สุกรพื้นเมือง |
@ เป็นสุกรที่เลี้ยงอยู่ตามหมู่บ้านชนบทพวกชาวเขา ลักษณะโดยทั่วไป จะมีขนสีดำ ท้องยาน หลังแอ่น การเจริญเติบโตช้า ให้ลูกดก และเลี้ยงลูกเก่ง จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น สุกรพันธุ์ไหหลำ พันธุ์ควาย พันธุ์ราด พันธุ์พวง สุกรป่า เป็นต้น |
|
|
เลี้ยงตามภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย มีสีดำปนขาว ตามลำตัวจะมีสีดำ ท้องมักมีสีขาว จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อย ไหล่กว้าง หลังแอ่น สะโพกเล็ก มีอัตราการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ได้ดีกว่าสุกรพื้นเมืองอื่น ๆ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 100-120 กิโลกรัม |
|
สุกรพันธุ์ราดหรือพวง เลี้ยงตามภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ มีขนสีดำตลอดตัว มีสีขาวปนแซมบ้างเล็กน้อย จมูกยาว ลำตัวสั้นป้อม หลังแอ่น ใบหูตั้งเล็ก ผิวหนังหยาบ แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม |
|
สุกรพันธุ์ควาย เลี้ยงตามภาคเหนือและภาคกลาง มีลักษณะคล้ายสุกรไหหลำ แตกต่างกันที่พันธุ์ควายจะมีสีดำ สุกรพันธุ์ควายมีหูใหญ่ ปรกเล็กน้อย มีรอยย่นตามตัว เป็นสุกรที่มีขนาดใหญ่ กว่าสุกรพื้นเมืองพันธุ์อื่น แม่สุกรโตเต็มที่ หนักประมาณ 80-100 กิโลกรัม |
|
เลี้ยงตามภาคต่าง ๆ ทั่วไป มีขนหยาบแข็ง สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำเข้ม หรือสีดอกเลา หนังหนา หน้ายาว จมูกยาวและแหลมกว่าสุกรพื้นเมือง ขาเล็กและเรียว ดูปราดเปรียว ที่พบมีอยู่ 2 พันธุ์ คือ พันธุ์หน้ายาว และพันธุ์หน้าสั้น แม่สุกรโตเต็มที่หนักประมาณ 80 กิโลกรัม |