หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงสุกร-5
     
    โรงเรือนสุกร
    แบบเพิงหมาแหงน
    แบบจั่วสองชั้นกลาย
    แบบเพิงหมาแหงนกลาย
    แบบหน้าจั่ว
    แบบจั่วสองชั้น

         โรงเรือนที่ดีจะสะดวกในการจัดการฟาร์ม สุกรจะอยู่ภายในคอกอย่างสบาย ขั้นตอนในการสร้างโรงเรือนสุกรมีดังนี้
       1. สถานที่ก่อสร้างโรงเรือนสุกร ควรเป็นที่ตอนน้ำไม่ท่วม มีที่ระบายน้ำได้ดี ห่างไกลจากชุมนุมชน ตลาด และผู้เลี้ยงสุกรรายอื่น
       2. สร้างโรงเรือนสุกรตามแนวตะวันออก-ตะวันตก และระยะห่างของแต่ละโรงเรือน ประมาณ 20-25 เมตร เพื่อแยกโรงเรือนออกจากกันเป็นสัดส่วน
       3. ลักษณะของหลังคาโรงเรือนสุกรม 5 แบบ ด้วยกัน ดูตามรูป ด้านบน
               แบบเพิงหมาแหงน

    โรงเรือนแบบนี้สร้างง่าย ราคาก่อสร้างถูก แต่มีข้อเสีย คือ แสงแดดจะส่องมากเกินไปในฤดูร้อน ทำใหอุณหภูมิภายในโรงเรือนสูง ในฤดูฝนน้ำฝนจะสาดเข้าไปในโรงเรือนได้ง่าย ทำให้ภายในโรงเรือนชื้นแฉะ ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง หากมุงหลังคาด้วยหญ้าคา แฝก และจาก จะต้องให้มี ความลาดเอียงของหลังคาในระดับลาดชันสูง เพื่อให้น้ำฝนไหลลงจากหัวคอกไปท้ายคอกได้สะดวก มิฉะนั้นจะทำให้ฝนรั่วลงในตัวโรงเรือน
               แบบเพิงหมาแหงนกลาย
    จะเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นกว่าแบบเพิงหมาแหงน แต่มีข้อดีสามารถใช้บังแสงแดด ป้องกันฝนสาดได้ดีขึ้น
               แบบหน้าจั่ว
    ราคาก่อสร้างจะสูงกว่าสองแบบแรก แต่ดีกว่ามาก ในแง่การป้องกันแสงแดดและฝนสาด โรงเรือนแบบนี้ถ้าสร้างสูงจะดีเนื่องจาก อากาศภายในโรงเรือนจะเย็นสบาย แต่ถ้าสร้างต่ำหรือเตี้ยเกินไปจะทำให้อากาศภายในโดยฌฉพาะตอนบ่ายร้อนอบอ้าว อากาศร้อนจะไม่ช่องระบายออก ด้านบนหลังคา
               แบบจั่วสองชั้น
    เป็นแบบที่นิยมสร้างกันทั่วไป มีความปลอดภัยจากแสงแดดและฝนมาก อากาศภายในโรงเรือนมีการระบายถ่ายเทได้ดี แต่ราคาค่า ก่อสร้างจะสูงกว่าสามแบบแรก แต่ก็นับว่าคุ้มค่า ข้อแนะนำก็คือ ตรงจั่วบนสุด ควรให้ปีกหลังคาบนยื่นยาวลงมาพอสมควร ทั้งนี้เพื่อป้องกันฝนสาดเข้า ในช่องจั่ว ในกรณีที่ฝนตกแรง ทำให้คอกภายในชื้นแฉะ โดยเฉพาะลูกสุกรจะเจ็บป่วย เนื่องจากฝนสาดและทำให้อากาศภายในดรงเรือนมีความชื้นสูง
               แบบจั่วสองชั้นกลาย
    มีคุณสมบัติคล้าย ๆ กับแบบจั่วสองชั้น หลังคาโรงเรือนแบบนี้ เพื่อต้องการขยายเนื้อที่ในโรงเรือนให้กว้างใหญ่ขึ้น และจะดี ในแง่ป้องกันฝนสาดเข้าในช่องจั่วของโรงเรือน

        4. วัสดุที่ใช้มุงหลังคา ขึ้นอยู่กับงบการลงทุน วัสดูที่ใช้ เช่น กระเบื้อง อะลูมิเนียม สังกะสี แฝก และจาก เป็นต้น
        5. ความสูงและความกว้างของโรงเรือน ถ้าโรงเรือนสูงและกว้างจะมีส่วนช่วยให้โรงเรือนเย็นสบาย ถ้าเลี้ยงสุกรขุนมักจะสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดิน อยู่ตรงกลาง ขนาดของคอก ด้านหน้ากว้าง 4 เมตร ยาวไปด้านท้ายคอก 3.5 เมตร (ขังสุกรขุนคอกละ 8-10 ตัว) หลังคาจั่ว 2 ชั้น ควรสูงประมาณ 8 เมตร ความยาวของโรงเรือนตามความเหมาะสม 20-100 เมตร
        6. พื้นคอก โดยทั่วไปสร้างโรงเรือนเลี้ยงสุกรดวยพื้นคอนกรีต ซึ่งจะประหยัดเงินลงทุน ยกเว้นถ้าจะสร้างโรงเรือนสุกรพ่อแม่พันธุ์ อาจจะเป็นพื้นสองชั้น หรือเรียกว่าพื้นสแล็ต (พื้นสแล็ตสำเร็จรูปเป็นแผ่นมีรูเป็นช่อง ๆ สำหรับให้น้ำไหลจากพื้นชั้นบนลงไปพื้นชั้นล่าง) ใช้งบลงทุนมาก แต่จะสะดวกในการ จัดการดูแลสุกรพ่อแม่พันธุ์ และแม่สุกรเลี้ยงลูก
        7. ผนังคอก ทั่วๆ ไป มักใช้อิฐบล๊อค แป๊บน้ำ ลวดถัก ไม้ขนาด 1.5 นิ้วx 3 นิ้ว ความสูงของผนังคอกจะสูงประมาณ 1 เมตร ถ้าเป็นสุกรพ่อพันธุ์ควร สูง 1.2 เมตร

    ชนิดของโรงเรือน
        โรงเรือนสุกรพันธุ์ มีคอกพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์ท้องว่าง แม่พันธุ์อุ้มท้องและคอกคลอด
               - คอกพ่อพันธุ์ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1.2 เมตร (กว้างx ยาว x สูง)
               - คอกแม่พันธุ์ท้องว่างขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
               - คอกแม่พันธุ์อุ้มท้องขนาด 1.2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร
               - คอกคลอด ขนาด 2 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร (ซองแม่คลอดขนาด 0.6 x 2.2 เมตร สูง 1 เมตร ที่เหลือจะเป็นบริเวณสำหรับลูกสุกร)
               - สำหรับเกษตรกรรายย่อยคอกแม่พันธุ์ที่เหมาะสม ควรมีขนาด 1.5 x 2.0 เมตร สามารถใช้เป็นคอกเลี้ยงขังเดี่ยว และใช้เป็นคอกคลอดได้ด้วย ถ้าใช้เป็นคอกคลอดให้ทำซองไม้ขนาดกว้าง 60 เซนติเมตร ยาว 2.0 เมตร ให้แม่สุกรอยู่ในซองคลอด ส่วนลูกสุกรปล่อยอยู่รอบ ๆ ซองคลอด (ภายในคอกคลอด)
    คอกพ่อพันธุ์สุกร
    คอกแม่สุกรท้องว่าง
    โรงเรือนสุกรเล็กและสุกรรุ่น
               - คอกสุกรเล็ก (ลูกสุกรหย่านมหรือน้ำหนักประมาณ 6-20 กิโลกรัม) ขนาด 1.5 x 2 เมตร สูง 0.8 เมตร

               - คอกสุกรรุ่น (สุกรขนาด 20-35 กิโลกรัม) ขนาด 2x3 เมตร สูง 1 เมตร

     

    คอกแม่พันธุ์ท้องว่าง
    คอกแม่สุกรอุ้มท้อง
        โรงเรือนสุกรขุน
    คอกสุกรขุนนิยมสร้างคอกเป็น 2 แถว มีทางเดินอยู่ตรงกลาง มีรางอาหารออยู่ด้านหน้า ก็อกน้ำอัตโนมัติอยู่ด้านหลังคอก ก็อกน้ำสูงจากพื้นคอกประมาณ 50 เซนติเมตร ขนาดของคอก 4x3.5 เมตร ผนังกั้นคอกสูง 1 เมตร ขังสุกรขุนขนาด 60-100 กิโลกรัม ได้ 8-10 ตัว ส่วนความยาวของโรงเรือนก็ขึ้น อยู่กับจำนวนของสุกรขุนที่เลี้ยงว่าต้องการความยาวของโรงเรือนเท่าใด สุกรขุนถ้าเลี้ยงบนพื้นคอนกรีต จะใช้พื้นที่ประมาณ 1.2-1.8 ตารางเมตร/ตัว
    คอกสุกรคลอด
    ลักษณะระบบของโรงเรือนสุกร
    1. โรงเรือนระบบเปิด หมายถึง โรงเรือนที่ควบคุมสภาวะแวดล้อมตามธรรมชาติ และอุณหภูมิจะแปรไปตามสภาพของอากาศรอบโรงเรือน
    2. โรงเรือนระบบปิด หมายถึง โรงเรือนที่สามารถควบคุมสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่ของสุกร ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น การระบายอากาศ และแสงสว่าง สามารถป้องกันพาหะนำโรคได้ โรงเรือนปิด เช่น โรงเรือนอีแว็ป (Evaprative System) เป็นต้น ราคาลงทุนครั้งแรกค่อนข้างแพง แต่สุกรจะอยู่สุขสบายและโตเร็ว

    โรงเรือนระบบ Evaporative Cooling System

    • Update : 14/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch