หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    พระราชรัตนรังษี รับบัญชา หน.ธรรมทูตอินเดีย-เนปาล

    หลังการมรณภาพของ "พระเทพโพธิวิเทศ" หรือ "หลวงพ่อทองยอด ภูริปาโล" เจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย และหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย ซึ่งถือเป็นพระธรรมทูตรุ่นบุกเบิกในประเทศอินเดีย ทำหน้าที่นำพระพุทธศาสนาคืนกลับสู่แดนพุทธภูมิ

    การเผยแผ่พระศาสนาในอินเดียแดนพุทธภูมิในยุคนั้น ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก ด้วยต้องต่อสู้กับลัทธิความเชื่อมากมายและการกลั่นแกล้งสารพัดของคนต่างศาสนา ที่บุกรุกแม้กระทั่งสังเวชนียสถาน แต่หลวงพ่อทองยอดไม่ท้อแท้ ยังคงสานงานเผยแผ่ในประเทศอินเดียอย่างมั่นคง จนทำให้พระพุทธศาสนาเติบโตในดินแดนภารตะเช่นทุกวันนี้

    การละสังขารของหลวงพ่อทองยอด จึงถือเป็นความสูญเสียปูชนียบุคคลในด้านพระธรรมทูตของคณะสงฆ์ไทย

    ดังนั้น ตำแหน่ง "หัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาล" ที่ว่างลง ผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งแทนพระเทพโพธิวิเทศ จึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

    ทั้งนี้ ในการประชุมมหาเถรสมาคม 15/2554 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2554 ที่ประชุมมหาเถรฯ ได้พิจารณาเห็นชอบแต่งตั้ง พระราชรัตนรังษี (วีรยุทธ วีรยุทโธ) อายุ 56 พรรษา 36 ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล สืบแทนพระเทพโพธิวิเทศ ที่มรณภาพ

    การแต่งตั้งดังกล่าว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535

    สำหรับ พระราชรัตนรังษี ก่อนได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล ท่านยังเป็นเจ้าอาวาสวัดไทยกุสินาราเฉลิมราชย์ และวัดไทย ลุมพินีประเทศเนปาล และยังเคยเป็นรองหัวหน้าพระธรรมทูตไทยสายอินเดีย-เนปาลอีกด้วย

    ถือเป็นพระเถระอีกรูปหนึ่ง ที่มีบทบาท สำคัญยิ่งในการนำพาพระพุทธศาสนากลับคืนสู่ดินแดนพุทธภูมิ ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปีของการทำหน้าที่พระธรรมทูตเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปในต่างประเทศ ทำให้พระราชรัตนรังษี ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับงานพระธรรมทูต ว่า

    "งานพระธรรมทูต คือ งานเผยแผ่พระ พุทธศาสนา ถ้าคนใจไม่รัก ใจไม่นำทาง ไม่ให้ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ใจเป็นหัวหน้า การเผยแผ่ก็ไม่มีทางขยับจับวางได้อย่างสนิทใจ คือ พิชิตความสำเร็จได้ยาก"

    เมื่อช่วงบ่ายวันที่ 13 กรกฎาคม 2554 ณ ตำหนักสมเด็จ วัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรู พ่าย กรุงเทพฯ พระราชรัตนรังษี ได้เข้าพิธีรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล มี สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นประธานมอบพระบัญชา

    โดย นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผอ. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้อ่านพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา ประเทศอินเดีย และหัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย-เนปาล

    จากนั้นเจ้าหน้าที่สำนักพุทธฯ เชิญพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช และตราตั้งถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ

    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ มอบพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชแต่งตั้งแด่พระราชรัตนรังษี ต่อมาพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พระราชรัตนรังษี เข้าถวายสักการะแด่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม แด่พระสงฆ์สมณศักดิ์ เจริญชัยมงคลคาถา เป็นอันเสร็จพิธี

    ในการนี้ ได้มีคณะสงฆ์และคณะศิษยานุศิษย์ของพระราชรัตนรังษี เข้าร่วมพิธีและอนุโมทนาเป็นจำนวนมาก อาทิ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี และภริยา, นายอภัย จันทนจุลกะ อดีต รมว.แรงงาน ในฐานะที่ปรึกษาสถาบันโพธิคยาวิชชาลัย 980 เป็นต้น

    พระราชรัตนรังษี กล่าวว่า หลังจากได้รับหน้าที่หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศ อินเดีย-เนปาล จะเดินทางไปอินเดียทันที เพื่อสานงานเดิมที่หลวงพ่อทองยอดดำเนินการค้างไว้ก่อนที่ท่านจะมรณภาพให้แล้วเสร็จทันที ทั้งนี้ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ฝากฝังให้อาตมาช่วยดูแลชาวพุทธไทยที่จะเดินทางไปกราบสังเวชนียสถานสำคัญ 4 แห่ง ทั้งในเรื่องการเดินทาง ที่พัก อาหาร และมัคคุเทศก์นำชม เพื่อให้ได้ความรู้และเกิดความซาบซึ้งในการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ได้เป็นอย่างดี



    • Update : 21/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch