|
|
การเลี้ยงสุกร-7
การฉีดยาและการจับสุกรตัวโตฉีดยา |
การฉีดยาในที่นี่ จะกล่าวถึงเน้นเฉพาะการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ และฉีดยาเข้าใต้ผิวหนังเท่านั้น การฉีดยาหรือฉีดวัคซีนในสุกรตัวเล็กคงจะไม่มีปัญหา เพราะสามารถจับสุกรได้ง่าย ส่วนสุกรตัวโตคงจะต้องมีวิธีการจับสุกรให้ยืนนิ่ง เพื่อสะดวกในการฉีดยา
1. การฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อ (Intramuscular injection) |
|
ตำแหน่งที่ฉีดยา สุกรตัวโตฉีดตรงกล้ามเนื้อบริเวณคอ ห่างจากโคนหูประมาณ 2 นิ้ว ใช้เข็มเบอร์ 18 ยาว 1.5 นิ้ว โดยแทงเข็มในลักษณะตั้งฉากกับจุดที่แทงเข็ม สุกรตัวเล็กควรฉีดที่บริเวณกล้ามเนื้อขาหลังด้านในโดยใช้เข็มขนาดและความยาวลดลงตามขนาดสุกร |
|
การฉีดยาเข้าใต้ผิวหนัง (Subcutaneous ingection) |
ตำแหน่งที่ฉีด นิยมฉีดใต้ผิวหนังห่างจากโคนหูประมาณ 2-3 นิ้ว โดยดึงหนังขึ้นแทงเข็มให้ผ่านชั้นผิวหนังเข้าไปในระหว่างชั้นผิวหนังกับชั้นกล้ามเนื้อ โดยแทงเข็มเฉียง ๆ ต้องใช้เข็มที่แหลมคม ตำแหน่งที่ฉีดอื่น ๆ เช่น บริเวณกึ่งกลางของขาหน้า โดยแทงเข็มขนานกับลำตัว หรือฉีดตรงบริเวณซอกรักแร้ขาหน้าก็ได้ เข็มควรมีความคมมาก |
การจับสุกรตัวโตฉีดยา |
ใช้เชือกหรือลวดผูกปาก โดยทำเป็นบ่วงรัดเหนือเขี้ยวในปากสุกร รัดเชือกให้แน่น นำปลายเชือกอีกด้านหนึ่งไปผูกไว้กับเสา ปกติธรรมชาติของสุกรเมื่อโดนเชือกผูกปากสุกรจะถอยหลังเต็มที่ ทำให้สามารถจับสุกรฉีดยาได้ง่าย |
เพื่อป้องกันสุกรตายในระหว่างขนย้ายให้ควรปฏิบัติ ดังนี้
การเตรียมรถยนต์ ปูพื้นรถยนต์ด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง หรือต้นกล้วยหรือดินทราย เพื่อป้องกันสุกรลื่น ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควรจัดเตรียมกรง ถ้าขนย้ายสุกรจำนวนมากให้จัดเตรียมแผงกั้นเป็นล็อค เพื่อป้องกันสุกรไหลทับกันตาย และต้องมีแผงกั้นท้ายรถยนต์ด้วย รถยนต์ต้องมีหลังคาผ้าใบหรือตาข่ายกรองแสง เพื่อป้องกันแดดและฝน
การจัดการสุกรเมื่อขึ้นรถยนต์แล้ว ในระหว่างการเคลื่อนย้ายระวังอย่าให้สุกรร้อน ควรฉีดน้ำให้สุกรเมื่อขึ้นรถยนต์ให้ชุ่มทั้งตัว หรือใช้น้ำแข็งก้อนใหญ่ (เป็นมือ) ทุบ วางบนฟางพื้นรถยนต์เพื่อช่วยทำให้เย็นขึ้นและให้สุกรเลียเพื่อลดความเครียด ขณะเดินทางไม่ควรหยุดพักรถยนต์โดยไม่จำเป็น ถ้าสังเกตุดูว่าสุกรมีอาการบ่งบอกว่าร้อน เช่น หายใจหอบ ให้แวะฉีดน้ำให้แก่สุกร โดยราดน้ำที่บริเวณหัวสุกรก่อน จากนั้นจึงราดบริเวณลำตัว และควรเลือกเดินทางในขณะที่อากาศเย็นสบาย ไม่ร้อนมากนัก เช่น ตอนบ่ายใกล้ค่ำ หรือตอนกลางคืน เป็นต้น
การจัดการเมื่อสุกรถึงปลายทาง เมื่อถึงฟาร์มปลายทางหลังจากนำสุกรลงจากรถแล้ว ควรให้สุกรพักผ่อนสักระยะหนึ่ง ไม่ควรรีบร้อนให้น้ำและอาหารทันที จากนั้นให้หาน้ำสะอาดให้กิน ควรละลายเกลือแร่ (อีเลคโตรไลท์) หรือวิตามินกับน้ำสะอาดให้สุกรกินในช่วง 3-5 วันแรก และให้ทำการกักโรคสุกรโดยแยกสุกรเลี้ยงต่างหาก เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 วัน (ในกรณีที่สามารถปฏิบัติได้) |
ตารางแสดงน้ำหนัก อัตราการเจริญเติบโต ปริมาณอาหารของสุกรขุน
อายุของสุกร
(วัน) |
น้ำหนักสุกร
(กิโลกรัม) |
อัตราการเจริญเติบโต
(กรัม/วัน) |
ประสิทธิภาพ
การใช้อาหารสมทบ |
อาหารที่กิน/ตัว/วัน
(กิโลกรัม) |
ปริมาณอาหารสมทบ
(กิโลกรัม) |
30 |
6.5 |
150 |
- |
0.30 |
0.4 |
42 |
9.0 |
330 |
1.5 |
0.50 |
5.0 |
60 |
15.0 |
500 |
1.6 |
1.0 |
15.0 |
70 |
22.0 |
600 |
1.8 |
1.4 |
27.0 |
82 |
30.0 |
650 |
2.2 |
1.5 |
45.0 |
94 |
40.0 |
700 |
2.3 |
2.0 |
67.0 |
106 |
50.0 |
720 |
2.3 |
2.2 |
90.0 |
120 |
60.0 |
750 |
2.4 |
2.4 |
125 |
133 |
70.0 |
780 |
2.5 |
2.6 |
155 |
145 |
80.0 |
800 |
2.6 |
2.8 |
190 |
158 |
90.0 |
800 |
30. |
3.0 |
225 |
170 |
100.0 |
800 |
3.0 |
3.0 |
260 |
ตารางการทำวัคซีนป้องกันโรคสำหรับสุกรพันธุ์
อายุสุกร |
ชนิดของวัคซีน |
ขนาดและวิธีใช้ |
หมายเหตุ |
6 สัปดาห์ |
อหิวาต์สุกร |
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อตัวละ 1 ซีซี. |
ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 6 เดือน และเมื่อละลายวัคซีนแล้ว ใช้ให้หมดภายใน 1 ชั่วโมง |
7 สัปดาห์ |
ปากและเท้าเปื่อย |
ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง |
ต่อไปให้ฉีดวัคซีนป้องกันทุก ๆ 4 เดือน |
|
Update : 15/7/2554
|
|