หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงไก่พื้นเมือง-1
      ความสำคัญ

              ไก่พื้นเมืองตามประวัติศาสตร์ มีรายงานไว้ว่าเป็นไก่ที่มีต้นกำเนิดมาจากไก่ป่าในทวีปเอเชีย โดยเฉพาะในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น
    ไทย มาเลเซีย และจีนตอนใต้  ซึ่งมนุษย์ได้นำมาเป็นสัตว์เลี้ยงเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน  หลังจากที่มนุษย์นำไก่มาเลี้ยง ไก่และมนุษย์ดำรงชีวิตแบบพึ่งพา
    อาศัยซึ่งกันและคน ไก่อาศัยการเลี้ยงดูและการป้องกันอันตรายจากมนุษย์ ในขณะที่มนุษย์อาศัยไก่และไข่เป็นอาหาร เป็นการพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เรียกว่า
    เป็นขบวนการวิวัฒนาการของสัตว์และมนุษย์ให้อยู่ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง
    การวิวัฒนาการของไก่เป็นไปตามวิถีชีวิตของมนุษย์เจ้าของซึ่งก็ขึ้นอยู่กับธรรมชาติ
    บางปีเกิดภัยธรรมชาติรุนแรง สัตว์เลี้ยงตายลง หรือมีโรคระบาดรุนแรง ไก่จะตายมากแต่ไม่ตายหมด จะมีเหลือให้ขยายพันธุ์จำนวนหนึ่ง ซึ่งโดยปกติแล้วจะ
    เหลือต่ำกว่า 10% ซึ่งจำนวนนี้จะขยายพันธุ์เพิ่มจำนวน ตัวที่แข็งแรงทนทานเท่านั้นจึงจะอยู่รอดจึงเป็นการคัดเลือกโดยธรรมชาติจนเป็นไก่พื้นเมืองสืบทอด
    มาให้เราได้ใช้ประโยชน์ถึงทุกวันนี้  ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นมรดกวัฒนธรรมและเทคโนโลยีชีวภาพที่หลากหลาย เป็นทรัพย์สินภูมิปัญญาของชาวบ้าน
    โดยแท้  ชาวบ้านจดจำและเข้าใจการอยู่ร่วมกันระหว่างคนและไก่พื้นเมืองควบคู่กันตลอดมา ส่วนใหญ่แล้วคนจะอาศัยไก่มากกว่าไก่อาศัยคน คือ ไก่สามารถ
    คุ้ยเขี่ยหากินเองได้ตามธรรมชาติ ส่วนคนเมื่อไม่มีอาหารและไม่มีเงินใช้เล็กๆ น้อยๆ ก็จะต้องอาศัยไก่เป็นผู้ให้
                 ดังนั้น ไก่พื้นเมืองจึงเป็นไก่ที่วิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงพันธุ์มาโดยอาศัยพื้นฐานของธรรมชาติเป็นหลัก จึงทำให้ไก่พื้นเมืองมีหลากหลาย
    สายพันธุ์ แต่ละพันธุ์ก็จะมีจุดเด่นเป็นคุณสมบัติเฉพาะตัว เข่น ความต้านทานโรคและแมลง สามารถเติบโตและขยายพันธุ์ภายใต้สภาพแวดล้อมการเลี้ยงดู
    ของเกษตรกรในชนบทโดยเฉพาะรายย่อย จึงเหมาะที่จะทำการอนุรักษ์และพัฒนาใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
     
         

         
      การอนุรักษ์และการพัฒนาไก่พื้นเมือง

                การอนุรักษ์ หมายถึง การรักษาดำรงไว้ซึ่งแหล่งพันธุกรรมไก่พื้นเมืองและรวมไปถึงการนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์แบบยั่งยืน คือ ใช้แล้วไม่หมดไป
    สูญหายไป ทั้งนี้เพราะไก่พื้นเมืองมีพันธุกรรมที่ดีในเรื่องรสชาดและความอร่อยเป็นคุณสมบัติเฉพาะ การอนุรักษ์แหล่งพันธุกรรมสัตว์โดยทั่วไปมี 2 แบบ
    คือ การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม และนอกถิ่นกำเนิด แต่การอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิม คืออยู่กับเกษตรกรโดยตรงจะเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด เพราะว่าจุดประสงค์ของการอนุรักษ์มุ่งเน้น เพิ่มรายได้เกษตรกรรายย่อย และการอนุรักษ์โดยวิธีนี้จะสามารถรักษาและดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายในด้าน
    แหล่งพันธุกรรมหรือสายพันธุ์ ลดความเสี่ยงต่อการสูญหาย เพราะไก่ในแต่ละครอบครัวของเกษตรกร จะมีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่แตกต่างกัน เช่น อัตรา
    การเจริญเติบโต ขนาดของลำตัว สีขน ความยาวของแข้ง หรืออวัยวะต่างๆ จะผันแปรไปตามสภาพแวดล้อม โดยไก่จะปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมอยู่เสมอ
    แต่เนื่องจาก การศึกษาและวิจัยประสบการณ์ของผู้รายงานนี้พบว่า การแสดงออกทางพันธุกรรมของไก่พื้นเมืองเห็นได้ชัดเจน เมื่อไก่นั้นอยู่ในสภาพ
    ธรรมชาติที่อาหารการกินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น ในช่วงที่อาหารขาดแคลน หรือคุณภาพอาหารไม่สมดุลจะเห็นว่าการเจริญเติบโตและการขยายพันธุ์จะ
    แปรปรวนเห็นได้ชัดจากที่ไม่สามารถขยายพันธุ์ไปจนถึงขยายพันธุ์ได้จำนวนมากมายภายใต้สภาพแวดล้อมอันเดียวกัน ซึ่งเป็นการปรับตัวเข้ากับสภาพ
    แวดล้อม และวิวัฒนาการไปตามการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติเศรษฐกิจและสังคม จึงนับได้ว่าการอนุรักษ์ในถิ่นกำเนิดเดิมจึงเป็นวิธีการอนุรักษ์ที่ถูกต้อง
    ที่สุด ได้รับการยอมรับสนับสนุนทั่วโลก
     
    ปัจจุบันไก่พื้นเมืองมีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไก่แจ้ ไก่อู ไก่ตะเภา ไก่เบตง และไก่ชน ส่วนใหญ่และไก่พื้นเมืองจะเป็นสายพันธุ์ไก่ชนสังเกตได้จากแม่ไก่จะมีขนดำ
    หน้าดำ และแข้งดำ หงอนหิน แต่จะมีแม่พันธุ์บางส่วนที่มีสีเทา สีทอง แต่หงอนก็ยังเป็นหงอนหิน ซึ่งเป็นลักษณะหงอนของไก่ชน เหตุที่เกษตรกรนิยมเลี้ยงไก่พื้นเมือง
    พันธุ์ไก่ชน เพราะว่าไก่ชนมีรูปร่างใหญ่และยาว เจริญเติบโตดี และแม่พันธุ์ก็ไข่ดก เนื่องจากนักผสมพันธุ์ไก่ชนได้คัดเลือกลักษณะดีเด่นไว้อย่างต่อเนื่องนับร้อยปีมาแล้ว
    เกษตกร เพื่อนบ้านจะขอซื้อขอยืมหรือขอไปขยายพันธุ์มากกว่าไก่พันธุ์อื่นๆ กรมปศุสัตว์ได้ทำการวิจัยผสมพันธุ์คัดพันธุ์ไก่พื้นเมืองมาตั้งแต่ ปีพ.ศ.2532 โดยเริ่มจาก
    สายพันธุ์ไก่ชน จาก 17 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่การปรับปรุงพันธุ์ไม่ได้เน้นในด้านการชนเก่ง แต่เน้นในด้านการเจริญเติบโต และไข่ดก เพื่อให้สามารถ
    ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว สำหรับไก่ชนไทยแท้สีขนแยกได้หลากหลาย ถึง 17 สีขน เช่น เหลืองหางขาว ประดู่หางดำ เหลืองเลา ประดู่เลา แสมดำ เป็นต้น


    สายพันธุ์เหลืองหางขาว
    ายพันธุ์เหลืองหางขาว
              เป็นสายพันธุ์ไก่ชน มีลักษณะ เด่นๆ คือ
              -  ปากสีขาวอมเหลือง หรือสีงาช้าง ปากสั้น อวบใหญ่คล้ายปากนกแก้ว และมีร่องน้ำชัดเจน กลางปากนูนเป็นสันข้างๆ เป็นร่องน้ำ
              -  ตาเป็นตาเหยี่ยว หัวตาแหลม ตาดำคว่ำ ตาดำเล็กและรี รอบๆ ตาตำสีขาวอมเหลือง
              -  หงอนหิน ด้านบนของหงอนบางเรียบ ปลายหงอนยาวเลยตา โคนหงอนโค้งติดกับศรีษะ
              -  ตุ้มหูสีแดงเดียวกับหงอนเล็ก ไม่หย่อนยานรัดกับใบหน้า เหนียงเล็กรัดติดคาง
              -   รูปใบหน้าแหลมยาว มีเนื้อแน่น ผิวหน้าเรียบเป็นมันกะโหลกศรีษะหนายาว
              -  ลักษณะลำตัวอกแน่น กลม มีเนื้อเต็ม กระดูกอกยาวตรง หลังเป็นแผ่นกว้างมีกล้ามเนื้อมาก
              -  หลังเรียบตรงไม่โค้งนูน ไหล่กว้างยกตั้งตรง คอใหญ่ กระดูกคอถึ่ ปั้นขาใหญ่ กล้ามเนื้อมาก เนื้อแน่น แข็งแรง ผิวหนังขาวอมเหลือง ขาวอมแดง
              -  สีขนลำตัวดำมีขาวแซมบ้างที่หัว หัวปีก ข้อขา สร้อยคอเหลืองชัดเจน ยาวประบ่า
              -  สร้อยหลังเป็นสีเดียวกับสร้อยคอเรียงกันเต็มแผ่นหลัง เริ่มจากโคนคอถึงโคนหาง เส้นขนละเอียดยาวเป็นระย้า สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอเรียงกันแน่นเต็มบริเวณหัวปีกถึงปีกชัย
            
              -  ขนหางกะลวยมีสีขาวพุ่มออกยาว เห็นเด่นชัดยิ่งขาวและยาวมากยิ่งดี ขนหางควรพุ่งตรงและยาว ปลายโค้งตกลงเล็กน้อย
              -  ขาแข้งมีเดือยขาวอมเหลืองสีเดียวกับปาก เกล็ดแข็งแน่นหนาเรียบ เดือยใหญ่แข็งแรง นิ้วยาว เล็บสีขาวอมเหลือง ไม่มีสีดำปน
              -  เพศเมียลำตัวสีดำ ปาก แข้ง หงอน และใบหน้าสีเดียวกับไก่เพศผู้

    สายพันธุ์ประดู่หางดำ

             -  เป็นสายพันธุ์ไก่ชน มีปากสีดำ อูมใหญ่ โดยปากจะคล้ายปากนกแก้ว ปากบนมีร่องน้ำทั้งสองข้าง ระหว่างร่องน้ำจะเป็นสันราง
             -  ตาสีประดู่ หรือแดงอมม่วง หรือตาออกสีดำ หรือสีแดง
             -  หงอนหินไม่มีจักเลย
             -  สร้อยคอสีประดู่ยาวประบ่า ปีกใหญ่ยาว สร้อยปีกสีเดียวกับสร้อยคอ สร้อยหลังสีประดู่ยาวระย้าประก้น
             -  ขนลำตัวขนปีกและหางสีดำ กะลวยหางดำ โคนขาใหญ่
             -  หน้าอกกว้าง และยาวเนื้อเต็มแน่น
             -  ขาแข้ง เล็บและเดียยสีดำ
             -  เพศเมียสีเดียวกับเพศผู้แต่ไม่มีสร้อย


    สายพันธุ์ประดู่หางดำ


    สายพันธุ์เขียวกา หรือเขียวหางดำ

    สายพันธุ์เขียวกาหรือเขียวหางดำ

             -  ลักษณะทั่วไปคล้ายๆ กับประดู่หางดำ ปากดำ
             -  หงอนหิน หน้าหงอนบางกลางหงอนสูง ท้ายหงอนจะตกกดกระหม่อม
             -  สร้อยคอหลังและสร้อยหางสีเขียว
             -  ขนปีกและลำตัวเขียว หางดำ
             -  แข้งดำ เล็บดำ


    • Update : 23/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch