หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงกระบือ-4

    ก า ร ผ ส ม พั น ธุ์  
     
             กระบือเป็นสัตว์ที่ผสมพันธุ์ตลอดปีแม้ว่ากระบือที่เกษตรกรเลี้ยงส่วนใหญ่แม่กระบือจะออกลูกเป็นช่วงฤดูก็ตาม สาเหตุก็เพราะในช่วงฤดูทำนาแม่กระบือไม่มีโอกาสได้รับการผสมพันธุ์จะมีโอกาสได้รับการผสม กับพ่อพันธุ์ในช่วงที่กระบือได้รวมฝูงกันในทุ่งนา หลังจากเกี่ยวข้าวแล้วเท่านั้น
          การผสมพันธุ์ในฤดูแล้งอาจมีปัญหาทำให้การผสมติดต่ำ โดยเฉพาะการใช้วิธีการผสมเทียม เนื่องจากอากาศร้อนจะทำให้น้ำเชื้อพ่อพันธุ์มีคุณภาพลดลงแม่กระบือที่มีสุขภาพไม่สมบูรณ์จะทำให้แสดงอาการเป็นสัดไม่ชัดเจน และทำให้อัตราการผสมติดต่ำ
     

          อายุที่สามารถผสมพันธุ์ได้ของกระบือแตกต่างกันตามเพศและพันธุ์กระบือ การผสมกระบือสาวที่อายุหรือมีน้ำหนักน้อยเกินไป จะทำให้แม่กระบือชะงักการเจริญเติบโตและให้ลูกไม่สมบูรณ์ แม้ว่ากระบือตัวผู้สามารถสร้างน้ำเชื้ออสุจิได้ตั้งแต่อายุ 1 ปี แต่การใช้กระบือตัวผู้ที่อายุน้อยเกินไปเป็นพ่อพันธุ์หรือให้มีโอกาสผสมพันธุ์กับกระบือตัวเมียจะมีผลเสียเช่นเดียวกัน เนื่องจากน้ำเชื้อของกระบืออายุน้อยยังไม่มีความสมบูรณ์แข็งแรงเท่าที่ควร ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้กระบือผสมพันธุ์กันก่อนวันที่ เหมาะสมจึงควรควบคุมลูกกระบือตัวผู้และตัวเมียหลังจากหย่านมแล้วที่อายุประมาณ 10 ถึง 12 เดือน ขึ้นไป ไม่ให้ได้มีโอกาสผสมพันธุ์จนกว่ากระบือตัวเมียจะมีอายุประมาณ 2 ปีครึ่ง หรือสูงไม่ต่ำกว่า 125 เซนติเมตร หรือควรมีน้ำหนักไม่ต่ำกว่า 350 กิโลกรัมและกระบือผู้อายุประมาณ 3 ปีครึ่งหรือสูงไม่ต่ำกว่า 130 แต่ถ้าจำเป็นอาจใช้กระบือผู้อายุตั้งแต่ 2 ปีครึ่งใช้ผสมพันธ์ได้ แต่ควรใช้ผสมกับแม่กระบือจำนวนน้อยตัวลง

     
     

    วิธี ผ ส ม พั น ธุ์  
     
     
    การผสมพันธุ์มีอยู่ 3 วิธี คือ การปล่อยให้พ่อพันธุ์คุมฝูง การจูงเข้าผสมและการผสมเทียม

    1. ก า ร ป ล่ อ ย ใ ห้ พ่ อ พั น ธุ์ คุ ม ฝู ง  
             วิธีนี้มีข้อดีคือผู้เลี้ยงไม่ต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่กระบือ กระบือเพศผู้จะทราบและทำการผสมกับแม่กระบือเอง แต่มีข้อเสียคือถ้ามีแม่กระบือเป็นสัด พ่อกระบือจะคอยไล่ตามจนไม่สนใจกินอาหาร ถ้าหากมีกระบือเพศเมียมีจำนวนหลายตัวเป็นสัดใกล้เคียงกันจะทำให้พ่อกระบือมีร่างกายทรุดโทรม ตามปกติควรจะใช้กระบือพ่อพันธุ์หนึ่งตัวคุมฝูงแม่กระบือประมาณ 20 ตัว
     
    2. ก า ร จู ง เ ข้ า ผ ส ม  
             ได้แก่ การจูงพ่อพันธุ์กระบือมาผสมกับแม่กระบือหรือจูงแม่กระบือมาผสมกับพ่อพันธุ์ วิธีนี้แยกพ่อกระบือไปเลี้ยงต่างหากทำให้สามารถดูแลพ่อกระบือให้สุขภาพสมบูรณ์พแข็งแรงได้ดี พ่อกระบือตัวหนึ่งสามารถผสมกับแม่กระบือได้จำนวนมากกว่าการปล่อยให้คุมฝูง แต่มีข้อเสียคือ ผู้เลี้ยงต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่กระบือถ้าพลาดการสังเกตการเป็นสัดแล้ว แม่กระบือจะเสียโอกาสที่ได้รับการผสมจะต้องรอไปจนกว่าจะเป็นสัดอีกรอบหนึ่ง
             การจูงเข้าผสมสามารถทำให้พ่อกระบือสามารถผสมกับกระบือเพศเมียได้มากขี้น พ่อกระบือหนุ่ม อายุ 2 ปีครึ่ง ถึง 3 ปีครึ่ง ควรใช้ผสมกับแม่กระบือไม่เกินปีละ 20 ตัว พ่อกระบือ อายุ 3 ปีครึ่ง ขึ้นไปสามารถผสมแม่กระบือปีละ 30-40 ตัว 
    3. ก า ร ผ ส ม เ ที ย ม  
             ได้แก่ การที่เจ้าหน้าที่จะนำน้ำเชื้อของกระบือพันธุ์ดีมาผสมกับแม่กระบือที่เป็นสัด ปัจจุบันกรมปศุสัตว์มีหน่วยผสมเทียมที่นะสามารถให้บริการได้เกือบทุกอำเภอทั่วประเทศ ผู้เลี้ยงจะต้องคอยสังเกตการเป็นสัดของแม่กระบือของตัวเอง เมื่อเห็นแม่กระบือเริ่มเป็นสัดต้องรีบไปแจ้งเจ้าหน้าที่ผสมเทียมทันที ไข่จะเริ่มตกหลังจากสิ้นสุดการเป็นสัดแล้ว 12 ถึง 24 ชั่วโมง
             เวลาที่เหมาะสมที่สุดในการผสมเทียมคือ 24 ถึง 36 ชั่วโมงหลังจากเริ่มเป็นสัด
             เพื่อสะดวกในการผสมเทียมเกษตรกรควรมีการจัดทำซองผสมเทียมที่บ้านหรือภายในหมู่บ้าน เมื่อเจ้าหน้าที่มาทำการผสมเทียมควรมีคนคอยช่วยยอย่างน้อย 2 คน แม่กระบือที่ได้รับการผสมแล้วผู้เลี้ยงควรกักอยู่ในคอกที่มีที่ร่ม ไม่ควรปล่อยให้แม่กระบือตากแดดหรือวิ่งไปในท้องทุ่งเพราะจะทำให้โอกาสผสมติดต่ำลง
             การผสมเทียมมีข้อดีคือ ไม่ต้องเลี้ยงดูกระบือพ่อพันธุ์ ทำให้ไม่ต้องเปลืองอาหารและแรงงาน แต่ก็มีข้อเสียคือ ผู้เลี้ยงต้องคอยดูการเป็นสัดของกระบือเพศเมีย และต้องรีบไปแจ้งเจ้าหน้าที่ให้มาผสมเทียมให้ทันเวลา 
             ระยะเวลาอุ้มท้องของกระบือ  
                  เป็นระยะเวลาที่ไม่แน่นอนคงที่ แต่ส่วนมากยอมรับกันว่าประมาณ 10 เดือน หรือ 316 วัน ระยะอุ้มท้องของกระบือนานกว่าโคเล็กน้อย ลูกกระบือตัวผู้มักอยู่ในท้องนานกว่าลูกกระบือ ตัวเมีย และลูกกระบือแฝดมักคลอดเร็วกว่ากำหนดกว่าลูกกระบือที่ไม่แฝด แต่กระบือมักไม่ค่อยมีลูกแฝด 
             วิธีสังเกตอาการที่กระบือจวนจะคลอดลูก 
      วิธีสังเกตอาการกระบือจวนคลอดมีดังนี้ คือ
    1. เมื่อผู้เลี้ยงจดวันที่ผสมไว้เมื่อใดแล้ว อาทิตย์สุดท้ายที่จะครบกำหนดคลอดจะเป็นระยะที่ควรคลอด
    2. สองถึงสามวันก่อนคลอดลูก เต้านมจะเต่งตึงและขยายใหญ่ขึ้นน้ำนมจะไหลเมื่อเวลาบีบหัวนมนะบวมขึ้น
    3. ท้องลด
    4. เครื่องเพศบวม กล้ามเนื้อและอวัยวะส่วนต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้โคนหางจะแสดงอาการคลายตัว
    5. แสดงอาการทุรนทุราย แสดงอาการปวดท้องคลอด
      
     
    ก า ร เ ป็ น สั ด  
     
     
                กระบือเพศเมียที่จะผสมติดได้จะต้องอยู่ในระยะเป็นสัด ซึ่งเป็นระยะที่แสดงอาการมีอารมณ์ทางเพศและพร้อมที่จะได้รับการผสมพันธุ์ อาการแสดงการเป็นสัดของกระบือไม่ค่อยชัดเจนเหมือนในโค ผู้เลี้ยงจะต้องสังเกตให้ดีกระบือจะมีอาการกระวนกระวายกว่าปกติ ไล่ขึ้นทับตัวอื่นหรือยอมให้ตัวอื่นขึ้นทับ อวัยวะเพศจะบวมกว่าเดิม ผนังด้านในช่องคลอดจะมีสีชมพูออกแดงในช่วงต้นของการเป็นสัดอาจมีเมือกใส ๆ ไหลออกมาในช่วงหลัง ๆ น้ำเมือกจะข้นและเหนียวขึ้น กระบือไทยจะเป็นสัดอยู่นานประมาณ 24 ถึง 36 ชั่วโมง


                ถ้าไม่ได้รับการผสมหรือผสมไม่ติดอีกประมาณ 20 ถึง 22 วัน (เฉลี่ย 21 วัน) จะกลับเป็นสัดใหม่อีก

                กระบือเพศเมียประมาณ 30 ถึง 40 เปอร์เซ็นต์ จะแสดงอาการเป็นสัดไม่ชัดเจนหรือเป็น “สั ด เ งี ย บ” และส่วนใหญ่จะแสดงอาการเป็นสัดในเวลากลางคืน ดังนั้นถ้าใช้วิธีการจูงเข้าผสมหรือการผสมเทียมแล้วผู้เลี้ยงต้องคอยสนใจสังเกตให้ดี มิฉะนั้นอาจจะพลาดการผสม

                แม่กระบือที่คลอดลูกแล้วต้องใช้เวลาอย่างน้อย 60 วัน มดลูกและอวัยวะสืบพันธุ์จึงจะกลับคืนสู่สภาพปกติ ดังนั้น จึงไม่ควรผสมแม่กระบือหลังจากคลอดลูกแล้วก่อนหน้านี้


    • Update : 11/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch