|
|
การเลี้ยงไก่พื้นเมือง-5
แนวทางการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
1. การอนุรักษ์ไก่พื้นเมืองโดยเกษตรกรรายย่อย
เป็นการสนับสนุนส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงไก่ต่อครัวเรือนมากขึ้น และเป็นผู้ได้ประโยชน์จากไก่โดยตรง ดังนั้น จึงขึ้นอยู่กับเราจะหาวิธีการแบ่งปันผลประโยชน์ เพิ่มรายได้ให้เกษตรกรได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมได้อย่างไร วิธีหนึ่งที่คาดว่าได้ผล ก็คือการสนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งตลาดกลางไก่พื้นเมืองขึ้นทุกอำเภอหรือทุกตำบลๆ ละ 1 แห่ง เพื่อเป็นแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยนพันธุ์ คัดพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ เผยแพร่ แลกเปลี่ยนความรู้ข่าวสารทั้งทางด้านวิชาการและข้อมูลด้านการตลาด ตลอดจนเป็นแหล่งจำหน่ายสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการนำผลผลิตจากการอนุรักษ์ไก่ไปใช้ประโยชน์ในด้านเศรษฐกิจเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรผู้อนุรักษ์และพัฒนาโดยตรง คาดว่าในแต่ละปีจะมีไก่พื้นเมืองออกมาสู่ตลาดมากกว่าปีละ 60 ล้านตัว เป็นมูลค่าประมาณ 5,000 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี เนื่องจากว่าไก่พื้นเมืองถ้าหากมีการควบคุมจำนวนไก่เล็ก ไก่ใหญ่ ไก่สาวในแต่ละฟาร์มหรือครอบครัวของเกษตรกรรายย่อยให้เหมาะสมแล้ว มีการจับขาย หรือบริโภคในครัวเรือน จะทำให้เกษตรกรได้ประโยชน์สูงสุด คือ แม้จะมีพ่อแม่ไก่จำนวนคงที่ แต่ถ้าจับขายหรือกินตัวที่โตเต็มที่แต่ไม่ใช่แก่เต็มที่ จะทำให้ลูกไก่รุ่นถัดมาและลูกไก่เล็กสามารถเติบโตขึ้นมาทดแทน เนื่องจากมีอาหารสมดุลกับปริมาณไก่ ทั้งนี้ เพราะเกษตรกรจะไม่ลงทุนซื้ออาหารที่เลี้ยงไก่เนื้อ หรือไก่ไข่ แต่จะให้เป็นเวลาอาจจะเช้าหรือเย็น นอกนั้นก็หากินเองตามธรรมชาติ เช่น ผัก หญ้า เมล็ดธัญพืชต่างๆ แมลง ซึ่งก็จะถูกจำกัดด้วยพื้นที่รอบบริเวณบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนประชากรไก่ต่อครอบครัวต่อเดือนจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับจำนวนไก่ที่ขาย กินหรือตาย
2. ตลาดไก่พื้นเมือง : โอกาสและความเป็นไปได้
ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้นับได้ว่าเป็นพันธุ์ไก่ที่ถูกจัดอันดับให้อยู่ในความนิยมขอผู้บริโภคทั่วประเทศ รองลงมาก็เป็นไก่ลูกผสมที่พ่อเป็นพันธุ์พื้นเมือง แม่พันธุ์ทางชนิดต่างๆ และสุดท้ายเป็นไก่เนื้อ โตเร็ว ขนสีขาว ที่เลี้ยงเป้นการค้า และมีจำหน่ายทั่วไป โดยทั่วไปไก่พื้นเมืองที่จำหน่ายกันทุกวันนี้ ตลาดมีความต้องการตัวที่มีขนาด 1.5-2 กก. และผู้บริโภคนิยมซื้อไก่รุ่นหนุ่มสาว โดยเฉพาะไก่สาวอายุพร้อมจะไข่หรือเริ่มไข่ แต่มีจำหน่ายไม่แพร่หลาย ราคาแพง การตลาดไม่เป็นระบบ ขายเทคโนโลยีการจัดการที่เหมาะสม มีผู้เลี้ยงเป็นเชิงธุรกิจค่อนข้างน้อย
ตลาดไก่พื้นเมืองเป็นตลาดท้องถิ่น ซื้อขายกันในหมู่บ้าน แล้วส่งไปขายตลาดใหญ่ในจังหวัดและกรุงเทพฯ และเป็นการบริโภคภายในประเทศซึ่งก็เป็นวิธีการที่ถูกเพราะเป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตเองบริโภคเอง และให้ประชาชนในชนบทได้มีอาหารประเภทโปรตีนพอเพียง
ดังนั้น แนวทางในการพัฒนาการผลิตไก่พื้นเมืองให้มีจำหน่ายสม่ำเสมอตลอดปี ควรมีการศึกษาด้านการตลาดไก่พื้นเมือง เพื่อเป็นสิ่งจูงใจให้เกษตรกรได้ผลิตอย่างต่อเนื่อง เป็นการเปลี่ยนระบบการผลิตจากฤดูกาลมาเป็นผลิตต่อเนื่องตลอดปี แม้ว่าจะผลิตไม่มากต่อครัวเรือน แต่ถ้าผลิตกันเป็นแสนๆ ครอบครัวก็จะทำให้ผลผลิตรวมสูง พอเพียงกับการที่จะทำธุรกิจ ดำเนินการตลาดได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้บริโภคหาซื้อได้ง่าย ราคายุติธรรม แนวโน้มที่เป็นไปได้ในปัจจุบัน คือ การเพิ่มผลผลิตไก่พื้นเมืองโดยการรวบรวมไก่พื้นเมืองส่งโรงเชือดไก่ที่อยู่ในปัจจุบันเพื่อชำแหละตัดแต่งและบรรจุหีบห่อเป็นสินค้าที่มีขบวนการผลิตอย่างถูกต้องตามหลักอนามัยและเป็นสินค้ามีคุณภาพ เหมาะที่จะส่งไปขายในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ เช่นเดียวกับไก่พันธุ์เนื้อในปัจจุลัน เหตุผลที่เสนอให้มีการเปิดงานชำแหละไก่พื้นเมือง เนื่องจากว่าเป็นการดูดซึมปริมาณไก่ออกสู่ตลาดอย่างสม่ำเสมอ ในขณะเดียวกันเมื่อเกษตรกรขายไก่ใหญ่ออกไปแล้วก็จะสามารถนำไก่เล็กเข้ามาเลี้ยงทดแทน หรือไม่ก็จะทำให้ไก่เล็กและลูกไก่ที่มีอยู่เดิมได้มีโอกาสเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นการผลิตต่อเนื่องตลอดปี ส่วนอีกประเด็นหนึ่ง คือ ผู้ผลิตส่วนใหญ่ 90% ไม่มีความชำนาญด้านการตลาด ดังนั้น จึงต้องอาศัยผู้ที่มีฝีมือ ความชำนาญด้านการตลาดเข้ามาช่วยผลักดันอีกทางหนึ่ง ซึ่งผู้มีประสบการณ์เหล่านี้จะมีความชำนาญเป็นเพิเศษสำหรับการฆ่า-ชำแหละ และบรรจุหีบห่อให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดทุกระดับชั้น ไม่ว่าจะเป็นตลาดภายในประเทศหรือต่างประเทศ ดังนั้น จึงเห็นว่าแนวโน้มในด้านนี้มีความเป็นไปได้สูงกว่า 80%
ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมือง
1. ต้นทุนการผลิตไก่พื้นเมืองหนัก 1.8 กก./ตัว ราคาหน้าฟาร์ม
- ค่าลูกไก่
- ค่าอาหาร 1:35
- ค่าแรงงาน
- ค่ายา-วัคซีน
- ค่าน้ำ-ค่าไฟ
- ค่าวัสดุ-อุปกรณ์โรงเรือน
- ค่าเสียโอกาสเงินทุน
- อื่นๆ
รวม
หรือ |
9
44.1
1.44
1.49
0.58
1.08
0.9
21.0
79.59
44.22
|
|
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท/ตัว
บาท/กก. |
2. ต้นทุนการฆ่าแปรรูปไก่พื้นเมือง ณ หน้าโรงงาน (บาท/กก.)
- ราคาไก่มีชีวิต ณ หน้าฟาร์ม
- ค่าขนส่งถึงโรงงาน
รวม
- จำหน่ายผลพลอยได้จากโรงงาน
(ปีก, โครง, เครื่องใน)
* ต้นทุนไก่ติดกระดูก
* ต้นทุนเนื้อเพื่อส่งออก (27%)
- ค่าแรงงานชำแหละ
- ค่าบรรจุหีบห่อ
- ค่าดำเนินการ
รวม ทุนเนื้อไก่ส่งออก
|
44.22
1.00
45.22
10
35.22
130.44
3.50
1.26
4.50
139.70
|
|
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท |
3. ต้นทุนค่าขนส่งไปต่างประเทศ
- น้ำหนักเนื้อไก่ 1 Shipment
- ค่าระวางไปญี่ปุ่น
- Terminal Handling Charge
- B/L
- ค่ารถห้องเย็น+ประกันสินค้า
- ค่าพิธีกร
รวม
หรือ |
22,000
85,425
3,000
200
5,000
1,200
94,825
4.31
|
|
กก.
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท
บาท/กก. |
4. รวมต้นทุนเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง ณ ประเทศผู้ซื้อ
4.1 ชนิดถอดกระดูก
- ค่าเนื้อไก่พื้นเมืองแช่แข็ง
- ค่าภาษี
- ค่าขนส่ง
รวมต้นทุนส่งออก
หรือ
หรือ |
139.70
0.81
4.31
144.81
144,810
3,292
|
|
บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/กก.
บาท/ตัน
US$/ton |
4.2 ชนิดติดกระดูก
- ค่าเนื้อไก่ทั้งตัว
- ค่าบรรจุหีบห่อ
- ค่าขนส่ง
- ค่าภาษี
รวม
หรือ
หรือ |
35.22
9.26
4.31
0.18
48.97
48,970
1,113
|
|
บาท/กก.
บาท/ตัน
US$/ton (44฿/$) |
3. การเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมือง
เป็นวิธีแบ่ปันผลประโยชน์ให้เกษตรกรได้อีกวิธีหนึ่ง เช่น ไก่แจ้พื้นเมืองขนสีทอง ดำ หรือสีประดู่ เป็นต้น เป็นไก่สวยงามราคาแพง หรือไม่ก็สายพันธุ์ไก่ชนก็ดี เพราะถ้าชนเก่ง สายเลือดชนเก่ง ก็สามารถขายได้ราคา อีกประการหนึ่ง ไก่ชนเป็นไก่สายเลือดค่อนข้างบริสุทธิ์ และเป็นไก่ที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมไทยมานับร้อยๆ ปี นอกจากนี้ยังเป็นไก่ที่แข็งแรง ไม่ขี้โรค กล้ามเนื้อใหญ่ ไข่ดก ลูกดก ฟักไข่ได้เอง และเมื่อนำมาประกอบอาหารมีรสชาดดี ดังนั้น การเลือกพันธุ์ที่อนุรักษ์ก็สามารถเพิ่มมูลคทมของไก่สายพันธุ์นั้นๆ ได้ อย่างไรก็ดี ไก่พันธุ์พื้นเมืองที่มีอยู่ทั่วไปทุกวันนี้ คาดว่า 80-90% เป็นไก่ที่เป็ฯสายพันธุ์ไก่ชน ดูได้จากแม่ไก่ประมาณ 90% จะมีขนสีดำ ตัวผู้จะเป็นไก่ขนเหลืองหางขาว หรือประดู่หางดำ
4. วิจัยและพัฒนาการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
ผสมผสานกับการปลูกพืชและการเกษตรอื่นๆ แบบผสมผสานในรูปแบบระบบการทำฟาร์มที่มีไก่พื้นเมืองเป็นองค์ประกอบหนึ่งของระบบ เช่น มีการปลูกพืชอาหารสัตว์เลี้ยงไก่ควบคู่กันไป ตราบใดที่เกษตรกรมีอาหารให้ไก่กินก็จะเจริญและแพร่พันธุ์อย่างรวดเร็ว การเลี้ยงไก่พื้นเมืองร่วมกับการปลูกพืชอื่นๆ เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง และถั่วชนิดต่างๆ จะเป็นทางเลือกให้เกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทอกินมากนักหรือไม่เพียงพอที่จะเลี้ยงสัตว์ใหญ่ มีรายงานไว้ว่า การเลี้ยงไก่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของกิจกรรมการเกษตร สามารถทำให้รายได้สูงกว่าเลี้ยงโค-กระบือ ในบางพื้นที่ โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ทำกินหรือเช่าที่
5. การวิจัยและพัฒนาส่วนหนึ่งเน้นไปทางอุตสาหกรรม
เป็นการนำพันธุ์ไก่พื้นเมืองแท้ไปผสมกับไก่พันธุ์อื่นๆ เพื่อเป็นลูกผสมพื้นเมืองโตเร็ว รสชาตดี เช่นเดียวกับไก่พื้นเมือง แต่ผลิตได้ปริมาณมากเชิงอุตสาหกรรม ด้วยต้นทุนที่ต่ำ เหมาะที่จะเลี้ยบงเป็นอุตสาหกรรม เพื่อสนองความต้องการของผู้บริโภคและต่างประเทศ
6. สนับสนุนส่งเสริมให้มีการจัดตั้งสมาคมชมรม
เพื่อประสานงานการอนุรักษ์และพัฒนาเผยแพร่ข่าวสารตลอดจนจดทะเบียนและรับรองพันธุ์ให้เกษตรกรผู้ซึ่งพัฒนาไก่ของตนเองได้คุณสมบัติตามที่ตลาดต้องการ เช่น ชนเก่ง หรือมีลักษณะพิเศษไปจากของคนอื่น ก็สามารถจดทะเบียนรับรองพันธุ์ได้ เพื่อประโยชน์ต่อการซื้อขายของเกษตรกรและผู้บริโภค
7. ส่งเสริมให้หน่วยราชการ เอกชน ชมรม สมาคม
ได้ทำการศึกษาวิจัยด้านพันธุกรรมว่าไก่พื้นเมืองเป็นแหล่งพันธุกรรมมีอะไรบ้าง เช่น มี Gene ที่ต้านทานโรคอะไร อยู่ที่ใดในโครโมโซม สามารถแยกหรือตัดต่อแต่งเติมเข้าไปในโครโมโซมของสัตว์สาพันธุ์อื่นได้หรือไม่ เป็นการศึกษาหาความหลากหลายในด้านวิทยาศาสตร์ ซึ่งต่อไปในอนาคตอาจจะสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้
|
Update : 23/7/2554
|
|