หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงสุกร-6
    การสุขาภิบาล การป้องกันโรค และโรคติดต่อ
             การสุขาภิบาล     หมายถึง   การจัดการเพื่อให้สัตว์อยู่อย่างสบาย ปลอดภัยจากเชื้อโรคต่าง ๆ การทำคอกให้สะอาด การให้อาหารที่ดี และการจัดการที่เป็น ประโยชน์ต่อการผลิตสุกร
             การทำความสะอาดคอกสุกร ควรทำความสะอาดคอกสุกรทุกวัน (โดยการกวาดแห้งด้วยไมักวาด ตักเอามูลสุกรออก) และล้างคอกด้วยน้ำอย่าง น้อยสัปดาห์ละครั้ง ควรล้างคอกด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคเดือนละครั้ง นอกจากนี้ควรทำบ่อเก็บมูลสุกร เพื่อป้องกันกลิ่นและของเสียจากมูลสุกรไปรบกวน เพื่อนบ้าน

    วิธีการป้องกันกำจัดกลิ่น และของเสียจากฟาร์มสุกร
             เนื่องจากปัญหามลภาวะกลิ่นมูลสุกรจากฟาร์มสุกร ไปรบกวนชาวบ้านใกล้เคียงให้รำคาญ ตลอดจนการระบายน้ำเสียจากฟาร์มสุกรลงสู่แม่น้ำ ดังนั้น ผู้เลี้ยงสุกรควรจะต้องคำนึงถึงการป้องกันกำจัดกลิ่น และการเก็บของเสียจากฟาร์มสุกร ซึ่งมีข้อเสนอแนะในการจัดการ ดังนี้
             1. บ่อไอโอแก๊ส ฟาร์มเลี้ยงสุกรขนาดใหญ่เลี้ยงสุกรหนึ่งพันตัวขึ้นไป ควรสร้างบ่อไอโอแก๊ส เพื่อเก็บมูลสุกร และนำพลังงานจากบ่อไอโอแก๊ส ซึ่งอยู่ ในรูปของแก๊สเปลี่ยนเป็นเป็นพลังงานไฟฟ้า ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานในฟาร์มสุกร หรือนำแก๊สที่ได้ไปใช้ในการประกอบอาหารและกกลูกสุกร เป็นต้น
            2. บ่อกำจัดน้ำเสีย
    การทำฟาร์มสุกรควรมีการจัดทำบ่อบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะฟาร์มสุกรที่เลี้ยงสุกรใกล้กับแม่น้ำ บ่อบำบัดน้ำเสียประกอบไปด้วยบ่อตกตะกอน บ่อหมักและบ่อผึ่ง น้ำล้างคอกสุกรที่ผ่านการบำบัดแล้ว จะลดความสกปรกลงและลดกลิ่นเน่าเหม็นของมูลสุกร
    บ่อบำบัดน้ำเสีย

           3. บ่อเกรอะ ในฟาร์มสุกรของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่สามารถสร้างบ่อไบโอแก๊สหรือบ่อบำบัดน้ำเสีย ควรสร้างบ่อเกรอะไว้เก็บมูลสุกร ขนาดของบ่อ เกรอะขึ้นอยู่กับจำนวนสุกรที่เลี้ยง ลักษณะของบ่อเกรอะก็เหมือนกันส้วมซึมที่ใช้ตามบ้านคน ประกอบด้วย 2 บ่อ บ่อแรกจะเป็นบ่อตกตะกอน ของแข็งจะตก ตะกอนลงที่บ่อแรก ส่วนที่เป็นของเหลวจะไหลต่ออกไปยังบ่อที่สองและของเหลวจากบ่อที่สองจะซึมลงไปในดินหรือต่อท่อระบายสู่ข้างนอกต่อไป ของเหลวที่ระบายออกไปก็จะได้รับการบำบัดบ้างแล้ว
             4. การใช้สารจุลินทรียเช่น สารอี.เอ็ม (Effective Microorganisms) ราดพ่นตามโรงเรือน ตามกองมูลสุกร หรือราดตามบ่อน้ำเสียที่รองรับมูลสุกร สารอี.เอ็ม จะช่วยในการลดกลิ่นในฟาร์มสุกร (สารอี.เอ็ม นี้เท่าที่ทราบสามารถติดต่อขอซื้อได้ในราคาถูก ที่ศูนย์โยเร ต.ทับกวาง อ.แก่งคอย จ.สระบุรี) สารอี.เอ็ม มีวิธี

    โรคที่สำคัญในสุกร
    โรคอหิวาต์สุกร เป็นโรคที่ระบาดรุนแรง เกิดจากเชื้อไวรัส พบว่าเป็นได้กับสุกรทุกอายุ เมื่อเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหาร กินน้ำ หายใจ หรือโดยทางบาดแผลที่ ผิวหนัง ใช้เวลาฟักตัว 3 วัน ถึง 3 สัปดาห์ แต่โดยทั่วไปประมาณ 7 วัน อาการที่พบคือ มีไข้สูง 105-108 องศาฟาเรนไฮต์ สุกรจะเบื่ออาหาร ซึม เยื่อตาอักเสบ (มีขี้ตา) ท้องผูก (ขี้เป็นเม็ด) และท้องร่วง (ขี้เป็นน้ำ) อาจพบอาการอาเจียนร่วมด้วย ผิวหนังบริเวณ หู คอ ท้อง และด้านในของขาหนีบ จะพบจุดเลือดออกเล็ก ๆ ทำให้ผิวหนังมีสีแดง และต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง ในแม่สุกรท้องอาจจะเกิดการแท้งลูก ติดต่อจากสุกรตัวหนึ่งไปยังตัวอื่น ได้รวดเร็วมาก ภายใน 7 วัน อาจเกิดโรคอหิวาต์ได้ทั้งฟาร์มเมื่อสุกรเป็นโรคอหิวาต์แล้ว อัตราการตายสูงถึง 90% และไม่มีทางรักษา
    การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 6 สัปดาห์ และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ควรทำวัคซีนทุก 6 เดือน ห้ามทำวัคซีนกับสุกรที่อ่อนแอหรือ สัตว์ป่วย หรือในสุกรตั้งท้องแก่ใกล้คลอด
    โรคปากและเท้าเปื่อย
    เป็นโรคติดต่อที่รุนแรง ติดต่อได้อย่างรวดเร็วในสัตว์กีบคู่ (โค, กระบือ , แพะ ,แกะ, สุกร) โรคนี้เป็นได้กับสุกรทุกอายุ อัตราการเกิดโรคสูง แต่อัตราการตายต่ำ เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งในเมืองไทยขณะนี่พบอยู่ 3 ชนิด คือ โอ เอ และเอเชียวัน (ชนิดโอรุนแรงที่สุด) เมื่อเชื้อ โรคเข้าสู่ร่างกายสุกรแล้วจะใช้เวลาในการฟักโรคประมาณ 3-6 วัน สุกรจะเริ่มแสดงอาการป่วยออกมาให้เห็น อาหารที่พบได้คือ มีตุ่มน้ำใสที่บริเวณ ปลายจมูก ปาก ลิ้น ริมฝีปาก เหงือก และผิวหนังบริเวณไรกีบ ต่อมาตุ่มน้ำใสจะแตก นอกจากนี้ยังพบอาการไข้สูง เบื่ออาหาร น้ำลายยืด ขาเจ็บ กีบลอกหลุด และน้ำหนักลด
    การป้องกัน ทำวัคซีนเมื่อลูกสุกรอายุประมาณ 7 สัปดาห์ และทำวัคซีนอีกครั้ง ในอีก 2 สัปดาห์ต่อมา และสำหรับสุกรพ่อแม่พันธุ์ ทำวัคซีนทุก ๆ 4-6 เดือน
          นอกจากนี้ก็มีโรคติดต่อในสุกรชนิดอื่นซื่งมีความสำคัญ ต้องอาศัยวิธีป้องกันโรค เช่น โรคพิษสุนัขบ้า โรคโพรงจมูกอักเสบ โรค ที.จี.อี. ( โรคกระเพาะอาหารและลำไส้อักเสบติดต่อ) โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไฟลามทุ่ง เป็นต้น

    การใช้ยาและการรักษาสุกร
            การใช้ยาป้องกันและรักษาสุกรเจ็บป่วยในการป้องกันและรักษาสุกรเจ็บป่วยด้วยยาชนิดต่างๆ เป็นเรื่องละเอียดและจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงพอสังเขปเท่านั้น
    1. ยาปฏิชีวนะ เป็นสารที่สกัดจากจุลชีพบางชนิด ซึ่งสามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อโรค หรือทำให้เชื้อโรคนั้น ๆ ถูกทำลายได้ ยาปฏิชีวนะ ใช้ในการป้องกันและรักษาโรค เช่น โรคปอดบวม หลอดลมอักเสบ การอักเสบต่าง ๆ มีแผลหนอง โรคทางเดินอาหาร โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มดลูกอักเสบ โลหิตเป็นพิษ เป็นต้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น เพนนิซิลิน สเตรปโตมัยซิน เพนสเตรปโตมัยซิน แอมพิซิลิน กาน่ามัยซิน เทตร้าไซคลีน อ็อกซี่เทตร้า คลอเทตร้าไซคลีน นีโอมัยซิน ลินโคสเปคโตมัยซิน เป็นต้น
    2.ยาซัลฟา เป็นยาที่สังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อใช้ป้องกันและรักษาโรค ยาในกลุ่มนี้ เช่น สโตรเมซ ไบรีน่า ไตรซัลฟาน ไตรเวทตริน เวซูลอง ซัลเมท ซัลฟาเมอราซีน ซัลฟาควิน็อกซาลีน ซัลฟาเมทาซีน ซัลฟาไดอาซีน ซัลฟานิลาไมต์ ซัลฟาไทอาโซน เป็นต้น
    3.ยาบำรุง ส่วนใหญ่เป็นยาเข้าในรูปฟอสฟอรัส แคลเซี่ยม แมกนีเซียม น้ำตาลกลูโคส ตลอดจนวิตามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกาย ช่วยกระตุ้น ให้การดุดซึมของระบบการย่อยอาหารให้ดีขึ้น ยาในกลุ่มนี้ เช่น โทโนฟอสฟาน อาริซิล คาโตซาล ไวตาเล็กซ์ อมิโนไลท์ คาลมาเด็ก (แคลเซียมโบโรกลูโคเนท) ไวตามินเอ ชนิดฉีด วิตามินบี - คอมเพล็กซ์ มัลติวิตามิน เป็นต้น
    4.ยาฆ่าเชื้อโรค ใช้ล้างคอกโดยทั่วไป เช่น ไอซาล ซานิตัสเซฟล่อน ไอโอดีน ฟอร์มาลีน จุนสี น้ำยาไลโซน โซดาไฟ คลอรีน ปูนขาว วันคลีน แบทเทิลส์ ไบโอเทน ไบโอซึฃิค ไบโอคลีน ฟาร์มฟลูอิดเอส เป็นต้น ซึ่งมีวิธีการและข้อจำกัดในการใช้แตกต่างกัน ควรศึกษาให้เข้าใจก่อนใช้งาน
    5. ยาฆ่าพยาธิภายนอก ใช้ฆ่าพวกเห็บ ไร ขี้เรื้อน ขี้เรื้อนแห้งในสุกร เช่น เอ็นโก้ เย็นโก้ ไฟสเปรย์ มาลาเฟช มาลาไธออน เซฟวินส์ เยอร์เม็ก อาซุนโทน เนกูวอน ยาฉีดไอโวเม็ก โพเร็ค เป็นต้น
    6. ยาถ่ายพยาธิ ยาฆ่าพยาธิในลำไส้ของสัตว์ที่ใช้กันมากที่สุด คือ ตัวยาปิพเพอร์ราซีน คาร์บอนเตตราคลอไรด์ ไพแรนเทลทาร์เทรด ไทอะเบนดาโซล เป็นต้น ชื่อการค้าได้แก่ เวอร์บาน ดาวซีน ฮอกโทซาน วอร์ม-เอ็กซ์ แบนมินซ์ ไอโวเม็ก (สำหรับฉีด) เลมิโซล 10% เลวาไซด์ ลีวาลิน 10% เป็นต้น
    7. ยาที่ใช้กรอกปากลูกสุกร เพื่อป้องกันและรักษาลูกสุกรท้องเสีย เช่น ฟาร์โมซินป้ายลื้น (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาคลอเทตร้าไซคลีน ไฮโดรคลอไรด์) โคไล-การ์ด (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาสเตรปโตมัยซินซัลเฟต ซัลฟาไธอาโซน อะโทรฟีนซัลเฟต) ไดอะตรีมชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาไตรเมโธปรีมซัลฟาไดอาซีน) โนโรดีนชนิดน้ำ (ปั้มปากลูกสุกร ตัวยาซัลฟาไดอาซีนไตรเมโธพริม) เป็นต้น นอกจากนี้อาจจะใช้ยาผงละลายน้ำให้ลูกสุกรกิน หรือกรอกปากลูกสุกรก็ได้ เช่น นีโอมิกซ์ 325 เคดี-นีโอเป็นต้น
    8. ยาใส่แผล ใช้ใส่แผลสดและแผลเรื้อรัง เช่น ทิงเจอร์ไอโอดีน ยาเหลือง เจนเชียนไวโอเลต (ยาสีม่วง) ซัลฟานิลาไมด์ เนกาซันท์ ลูกเหม็น (ใช้ฆ่าหนอนในแผลเรื้อรัง) สครูวอร์ม ขี้ผึ้งซัลฟานิลาไมด์ ขี้ผึ้งกำมะถัน แอลกอฮอล์ เป็นต้น
    9. ฮอร์โมน ฮอร์โมนทีใช้ในการกระตุ้นลมเบ่งในแม่สุกร เช่น ฮอร์โมน อ็อกซี่โตซิน ส่วนฮอร์โมนพรอสตาแกลนดิน เอฟ 2 อัลฟา (ชื่อการค้า ลูทาไลส์) เป็นฮอร์โมนที่ใช้ฉีดในแม่สุกร เพื่อใช้กำหนดช่วงระยะเวลาคลอดให้แม่สุกร ทำให้สะดวกในการจัดการ หรือใช้ในกรณีที่แม่สุกรครบกำหนดคลอดแล้ว (114 วัน) แต่ไม่คลอดหลังจากฉีดแล้วจะช่วยให้แม่สุกรคลอดลูกภายใน 36 ชั่วโมง ในการใช้ฮอร์โมนให้ศึกษาวิธีการใช้ให้ละเอียด และควรปรึกษาสัตวแพทย์เพราะอาจส่งผลเสียต่อสัตว์และผู้ใช้ได้
    10. ธาตุเหล็ก เพื่อป้องกันโรคโลหิตจางในลูกสุกร เช่น ไฟเด็กซ์ ไมโอเฟอร์ พิกซ์เดร็ก ไอรอน-เดร็กทราน โรนาเด็ก เป็นต้น

    • Update : 14/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch