หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงนกกระทาเนื้อ-3

    ก า ร เ ลี้ ย ง ดู แ ล ะ ก า ร ใ ห้ อ า ห า ร น ก ก ร ะ ท า

              :: การเลี้ยงดูลูกนกตั้งแต่แรกเกิด จนถึง 15 วัน ::

              เมื่อลูกนกฟักออกจากไข่หมดแล้ว สังเกตุ ดูเมื่อเห็นว่าขนแห้งดีแล้ว จึงค่อยนำออกมาจากตู้เกิด นำมาเลี้ยงในกรงกกลูกนก พื้นกรงควรปูรองด้วยกระสอบ ไม่ควร ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ หรือกระดาษถุงอาหารปูรองเพราะจะทำให้ลูกนกลื่นเกิดขาถ่างหรือขาพิการได้ โดยเฉลี่ยแล้วน้ำหนักตังลูกนกเมื่ออายุ 1 วันจะหนัก ประมาณ 6.75 - 7.0 กรัม

              นำลูกนกมาเลี้ยงในกรงกก เพื่อให้ความอบอุ่นจะใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 60 วัตต์แขวนไว้ในกรงกก ให้สูงจากพื้นประมาณ 30 ซม. แต่ถ้าสังเกตุว่าลูกนกหนาวควรจะเปลี่ยนหลอดไฟเป็นขนาด 100 วัตต์ หากใช้ตะเกียงก็ตั้งไว้บนพื้นกรง ปกติแล้วจะกกลูกนกเพียงแค่ 1 - 2 สัปดาห์เท่านั้น แต่ทั้งนี้ให้สังเกตุที่ตัวลูกนกและอุณหภูมิภายนอกด้วย

              
    การให้อาหาร จะใช้อาหารสำเร็จรูปเลี้ยงลูกนก หรือจะผสมอาหารเองก็ได้ โดยให้มีโปรตีนประมาณ 24 28 % หรือจะใช้อาหารไก่งวงก็ได้

               การให้น้ำ ใช้น้ำสะอาดใส่ในที่ให้น้ำ และใสกรวดเล็กๆ ลงในจานน้ำด้วย ในระยะ 3 - 7 วันแรกควรละลายพวกปฎิชีวนะผสมน้ำให้ลูกนกกิน จะช่วยให้เจริญเติบโตเร็วขึ้นและแข็งแรง ทั้งน้ำและอาหารจะต้องมีให้นกกินตลอดเวลา

               เมื่อลูกนกอายุได้ 1 สัปดาห์ ควรเปลี่ยนเอากระสอบที่ปูรองพื้นกรงแล้ว เอากระสอบใหม่ปูรอง หรือจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์หรือกระดาษถุงอาหารปูรองพื้นแทนก็ได้

               เมื่อลูกนกอายุได้ 10 วัน หรือ15 วัน ควรย้ายไปกรงนกรุ่นเพื่อไม่ให้แน่นเกินไปหากอากาศไม่หนาวเย็น ควรกกให้ไฟเฉพาะเวลากลางคืนเท่านั้นและเมื่อถึงอายุ 30 -35 วัน จึงย้ายเข้ากรงนกไข่ต่อไป

               ตามปกตินกจะมีขนงอกเต็มตัวเมื่ออายุ 3 - 4 สัปดาห์ และจะเป็นหนุ่มสาวเมื่อายุ 6 สัปดาห์

    ก า ร เ ลี้ ย ง น ก รุ่ น ตั้ ง แ ต่ อ า ยุ 1 5 - 3 5 วั น

               การให้อาหาร ใช้อาหารลูกนกตามเดิม แต่อย่าใส่อาหารจนเต็มราง ใส่เพียงครึ่งรางเท่านั้น และควรใช้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมวางวางบนรางอาหารเป็นการป้องกันมิให้นกคุ้ยเขี่ยอาหารหล่นออกมานอกราง

               การให้น้ำ ปฎิบัติเช่นเดียวกับการให้น้ำลูกนก ผิดกันแต่เพียงว่าไม่ต้องใส่ก้อนกรวดเล็กๆ ลงไปในจานน้ำอีกต่อไปแล้ว

              เมื่อลูกนกอายุได้ 3 สัปดาห์ หรือจะรอจนกว่าลูกนกอายุได้ 1 เดือนก็ได้จะต้องทำการคัดเพศ แยกลูกนกตัวผู้และตัวเมียเลี้ยงพวกละกรง สำหรับตัวผู้หากประสงค์จะเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงไว้ทำพันธุ์ก็คัดเลือกเอาตัวผู้ที่มีลักษณะดีไว้เท่านั้น พวกที่เหลือก็นำไปเลี้ยงขุนขายเป็นนกเนี้อต่อไป ส่วนนกตัวเมียหลังจากคัดเลือกเฉพาะตัวที่มีลักษณะดีแล้วควรจะทำการตัดปากเสียก่อน ที่จะนำไปเลี้ยงในกรงต่อไป โดยใส่นกจำนวน 50 - 75 ตัวต่อกรง ตามปกติแล้ว เมื่อลูกนกอายุ 2 เดือน จะมี น้ำหนัก 60 - 65 กรัม

    ก า ร คั ด เ ลื อ ก น ก ก ร ะ ท า

              โดยทั่วๆไปแล้ว การคัดเพศนกกระทานั้น ใช้วิธีสังเกตจากลักษณะภายนอกของนกกล่าวคือ สีของนกตัวผู้จะมีสีน้ำตาลแกมแดงเช่นกันซึ่งผู้รู้บางรายเรียกขนบริเวณแก้มนี้ว่าเครา นกตัวผู้ที่มีอายุ 30-40 วัน จะมีเสียงร้องขันด้วย ส่วนนกตัวเมีย ขนบริเวณคอสีไม่ค่อยเข้มหรืออาจมีสีน้ำตาลปนเทาและมีลายดำปนขาว

               ถ้าจะคัดเพศให้ได้ผลแน่นอน ให้ตรวจดูที่ช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวาร เมื่อปลิ้นช่องทวารหากสังเกตเห็นติ่งเล็กๆ นกตัวนั้นเป็นตัวผู้ ส่วนในตัวเมียจะเห็นช่องเปิดของปากท่อไว้ชัดเจน

    ก า ร เ ลี้ ย ง น ก ไ ข่ ( อ า ยุ 3 5 วั น ขึ้ น ไ ป )

              เมื่อนกอายุ 35 วันแล้ว ควรเปลี่ยนอาหารโดยให้อาหารที่มีโปรตีน ประมาณ 24 % เพื่อนกจะได้เจริญเติบโตเต็มที่มีขนเป็นมันเต็มตัว

              ให้นกได้กินอาหารและน้ำสะอาดตลอดเวลา ตามความต้องการ การให้อาหาร ควรใส่อาหารเพียงครึ่งราง จะช่วยลดการสูญเสียอาหาร เนื่องจากถูกคุ้ยเขี่ยหล่นได้

              หากนกได้กินอาหารที่จำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกจะจิกกันมากจะเห็นขนบนหลังนกเหลือประปราย

              โดยทั่วๆไปแล้ว หากนกได้กินอาหารที่มีจำนวนโปรตีนต่ำกว่า 24 % นกกระทาจะเริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 49 - 54 วัน และเมื่อเริ่มให้ไข่ฟองแรกนกจะมีน้ำหนักตัวประมาณ 120 - 140 กรัม ส่วนน้ำหนักฟองไข่ จะหนักประมาณ ฟองละ 9.6 - 10.4 กรัม

              นกกระทาจะไข่ดกที่สุดระหว่างอายุ 60 150 วัน นกกระทาบางตัว หใไข่ดกถึง 300 กว่าฟองต่อปี

              การเปลี่ยนอาหารสำหรับนกระยะให้ไข่ ไม่ควรเปลี่ยนกะทัน เพราะจะทำให้กระทบกระเทือนต่อการให้ไข่

              พึงระมัดระวังอย่าให้มีลมโกรกมากเกินไป ควรให้แสงสว่างในเวลากลางคืนโดยมีแสงสว่าง ประมาณ 1 - 5 แรงเทียน ต่อตารางฟุต และความยาวของช่วงแสงไม่น้อยกว่า 14 ช.ม./วัน โดยแสงจะต้องกระจายทั่วไป อย่างสม่ำเสมอ อย่าให้มีเงามืดบังทับรางน้ำรางอาหาร

    ก า ร เ ลี้ ย ง น ก เ นื้ อ

              นกตัวผู้ที่เหลือจากการคัดเลือกไว้ทำพันธุ์ เมื่ออายุ 30 วัน แล้วนำมาเลี้ยง รวมกันในกรงนกรุ่น โดยใส่กรงละประมาณ 150 - 200 ตัว ให้อาหารไก่กระทงสำเร็จรูปก็ได้ เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 40 -50 วัน ก็จับขายได้ นอกจากนี้นกตัวเมีย ที่ให้ไข่ไม่คุ้มทุนก็นำมาขุนขายได้

    ก า ร ผ ส ม พั น ธุ์ น ก ก ร ะ ท า

              นกกระทาตัวผู้และตัวเมีย ที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์นั้นจะต้องคัดเลือกตัวที่มีลักษณะดี เช่น ตัวผู้จะต้องเป็นนกที่มีความเจริญ เติบโตเร็ว แข็งแรงมีลักษณะสมกับเป็นพ่อพันธุ์ ส่วนตัวเมียก็ต้องเป็นนกที่มีการเจริญเติบโตเร็วแข็งแรง เช่นกัน และเมื่อเริ่มเป็นสาวจะพบว่า ส่วนท้องติดก้นมีลักษณะใหญ่ ทั้งนกตัวผู้และนกตัวเมียที่จะนำมาใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์จะต้องมีอายุอยู่ระหว่าง 50 -70 วัน

              ในการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้ผลดี ควรระวังอย่าให้มีการผสมเลือดชิดกันจนเกินไป เพราะจะทำให้ลูกนกที่เกิดมาพิการ หรือเปอร์เซ็นการฟักออกเป็นตัวจะลดน้อยลงควรจะให้วิธีผสมเลือดห่างๆ หรือผสมข้ามพันธุ์ เพื่อจะได้รักษาพันธุ์ไว้ได้ต่อไป

              อัตราส่วนของพ่อพันธุ์ ควรใช้พ่อพันธุ์ 1 ตัว ต่อแม่พันธุ์ 2 ตัว เพื่อจะได้ไข่ฟักที่มีเชื้อดี หรือหากจำเป็นไม่ควรใช้พ่อพันธุ์ หนึ่งตัวต่อแม่พันธุ์เกิน 3 ตัว

              โดยทั่วไปแล้วเมื่อแม่พันธุ์นกได้รับการผสมพันธุ์ จากพ่อพันธุ์แล้ว ไข่จะ เริ่มมีเชื้อเมื่อวันที่ สอง และจะมีเชื่อต่อไปถึง 6 วัน แต่ไม่เกิน 10 วัน หลังจากแยกตัวผู้ออกแล้ว แต่ถ้าจะให้แน่ใจควรจะเก็บไข่ฟักเมื่อแม่นกได้รับการผสมไปแล้ว 5 วัน และไม่เกิน 7 วัน หลังจากแยกพ่อพันธุ์ออกแล้ว

              การมีเชื้อของไข่ มักจะเริ่มลดลง เมื่อ พ่อ- แม่พันธุ์ อายุมากกว่า 8 เดือน แม่พันธุ์อายุมากก็ยังมีไข่ฟักออกลดลง การให้พ่อพันธุ์อยู่ด้วยกันตลอดเวลา จะให้ไข่มีเชื้อสูงกว่า และถ้าเอาตัวผู้อยู่ร่วมกับตัวเมีย ก่อนเป็นหนุ่มสาว จะลดนิสัยจิกรังแกกัน

    โ ร ค แ ล ะ ก า ร ป้ อ ง กั น รั ก ษ า

              วิธีป้องกันรัษาโรคต่างๆ ก็คล้ายคลึงกับไก่และเป็ด ซึ่งต้องอาศัยหลักและวิธีการปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ให้เชื้อแพร่เข้ามา และต้องมีการรักษาสุขภาพอนามัยตลอดการ วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการป้องกันเชื้อโรค สำหรับนกที่มาจากภายนอกฟาร์มควรกักไว้ต่างหากสักระยะหนึ่งก่อนที่จะเข้ามารวมกับนกในฝูง เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่เป็นการนำโรคจากภายนอกเข้ามาในฝูง


              1.ความแข็งแรงและสุขภาพของนก

                   ลูกนกเจ็บไข้ได้ป่วยง่ายกว่านกใหญ่ ตามธรรมดาลูกนกเหล่านี้จะฟักและเลี้ยงรวมกันมากตัว ฉะนั้นจึงมีโอกาสจะแพร่เชื่อติดต่อโรคต่างๆได้ง่าย

      หลักการรักษาความปลอดภัยในเรื่องโรค ควรมีดังนี้
      1. ควรซื้อไข่หรือนกจากฟาร์มที่แยกอยู่เดี่ยวโดด และห่างจากฟาร์มสัตว์ปีกต่าง
      2. ควรจะหาซื้อนกจากแหล่งที่แน่ใจว่าปลอดโรคติดต่อต่างๆ โดยมีบันทึกหรือหนังสือรับรองการให้วัคซีนต่างๆ และการใช้ยาป้องกันโรคต่างๆในระหว่างการเลี้ยงดูนกนั้นๆ
      3. ควรหาซื้อนกจากฝูงที่มไมีโรคติดต่อ หรือพญาธิต่างๆ
      4. ต้องมีการดำเนินการทำวัคซีนตามกำหนดเวลา เพื่อป้องกันโรค
      5. ไม่ควรใช้ไข่ฟักจากฝูงที่กำลังป่วย
      6. ควรซื้อหาเฉพาะไข่ฟักหรือลูกนกจากฝูงที่ได้ตรวจและปอดโรคขี้ขาว
      7. ควรตรวจตราฝูงนกและตู้ไข่บ่อยๆ เพื่อรักษาความสะอาด และป้องกันโรคระบาด

     

              2.โรคของนกกระทา

                   โรคที่เกิดกับนกกระทาคล้ายคลึงกับในไก่ แต่นกกระทามีความต้านทานต่อโรคมากกว่าไก่ และถ้าดูแลดีจะไม่ปรากฎว่าล้มตายมากเลยมีโรคหลายโรคที่แพร่ติดต่อมาจากแม่นกถึงไข่ ทำให้ตัวอ่อนในไข่ได้รับภัยจากเชื้อโรคในระหว่างการฟักไข่ อาทิ เช่น จำพวกซัลโมเนลล่า เชื้อพวกมัยโคพลาสมา ไวรัสของโรคไข้สมองอักเสบ พวก lymphoid leukosis เชื้อโรคหลอดลมอักเสบ เชื้อโรคนิวคาสเซิล สำหรับโรคที่เกิดกับนกกระทาทั้งที่ติดต่อและไม่ติดต่อเท่าที่พบแล้วในบ้านเราได้แก่ โรคนิวคลาสเซิล ฝีดาษ หวัดมีเชื้อ บิดมีเลือด มาเร็กซ์ เป็นต้น นอกจากนี้พยาธิต่างๆ ที่พบในไก่ก็อาจพบในนกกระทาได้ในปัจจุบัน มีกพบการ ระบาดของโรคนวคลาสเซิลในนกกระทา แต่การตายจะไม่รุนแรง เหมือนในไก่


              3. การป้องกันโรค

                   เช่นเดียวกับในไก่ การป้องกันโรคเป็นวิธีที่ดีกว่าการรักษาวิธีป้องกันโรคต่างๆ ของนกกระทานี้ก็เหมือนกับของสัตวืปีกอื่นๆ ซึ่งต้องอาศัยหลักการและวิธีปฎิบัติต่างๆ ทั้งการระวังไม่ใช้เชื้อโรคแพร่เข้ามา และการรักษาสุขภาพ อนามัยตลอดเวลา วิธีการเหล่านี้มีผลโดยตรงต่อการสกัดกัน้การแพร่ของเชื้อโรค ด้วยเหตุนี้การมีฝูงนกที่ไม่มีโรคติดต่อ จึงมีความ สำคัญเป็นอันดับแรก ไม่ควรลืมว่าทางแพร่ของโรคมีได้หลายางทั้งอาจเห็นได้และที่แอบแฝงมา ปัจจุบันมีวิธีตรวจหาโรคติดต่อที่สำคัญๆ เพือ่หาทางการตรวจตราไข่ และลูกนก ควรกักนกที่ส่งมาจากภายนอก โดยขังแยกต่างหากจากนกและสัตว์อื่นไว้สัก 2 สัปดาห์ ก่อนที่จะเอาเข้ามารมกับนกในฝูง ให้อาหารและเลี้ยงดูเช่นเดียวกับนกที่เลี้ยวไว้ต่อไป ควรหมั่นสังเกตตัวนก ตรวจดูอาการของโรคทุกวัน เมื่อพบอาการของโรคก็ควรจะรีบนำไปวินิจฉัยให้รู้แน่นอน นกที่เหลือหากมีอาการไม่ดีควรทำลาย กรงและอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้กับนกใหญ่ควรทำความสะอาด และฉีดล้างด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค


              4. การป้องกันศัตรูพวกนกหนูและแมลงต่างๆ

                   ศัตรูพวกนี้อาจเป็นสื่อนำโรคต่างๆ อย่างน้อยก็มาแย่งอาหารนก และเพิ่มความสกปรกให้แก่บริเวณที่มันเข้าถึง แมลงสาบ แมลงต่างๆ หนูที่หลุดเข้าไปหรือที่มีในธรรมชาติ นกที่มีอยู่ในธรรมชาติ และศัตรูต่างๆ จำพวกนี้เป็นภัย ต่อการดำเนินการและความปกติสุขของนก การป้องกันควรเริ่ม ตั้งแต่ก่อนย้ายเข้าอาคาร หรือเรือนโรงใหม่ โดยการสำรวจอุดรูโหว่ต่างๆ ขจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ใช้ยาฆ่าแมลงฉีด ใช้กับดัก รวมทั้งกวดขันการรักษาความสะอาดในการขจัดสิ่งรกรุงรังต่างๆ ทั้งนี้การใช้ยา ปราบศัตรูเหล่านี้ ควรให้อยุ่ในความควบคุมของผู้ที่รู้หรือเข้าใจใช้


    • Update : 20/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch