|
|
ความเป็นมาของเบี้ยแก้ หลวงปู่รอด วัดนายโรง
สวัสดีครับ ท่านผู้อ่านที่รักทุกท่าน เครื่องรางของขลังที่เป็นประเภทเบี้ยแก้นี้ เบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด วัดนายโรง ถือว่าเป็นเบี้ยแก้ที่หายากมาก และเก่าแก่มากด้วยเช่นกัน หลวงปู่รอดท่านมีลูกศิษย์ลูกหามากมาย ในสมัยนั้นใครๆ ต่างก็ไปกราบขอเบี้ยแก้ของท่านกันไม่ขาดสาย เนื่องจากพุทธคุณของเบี้ยแก้ของหลวงปู่นั้นมีประสบ การณ์ต่างๆ มากมายครับ
ตามประวัติหลวงปู่รอดท่านเป็นชาวบ้านบางพรหม อำเภอตลิ่งชัน อุปสมบทที่วัดเงิน (วัดรัชฎาธิษฐาน) ในคลองบางพรหม ซึ่งเป็นสำนักวิปัสสนาที่มีชื่อลือเลื่องมากในสมัยนั้น ต่อมาย้ายมาจำพรรษาที่วัดนายโรงจนได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสองค์ที่สองของวัดนา
ยโรง ด้วยความที่ท่านมีความเชี่ยวชาญด้านวิปัสสนาธุระชั้นสูง อีกทั้งด้านพุทธาคมและเวทวิทยาคม ท่านจึงเป็นเถราจารย์ที่มีความสำคัญองค์หนึ่งในย่านคลองบางกอกน้อย และท่านก็ยังเป็นพระคณาจารย์ร่วมสมัยกับท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และหลวงปู่เอี่ยม วัดสะพานสูง หลวงปู่รอดท่านเป็นผู้สร้างและให้กำเนิดตำนานเบี้ยแก้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังและนับว่
าเป็นเลิศตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบัน
กรรมวิธีสร้างเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอด จากการบันทึกคำบอกเล่าของคุณยายชิต แย้มเมฆ ผู้เป็นหลานของหลวงแก้วอายัด อดีตคหบดีย่านบางบำหรุ มีบ้านเรือนอยู่ตรงข้ามวัดนายโรง มารดาของท่านก็คือ คุณยายเชื้อ แย้มเมฆ ผู้เป็นอุปัฏฐายิกาของหลวงปู่รอด และวัดนายโรง และตอนทำพิธีตัดจุกของท่านเมื่อปี พ.ศ.2451 มารดาของท่านก็ได้นิมนต์หลวงปู่รอดมาเป็นประธานในพิธี ต่อมาคุณยายชิตสนใจในเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดมากจึงรบเร้าให้มารดาพาไปขอเบี้ยแก้จากหล
วงปู่ จนมารดาของท่านต้องพาไป ในวันต่อมาได้พาไปหาซื้อวัสดุต่างๆ เพื่อไปถวายหลวงปู่เพื่อทำเบี้ยแก้ให้ ตัวเบี้ยก็ไปซื้อจากร้านเครื่องบวชนาคแถวสะพานหัน และปรอทซื้อจากร้านเครื่องยา สำหรับบรรจุในท้องเบี้ยตัวละหนักหนึ่งบาท และแผ่นตะกั่ว ส่วนชันโรงใต้ดินนั้น ได้ไปขอมาจากนายหมัด ชาวไทยมุสลิมผู้เป็นหลาน พระยากัลยาสูตร (กูบ) เดิมทีเดียวนายหมัดผู้นี้ไม่เคยสนใจอิทธิวัตถุใดๆ แต่คราวหนึ่งเกิดประสบคุณวิเศษของเบี้ยแก้วัดนายโรงด้วยตัวเอง มีความประทับใจและศรัทธาอย่างสูง และใช้ติดตัวตลอด อีกทั้งเป็นผู้ไปพบชันโรงใต้ดินรังใหญ่จึงสะสมไว้
เมื่อได้สิ่งของครบแล้วมารดาจึงพาลูกๆ ไปด้วยกัน 5 คน ไปกราบนมัสการหลวงปู่รอดพร้อมด้วยเครื่องสักการะคือพานดอกไม้ธูปเทียน และหมากพลู รวมทั้งเบี้ยพู 5 ตัวและอุปกรณ์ครบถ้วน มารดานำคลานไปกราบหลวงปู่ และขอให้หลวงปู่สร้างเบี้ยแก้ให้คนละตัว หลวงปู่ได้ถามคุณยายชิตว่า "อีหนูเอ็งก็อยากได้เบี้ยแก้กับเขาบ้างเหมือนกันหรือ เองจะเอาไปทำอะไรหือ?" คุณยายชิตก็ตอบตามประสาเด็กว่า "หนูจะเอาไปกันผีเจ้าค่ะ หนูกลัวผี" หลวงปู่ได้ฟังก็หัวเราะชอบใจ คุณยายชิตเล่าให้ฟังว่าเมื่อหลวงปู่รับประเคนพานดอกไม้ธูปเทียนแล้ว ท่านก็ได้พิจารณาตัวเบี้ยโดยละเอียดทีละตัว แล้วก็ตรวจดูสิ่งของว่าครบถ้วนหรือไม่ เมื่อเห็นว่าถูกต้องดีแล้วท่านก็นำพานไปตั้งบูชาไว้ที่หน้าพระพุทธรูป สวดมนต์บูชาคุณพระศรีรัตนตรัย แล้วทำสมาธิสงบนิ่งอยู่ครู่หนึ่ง แล้วจึงหยิบเบี้ยมาหงายท้องแล้วเทปรอท กรอกลงในตัวเบี้ยโดยไม่หกเลยแม้แต่น้อย แล้วจึงเอาชันโรงปิดใต้ท้องเบี้ย โดยใช้หัวแม่มือไล้จนทั่วท้องเบี้ย จากนั้นท่านก็เอาแผ่นตะกั่วมาหุ้มตัวเบี้ย หลวงปู่จะใช้ด้ามเหล็กจารคลึงรีดแผ่นตะกั่วจนเนียนเรียบ ร้อย แล้วท่านจึงลงเหล็กจารตัวอักขระบนแผ่นตะกั่วอีกทีหนึ่ง หลังจากนั้นท่านก็ได้ปลุกเสกตัวเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่ทำเช่นนี้จนครบห้าตัว และตลอดเวลาที่หลวงปู่ประกอบพิธี สังเกตได้ว่าหลวงปู่ท่านจะบริกรรมพระคาถาไปด้วยทุกขณะ
เมื่อเสร็จกรรมวิธีแล้วหลวงปู่จึงมอบเบี้ยให้ หลังจากนั้นมารดาของท่านก็ได้นำเบี้ยไปให้ลุงชมถักด้ายหุ้มเบี้ยให้ เพื่อนำไปลงรักปิดทองหรือลงยางมะพลับ ลุงชมผู้นี้เป็นหลานของพระอาจารย์หมาด ซึ่งเคยเป็นตัวละครของนายโรงกลับ ในสมัยนั้นใครได้เบี้ยจากหลวงปู่มาก็มักจะนำมาให้ลุงชมถักให้แทบทั้งนั้น เพราะฝีมือการถักของลุงชมประณีตงดงาม
ครับนี่ก็เป็นบันทึกการบอกเล่ากรรมวิธีการสร้างเบี้ยของหลวงปู่รอด จากคุณยายชิตผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ในสมัยนั้นครับ และในวันนี้ผมก็ได้นำรูปเบี้ยแก้ของหลวงปู่รอดวัดนายโรงมาให้ชมกันครับ
ที่มา หนังสือพิมพ์ข่าวสด
|
Update : 21/7/2554
|
|