หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เผยผลวิจัยมหาจุฬาฯ ชาวพุทธใส่บาตร-สวดมนต์น้อย

    "การทำบุญ" ถือเป็นการชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือ ความหลง

    กล่าวได้ว่า พระพุทธศาสนามีบทบาทต่อความเชื่อของคนในสังคมไทยมาเป็นเวลาช้านาน ดังนั้น คนไทยจึงมีความเชื่อและศรัทธาในพระพุทธศาสนา ในงานมงคลต่างๆ จะมีการทำบุญ เลี้ยงพระ เพื่อความเป็นสิริมงคล ต่อชีวิต อย่างเช่น งานทำบุญ เลี้ยงพระในวันขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

    แต่เมื่อกาลเวลาผ่านไป สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับสังคมไทยในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นปัญหาทางศีลธรรม

    อันเนื่องด้วยสังคมไทยไม่สามารถแก้ ปัญหาหลัก อันได้แก่ ความยากจนและความ อยุติธรรมในสังคม ช่องว่างระหว่างคนจน กับคนรวยมีระยะห่างมากขึ้น ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคม จนกลายเป็นวิกฤตการณ์ทาง ศีลธรรมที่บีบคั้นคนไทยมากขึ้น

    พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ (ประสาน จันทสาโร) รองอธิการบดีฝ่ายประชาสัมพันธ์และเผยแผ่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) ได้รวบรวมงานวิจัย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2553 เกี่ยวกับพฤติกรรมการทำบุญของพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะงานวิจัยเรื่องบทบาทของอุบาสกอุบาสิกาในการบำรุงพระพุทธศาสนา พบข้อมูลที่น่าสนใจหลายด้าน ดังนี้

    ด้านการปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างชาวพุทธทั่วประเทศจำนวน 310 ราย ให้ข้อมูลว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 30.66 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 54.26 ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.09

    ที่น่าสนใจ คือ หัวข้อการทำบุญตักบาตร พบว่า มีชาวพุทธไม่เคยทำบุญตักบาตรถึงร้อยละ 25.79 ปฏิบัติประจำ ร้อยละ 10.22 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 18.73 ปฏิบัติเฉพาะวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ร้อยละ 45.26

    สำหรับศีลข้อที่รักษายากที่สุด คือ ศีลข้อ 1 ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ตลอดจนการประทุษร้ายผู้อื่นให้เขาได้รับความเจ็บปวดและทรมาน ร้อยละ 31.39

    รองลงมาข้อ 5 ละเว้นจากการดื่มสุราของมึนเมา ร้อยละ 28.47

    เมื่อแยกรายละเอียดตามภูมิภาค กลุ่มตัวอย่าง ภาคเหนือ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 27.78 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 15.56 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 11.11 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 23.33 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 46.67 ไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 18.89 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 ร้อยละ 37.78 รองลงมาข้อ 1 ร้อยละ 28.98 กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 36.92 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 49.23 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 13.85 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 15.38 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 21.54 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 40 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 23.08 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 และข้อ 1 ร้อยละ 27.69 รองลงมา ข้อ 2 ร้อยละ 20

    กลุ่มภาคกลาง ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 34.44 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 56.67 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 8.89 การทำบุญตักบาตร ทำประจำ ร้อยละ 10 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ 14.44 เฉพาะวันสำคัญฯ ร้อยละ 52.22 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 23.33 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 5 ร้อยละ 27.78 รองลงมาข้อ 4 ร้อยละ 23.33

    กลุ่มภาคใต้ ระบุว่า เคยสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ ร้อยละ 24.24 เป็นบางครั้ง ร้อยละ 57.58 และไม่เคยปฏิบัติ ร้อยละ 18.18 การทำบุญตักบาตรประจำ ร้อยละ 4.55 เมื่อมีโอกาส ร้อยละ12.12 เฉพาะวันสำคัญฯร้อยละ 53.03 ไม่เคยปฏิบัติร้อยละ 30.30 ส่วนศีลข้อที่รักษายากที่สุด อันดับ 1 ข้อ 1 ร้อยละ 40.91 รองลงมาข้อ 2 ร้อยละ 24.24

    พระครูปลัดสุวัฒนจริยคุณ กล่าวว่า "ผลงานวิจัยที่มหาจุฬาฯ ได้รวบรวมเกี่ยวกับการปฏิบัติตนชาวพุทธนั้น สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของสังคมที่มีความเร่งรีบ ในขณะเดียวกันก็สะท้อนให้เห็นปัญหาสังคมที่มีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะการดื่มสุรา และการฆ่าสัตว์ หรือฆ่าคนด้วยกันเอง แต่ที่รู้สึกตกใจเห็นจะเป็นเรื่องของชาวพุทธบางส่วนไม่เคยทำบุญตักบาตร สวดมนต์ไหว้พระ ถึงแม้จะมีไม่มาก แต่ก็น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง"

    "หากต่อไปในอนาคตคนไม่ใส่บาตร พระสงฆ์ สามเณรก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น ในช่วงวันสำคัญอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา จึงอยากชวนชาวพุทธคนใดที่ไม่เคยใส่บาตรให้มาทำบุญสักครั้ง เพื่อช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา"

    ด้านนายอำนาจ บัวศิริ รอง ผอ.สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) กล่าวว่า ผลวิจัยที่พบชาวพุทธไม่เคยใส่บาตรและสวดมนต์ในสัดส่วนที่มากขึ้น น่าจะมาจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ 1.การนำเสนอข่าวพระที่ไม่น่าเลื่อมใส ส่งผลให้พุทธศาสนิกชนขาดศรัทธา เกิดความไม่แน่ใจว่า พระสงฆ์ที่ตนทำบุญเป็นพระจริงหรือพระปลอม แต่จะหันไปทำบุญบริจาคให้แก่สถานสงเคราะห์ หรือผู้ประสบภัยแทน

    2.การไม่สวดมนต์ เพราะปัจจุบันคนไม่เห็นความสำคัญของการสวดมนต์ มองว่าเป็นภาษาบาลีที่อ่านยากและไม่มีประโยชน์ ที่สำคัญนักเรียนในยุคปัจจุบันไม่มีการปลูกฝังให้รักการสวดมนต์ ซึ่งแตกต่างจากในอดีตที่ก่อนเข้าห้องเรียนทุกวันหน้าเสาธงจะต้องมีการสวดมนต์

    "สำหรับปัญหาในเรื่องนี้ สำนักงานพระพุทธฯ จะได้หารือกับ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อขอความร่วมมือประสานโรงเรียนทั่วประเทศรื้อฟื้นการสวดมนต์หน้าเสาธงกลับมาอีกครั้ง รวมทั้งให้แต่ละโรงเรียน ส่งเสริมให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการสวดมนต์และเข้าใจภาษาบาลี ผมคิดว่าจะเป็นการแก้ปัญหาคนไทยไม่สวดมนต์ได้ในระดับหนึ่ง"



    • Update : 21/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch