หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่พื้นเมือง-3

    การปรับปรุงพันธุ์ไก่พื้นเมือง

               การที่จะเพิ่มมูลค่าของไก่พื้นเมืองจะต้องมีพันธุ์ไก่ที่ดี โดยเฉพาะไก่ชนจะต้องเป็นพันธุ์ที่แข็งแรง ในภาคกลางนิยมไก่ชนที่มีรูปร่างใหญ่ หนักประมาณ 3.0-4.5 กก. แต่ในภาคเหนือนิยมไก่ชนขนาดเล็ก น้ำหนักไม่เกิน 3.0 กก. ส่วนภาคใต้นิยมไก่ชนที่มีเดือยแหลมคม และทุกภาคชอบไก่ชนเก่ง การที่จะได้ไก่พันธุ์ดี ราคาสูง จะต้องทำการปรับปรุงพันธุ์ด้วยตัวเองอยู่อย่างต่อเนื่อง การปรับปรุงพันธุ์มีหลักการโดยสรุป 2 หลัก ทำควบคู่กันเสมอๆ คือ หลักการผสมพันธุ์ กับหลักการคัดเลือกพันธุ์

               หลักการผสมพันธุ์  มี 2 แบบกว้าง ๆ คือ
               1. การผสมพันธุ์ระหว่าง พ่อพันธุ์และแม่พันธุ์ที่ไม่เป็นญาติกัน
               2. การผสมกันระหว่างญาติพี่น้องสายเลือดใกล้ชิด เรียกว่า การผสมแบบเลือดชิด แต่ในทางปฎิบัติเราหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดค่อนข้างยาก เนื่องจากมีพ่อแม่พันธุ์จำนวนจำกัด ตามทฤษฎีแล้วเราสามารถผสมได้แต่สายเลือดไม่สูงเกินกว่า 49% โดยเฉพาะการปรับปรุงพันธุ์ไก่ให้ได้เลือดบริสุทธิ์หรือพันธุ์แท้ ถ้าผสมเลือดชิดสูงถึง 49% ก็จะได้พันธุ์ใหม่ หรือพันธุ์ของเราเองซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะพันธุ์ ในทางปฏิบัติทั่วๆ ไป เราจะพยายามให้เปอร์เซนต์การผสมเลือดชิดอยู่ระหว่า 15-25% อัตราการผสมเลือดชิดนี้จะเพิ่มขึ้นทุกๆ ปี ดังนั้น จึงต้องวางแผนว่าในระยะ 10 ปีข้างหน้า จะให้ฝูงไก่มีเลือดชิดกี่เปอร์เซนต์ เพื่อนำไปคำนวณหาว่า ควรจะมีพ่อแม่พันธุ์ในฝูงกี่ตัว

    ตัวอย่าง
               เราต้องการปรับปรุงพันธุ์ไก่ชน สายพันธุ์เหลืองหางขาว ซึ่งเป็นไก่ชนที่เรามีอยู่ และต้องการปรับปรุงพันธุ์ให้ดียิ่งๆ ขึ้น โดยคิดว่าจะไม่นำไก่จากที่อื่นมาผสมในระยะ 10 ปีข้างหน้า และจะพยายามหลีกเลี่ยงการผสมเลือดชิดให้มากที่สุด และกำหนดเพดานไว้ 25% หรือเท่ากับเพิ่มขึ้นปีละ 2.5% ซึ่งเป็นระดับที่ไม่สูงหรือต่ำเกินไป ดังนั้น คำถามว่าเราควรตะมีพ่อแม่พันธุ์ไก่ที่ใช้สำหรับผลิตลูกทดแทนไว้ขยายพันธุ์ในปีต่อไปจำนวนกี่ตัว

    วิธีคำนวณ หาจำนวนพ่อแม่พันธุ์

                    1. อัตราการผสมเลือดชิดเพิ่มขึ้นต่อปี = 25/10 = 2.5%
                    2. กำหนดจำนวนพ่อพันธุ์ที่เราจะใช้กี่ตัว ขึ้นอยู่กับเราว่ามีอยู่เท่าใด แต่แนะนำให้มีพ่อพันธุ์ในแต่ละปี ไม่ควรต่ำกว่า 10 ตัว ไม่เกิน 50 ตัว ที่พอเหมาะกับฟาร์มขนาดเล็กก็ประมาณ 10 ตัว ขนาดกลาง 20 ตัว

     แผนผังการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์
              หลังจากเราได้จำนวนพ่อและแม่พันธุ์ที่ใช้สำหรับผลิตลูกในการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนในปีต่อไปแล้ว เราจำเป็นจะต้องวางแผนการผสมพันธุ์ว่าพ่อและแม่ตัวใดควรจะผสมกัน ทางวิชาการมีอยู่ 2 แบบ คือ ผสมแบบ 1 ต่อ 1 หรือ พ่อตัวหนึ่งผสมกับแม่หลายตัว เช่น 1:5 เป็นต้น แต่ที่เราได้จำนวนพ่อมา 10 ตัว แม่ 10 ตัว จึงควรวางแผนผังผสมแบบ 1:1 จะได้ลูกผสมพันธุ์ทั้งหมด 10 คู่ ซึ่งทางวิชาการเรียกว่า 10 สายพันธุ์ ในปีต่อไปจะปรับปรุงพันธุ์โดยยึด 10 สายพันธุ์เป็นหลักไปทุกๆ ปี ในแต่ละปี จะต้องผลิตลูกไก่คละเพศให้ได้คู่ละ 10-20 ตัว ในจำนวน 10-20 ตัวนี้ ให้คัดเลือกไว้ทำพันธุ์ทดแทนปีต่อไป 2 ตัว เป็นเพศผู้และเพศเมียอย่างละครึ่ง รวมลูกไก่ที่จะต้องผลิตในแต่ละปีเพื่อใช้ในการคัดเลือกพันธุ์เท่ากับ 100-200 ตัว และคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ 10-20% ของจำนวนไก่ทั้งหมด ซึ่งคามเข้มข้นของการคัดพันธุ์ระดับนี้ จะทำให้การคัดเลือกเพื่อปรับปรุงพันธุ์ก้าวหน้าประสบผลสำเร็จ ในระยะเวลา 5-8 ปี หรือถ้าจะให้เร็วกว่านี้เราจะต้องเพิ่มจำนวนลูกที่จะต้องใช้ในการคัดเลือกพันธุ์จาก 200 ตัว เป็น 300 ตัว ซึ่งเท่ากับ (20/300)X100=6.67% การวางแผนการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ สรุปเป็นภาพแผนผังการผสมพันธุ์ได้ดังนี้

       การคัดเลือกพันธุ์
              จากแผนผังการผสมพันธุ์ดังกล่าวข้างต้น จะเห็นลูกศรชี้ให้ทำการคัดเลือกพันธุ์ไว้ทดแทนปีต่อไป การคัดเลือกพันธุ์เป็นวิธีการที่จะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการปรับปรุงพันธุ์ คือ เราต้องการพันธุ์ไก่พื้นเมืองพันธุ์แท้ที่มีลักษณะดังนี้
               1. รูปร่างใหญ่ สวยงาม น้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ที่อายุ 5-6 เดือน เพศผู้หนัก 3.5-4.0 กก. เพศเมีย 2.5-3.0 กก. หรือตามขนาดของแต่ละท้องถิ่น
               2. เพศผู้มีลักษณะเป็นไก่ชน
               3. ชนเก่ง อดทน และฉลาด
               4. สุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และทนทานต่อโรคพยาธิ
               5. เลี้ยงง่ายในสภาพชนบททั่วไป

               
               ในทางปฏิบัติการที่จะให้บรรลุวัตถุประสงค์ เราจะต้องมีมาตรการวิธีการและหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกพันธุ์ดังนี้
               1. การเจริญเติบโต รูปร่างใหญ่ มีน้ำหนักมาก เราสามารถคัดเลือกไก่ได้ ตั้งแต่อายุ 2 เดือน โดยที่ไก่เติบโตดีที่สุด และน้ำหนักมากที่สุด เมื่ออายุ 2 เดือน ส่วนใหญ่จะเป็นไก่ที่ตัวใหญ่ และน้ำหนักมากเมื่ออายุ 5-6 เดือน
               2. การคัดเลือกเพื่อให้ได้วัตถุประสงค์ข้อ 2 และข้อ 4,5 ให้ใช้เกณฑ์การตัดสินไก่ชน




    • Update : 23/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch