชั่วโมง
    20 ชั่วโมง
    18 ชั่วโมง
    16 ชั่วโมง
    14 ชั่วโมง
    13 ชั่วโมง
    13.5 ชั่วโมง
    14 ชั่วโมง
    14.5 ชั่วโมง
    15 ชั่วโมง
    15.5 ชั่วโมง
    16 ชั่วโมง

    แสงสว่างที่เพิ่มขอแนะให้ใช้ความเข้มประมาณ 20-30 ลักซ์ หรือหลอดไฟ 4 วัตต์ ต่อตารางเมตร
     
     

     
      ข้อแนะนำสำหรับความเข้มของแสง
    อายุ
    ความเข้มของแสง
    ข้อแนะนำการใช้หลอดกลมมีไส้
    (วัตต์)
    ลักซ์
    ฟุต-แรงเทียน
    0-3 วัน
    4 วัน - 126 วัน
    127 วัน - ปลด
    20
    5
    5
    2.0
    0.5
    0.5
    40 - 60
    15
    15
     
     
     
     

     
                      7. ผ้าม่าน ในระยะกกลูกไก่รอบๆ คอกมีผ้าม่านไว้เพื่อป้องกันลมพัดแรงโดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาว การปิดผ้าม่านจะทำให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนและอุณหภูมิใต้เครื่องกกอยู่ในสภาพที่ค่อนข้างคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงขึ้นลงอย่างรวดเร็ว สำหรับการกกลูกไก่ในฤดูร้อน ควรเปิดม่านขึ้นเล็กน้อยในเวลากลางวัน เพื่อให้ลมพัดผ่านภายในโรงเรือน และปิดม่านในตอนเย็น  
     

     
                      8. คอนนอน การเลี้ยงไก่ไข่แบบปล่อยพื้นโดยเฉพาะในระยะไก่สาว มีความจำเป็นจะต้องทำคอนนอนสำหรับให้ไก่ได้นอน และยังช่วยให้ไก่เย็นสบาย ไม่ร้อนอบอ้าวเหมือนอยู่ในคอก
    คอนนอนอาจะทำขึ้นเป็นคอนนอนโดยเฉพาะ โดยใช้ไม้ขนาด 1x4 นิ้ว หรือ 1x3 นิ้ว หรือ 2x3 นิ้ว หรือ 2x2นิ้ว ก็ได้ ส่วนความยาวตามต้องการ ลบเหลี่ยมไม้ให้กลมเพื่อให้ไก่เกาะได้สะดวกและไม่เป็นอันตรายต่อเท้าและอกไก่ โดยวางเอาด้านแคบขึ้น วางห่างกันประมาณ 33-41 เซนติเมตร ให้มีเนื้อที่คอนนอน 10-15 เซนติเมตรต่อตัวสำหรับไก่สาว และ 18-20 เซนติเมตร สำหรับไก่ไข่ ใต้คอนนอนและด้านข้างต้องบุด้วยลวดตาข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้ไก่เข้าไปคุ้ยเขี่ยอุจจาระใต้คอนนอน ควรอยู่ติดข้างฝาด้านใดด้านหนึ่งของโรงเรือน ในระยะไก่สาวควรลดระดับด้านหน้าของคอนนอนลงให้ต่ำพอที่ไก่จะขึ้นเกาะคอนได้สะดวก เมื่อไก่โตขึ้นค่อยยกระดับขึ้นให้สูงกว่าระดับปกติดประมาณ 75 เซนติเมตร
     

    • Update : 26/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch