หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    เที่ยวทั่วไทย-ตลาดเก้าห้อง

    ตลาดเก้าห้อง

                ตลาดเก้าห้อง อยู่ในท้องที่ บ้านเก้าห้อง ต.บางปลาม้า อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี ผมขอเล่าเรื่องตลาดเก้าห้องทีหลัง จะเล่าไปตามลำดับการเดินทางของผม ที่เดินทางมาตลาดเก้าห้อง โดยมาจาก ท่าตะโก นครสวรรค์ มาอุทัยธานี ต่อมาที่ชัยนาท จึงเข้าถนนสาย ๓๔๐ มายัง จ.สุพรรณบุรี ซึ่งเส้นทางจะมาผ่านทางแยกเข้าบึงฉวาก ซึ่งเดี๋ยวนี้บึงฉวาก มีบ้านพักริมบึงสไตล์รีสอร์ทสวย ให้เลือกพักอีกด้วย ผ่านทางแยกเข้าบึงฉวาก ซึ่งอยู่ในท้องที่ อำเภอเดิมบางนางบวช ตรงเรื่อยมาก็จะมาผ่านทางแยกเข้าอำเภอสามชุก ซึ่งหากเลี้ยวเข้าไปในวันเสาร์ - อาทิตย์ ก็จะพบกับ สามชุกตลาดร้อยปี  เดี๋ยวนี้ดังระเบิดไปแล้ว ของกินแยะ เป็ดย่างจ่าเฉิด อยู่ปากทาง ตรงกันข้ามก็ข้าวห่อใบบัว ไปหาความรู้จากพิพิธภัณฑ์บ้านขุนจำนง จีนารักษ์ ผ่านทางแยกเข้าตลาดสามชุก ก็จะมาถึงทางแยกเข้าอำเภอศรีประจันต์ ตลาดศรีประจันต์ ที่เป็นตลาดอายุร้อยปีเหมือนกัน และติดนัดเฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์ มีอาหารการกินมากมาย แต่ไม่มากเท่าตลาดสามชุก และอยู่ตรงข้ามวัดบ้านกร่าง วัดที่เปิดกรุพบพระขุนแผน กรุวัดบ้านกร่าง ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สร้างไว้เมื่อทำศึกชนะพระมหาอุปราชา แล้วมาพักทัพริมแม่น้ำท่าจีน ตรงวัดบ้านกร่างนี้ พระขุนแผนรุ่นเก่ายังมีที่กุฎิเจ้าอาวาส แต่ราคาเป็นล้าน
                หากมาจากกรุงเทพ ฯ  จะผ่านบางปลาม้า อำเภอเมือง แล้วก็จะถึงทางแยกเข้าตลาดศรีประจันต์ ให้เลยไปอีกหน่อย จะถึงโรงพยาบาลศรีประจันต์ ทางขวา เลยไปอีก ๓ กม. พบทางแยกขวาไปอำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เลี้ยวขวาไป ๑ กม. ทางซ้ายมือคือ
               หมู่บ้านอนุรักษ์ควายไทย  อย่าว่าแต่จะพาเด็กไปชมเลย ผู้ใหญ่ก็ควรจะไปชม เพราะดีไม่ดี ควายอาจจะสูญพันธุ์ได้ เพราะเครื่องจักรกลในการใช้ไถนามีใช้สะดวก เร็วกว่าใช้ควายไถนา ควายจึงถูกฆ่าเอาเนื้อไปทำอาหาร และหากไม่ช่วยกันสงวนไว้บ้าง หรือเลี้ยงกันให้เป็นล่ำเป็นสัน แบบเลี้ยงวัว ควายอาจจะสูญพันธุ์ ต้องไปดูที่ซาฟารี สิงค์โปร์แทน การเข้าชมหากซื้อบัตรรวมดูการแสดงของควาย และนั่งเกวียนด้วย บัตรใบละ ๕๐ บาท เมื่อเข้าไปแล้ว จะมีร้านค้า ขายขนม ขายของที่ระลึก เช่น คันธนู ยิงได้พร้อมลูกธนู และกระบอกใส่ลูกธนูราคา ชุดละ ๓๐ บาท หาซื้อที่ไหนได้ในราคานี้
                ทางซ้ายจะเป็นหมู่บ้านชาวนาไทย มีเรือนเครื่องผูก เครื่องสับ ปลายนา ฯ มียุ้งข้าว คอกสัตว์ แปลงพืชผักสวนครัว ทางขวามือของถนนที่เข้ามา มีเรือนคหบดี (เศรษฐีบ้านนอก)  บ้านแพทย์ไทยโบราณ บ้านโหราจารย์ และในหมู่บ้านนี้มีบ้านไทย รีสอร์ทด้วย แต่ไม่ได้เข้าไปหารายละเอียดและถามราคา พอได้เวลาการแสดงของควาย ซึ่งวันธรรมดามีรอบ ๑๑.๐๐ และ ๑๕.๐๐ วัดหยุดเพิ่มรอบ ๑๖.๐๐ มีลานจัดแสดงมีที่นั่งมีหลังคารูปครึ่งวงกลม ใช้เวลาในการแสดงรอบละ ๓๐ นาที ใครว่าควายโง่ มาดูการแสดงของควายแล้ว จะรู้ว่าควายไม่ได้โง่ คนไม่รู้จักหัดมันเองต่างหาก ที่นี่หัดให้ควายฟังคำสั่ง พิธีกรจะออกคำสั่ง ส่งเสียงสัญญาณให้ควายยกขาขวา ขาซ้าย เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา หมอบ คลาน นอน จูงควายขึ้นบันได "ยิ้ม" สาธิตการขึ้นขี่ควาย มีการแสดงของควายแคระบอกว่า เหลืออยู่ตัวเดียวแล้ว มีชายแคระแสดงประกอบควายแคระ ช่วยให้เป็นตลกควาย สาธิตการสนสะพายควาย โดยใช้ไม้ตอกรูจมูกแล้วสอดเชือกเข้าไป เพื่อบังคับควายงาน มีการแสดงการไถนา จบการแสดงแล้วใครอยากให้อาหารควาย ก็เอาสตางค์หยอดตู้ที่ตั้งเอาไว้ได้ ให้ไปเถอะค่าอาหารควายแลกกับดูควายยิ้ม
                ก่อนการแสดงของควาย มีการให้เด็กชาย หญิง มาแสดงเพลงอีแซว เพลงพื้นบ้านของสุพรรณบุรี ร้อง รำกันได้ดีมาก จบการแสดง ซึ่งใช้เวลาประมาณ ๑๐ นาที นักรำก็ร้องเรี่ยไรค่าขนม จบแล้วเดินเก็บค่าขนม ใครให้ไม่ให้ไม่ว่ากัน แต่ส่วนมากควักใบละ ๒๐ บาท ให้กันแทบทุกคน
                จบจากการชมการแสดงควายไทย หากซื้อบัตรรวมก็ไปนั่งเกวียนต่อได้ไปชมบ้านเรือนไทยภาคกลาง ชมสวนดอกไม้ ไม้ดัดสวยเรียกว่า แบบบ้านคนมีสตางค์โบราณเลยทีเดียว สวยด้วยไม้ดอก ไม้ประดับ และไม้ดัด ติดต่อ โทร ๐๓๕ ๕๘๒ ๕๙๑
                ผมไม่ได้จองที่พักมา เพราะไม่แน่ใจว่า จะพักในเมือง หรือพักตามรีสอร์ทดี เคยเข้าไปกินอาหารในรีสอร์ทแห่งหนึ่ง ใกล้อำเภอศรีประจันต์ มีห้องหลายราคา บ้านพักแฝด (ไม่รบกวนกัน)  ริมแม่น้ำท่าจีน ราคา ๑,๒๐๐ บาท แถมอาหารเช้า ผมพักบ้านติดแม่น้ำ บ้านพักแบบโรงแรมก็มี ห่างแม่น้ำก็มี เป็นตู้รถไฟก็มีอีก มีสระว่ายน้ำ จักรยาน เรือพาย ตื่นเช้าสักหน่อย สั่งอาหารเขาไว้ ได้ใส่บาตรพระที่ท่านพายเรือมารับบาตร มีพาลงเรือไปไหว้พระสามวัดคือ วัดสัปปะรดเทศ (อยู่ในซอยที่เข้ามายังรีสอร์ท) ชมศาลาการเปรียญที่มีเสาใหญ่มาก ใหญ่ยังกับเสาชิงช้า ไปไหว้พระหลวงพ่อเณร วัดไก่เตี้ย พระพุทธรูปสมัยกรุงศรีอยุธยา นมัสการพระพุทธบาทหินทราย สีแดงอายุกว่า ๕๐๐ ปี  ที่ลอยน้ำมาขึ้นท่าวัด "เสาธงทอง" วัดนี้ไปเรือสะดวกใกล้รีสอร์ท ไปรถอ้อมกันหลายรอบ ถามทางเขาดีกว่าให้ผมบอก
                เส้นทางไปรีสอร์ทหรือไปกินอาหาร หากมาจากตัวเมืองสุพรรณ พอถึง กม.๑๐๕ มีสะพานลอย มีปั๊มบางจากทางขวามือ เลี้ยวซ้ายเข้าซอยตรงข้ามสะพานลอย
                มือเย็นที่ห้องอาหารของรีสอร์ท มื้อนี้จ่ายเงินเอง ห้องอาหารทองประศรี อาหารหมึกแดงชวนชิม น้ำพริกขุนแผน ปลาช่อนทองประศรี ปลาม้าทอดกระเทียมพริกไทย ผมสั่งอาหารมากินที่ห้อง เพราะหากขับรถไปจากห้องพักพื้นที่กว้างขวางเหลือเกิน ต้นไม้ร่มรื่น ขับกลางคืนอาจจะหลุดออกไปนอกรีสอร์ทได้ ยิ่งทริปนี้ เดินทางหลงไปแทบทุกจังหวัด สั่งมาทอดมันปลากราย เหนียวหนึบ เคี้ยวหนุบหนับ  ส้มตำไทย รสแซ๊บ และปลาช่อนทองประศรี ใช้ปลาช่อนตัวโตมาก ราคาจานนี้ ๒๐๐ บาท เจอปลาเข้าตัวเดียวอิ่มแล้ว ปลาทอดราดด้วยน้ำยำ มี ๓ รส เปรี้ยวด้วยน้ำมะขาม เครื่องที่ราดมาบนตัวปลาตะไคร้ หัวหอม มะม่วงหิมพานต์ อิ่ม อร่อย ไม่ต้องกินข้าว เจอปลากับทอดมันก็แน่นพุงแล้ว
                มื้อเช้า เป็นวันอาทิตย์แขกมาพักกันมาก อาหารเช้าจัดบุฟเฟต์ มีทั้งข้าวสวย ข้าวต้ม ปาท่องโก๋ อาหารแบบ  เลือกตักเอาตามใจชอบ อิ่มแล้วไปตลาดเก้าก้อง
                เดี๋ยวนี้สุพรรณบุรี มีพาไหว้พระเก้าวัด ทุกวัดจะอยู่ริมแม่น้ำท่าจีน ริมถนนสมภารคง หรือถนนสาย ๓๕๐๗ หากบอกทางไปจากในเมือง ต้องเริ่มต้นที่หอนาฬิกา ข้ามสะพานข้ามแม่น้ำสุพรรณบุรี ไปตามถนนมาลัยแมนไปทางวัดป่าเลไลย์ ข้ามสะพานแล้วชิดขวากลับรถแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสมภารคง วัดจะเรียงไปตามลำดับดังนี้ วัดพระศรีมหาธาตุ วัดแค วัดสารภี วัดพระลอย วัดหน่อพุทธางกูร วัดพระนอน วัดพิหารแดง วัดชีสุขเกษม และวัดสว่างอารมณ์ ส่วนรายละเอียดไปวัดไหน ไหว้อะไร ขอผลัดไปก่อน วันนี้ผมไม่ได้แวะขับรถผ่าน
               ตลาดเก้าห้อง  หากมาจากกรุงเทพ ฯ มาเลี้ยวซ้ายเข้าไปทาง อ.บางปลาม้า ผ่านร้านอาหารที่ผมชิมประจำ ทางขวามือ อาหารเด่นคือ กุ้งแม่น้ำทอดเกลือ หาร้านไหนสู้ได้ยาก วันนี้ไม่ได้แวะเพราะจะไปหากินในตลาดเก้าห้อง เลยร้านไปแล้วเลี้ยวขวา เลาะเลียบแม่น้ำเรื่อยไปจนถึงวัดลานคา แล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพาน เก้าห้อง- ลานคา ลงสะพานทางซ้ายมือจะมีร้านอาหารเล็ก ๆ อยู่ ๑ ร้าน ชาวบ้านบอกว่า ร้านนี้อร่อยขั้นมื้อเที่ยงต้องรอคิว ไม่มีชื่อร้าน มีอยู่ร้านเดียว "โกเหลา"  อาหารกวางตุ้ง ผมมาเจอทีหลัง ชาวเก้าห้องแนะนำให้ เจอตอนอิ่มมาแล้ว เลยฝากเอาไว้ก่อน ทางซ้ายของร้านอาหารคือ ทางเข้าตลาดเก้าห้อง ตลาดเก้าห้อง เป็นตลาดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยมาสุพรรณบุรีต้องมาทางเรือ เป็นตลาดที่ซื้อขายสินค้าที่ล่องมาตามแม่น้ำท่าจีน แต่พอถนนเข้าถึงได้หลายทาง (มาจากวัดพระรูปในเมือง วิ่งเลาะริมแม่น้ำมาก็ได้)  รถมาสะดวก ตลาดจึงเริ่มซบเซา ร้านค้าทยอยกันปิดร้าน กลายเป็นที่อยู่อาศัยเป็นส่วนใหญ่ ตลาดมี ๓ ตอน เรียกต่างกัน อยู่ติดกัน เดินถึงกันด้วยการผ่านซอกระหว่างห้องแถวไป ตลาดที่ลงสะพานมาแล้ว เดินเข้าทางซ้ายเลยเรียกว่า ตลาดบน เหลือร้านขายของชำอยู่ ๒ - ๓ ร้าน แต่อร่อยสุด ๆ ส่งไปขายกันถึง อ.แม่สาย จ.เชียงราย คือ ร้านขายขนมเปี๊ยะ เข้าไปในตลาดจะมองเห็นขนมเปี๊ยะ วางอยู่เต็มแผงหน้าร้าน เยื้อง ๆ กันมีร้านไส้อั่ว และของโบราณ บอกว่าคิดจะเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ทะลุข้างร้านไส้อั่วคือ ตลาดกลาง ซึ่งเวลานี้ อบต. กำลังฟื้นฟูทั้ง ๓ ตลาด ให้มีสภาพแบบตลาดนัดวันหยุดเหมือนสามชุก และศรีประจันต์ แต่ของยังมีขายน้อยมาก และเรือนแถวเก่าแก่ ยังปิดร้านใส่กุญแจอยู่ ยังไม่กลับมาเปิดร้านรับนักท่องเที่ยว ไปตลาดเก้าห้องจึงไปชมบ้านเรือนเก่าแก่ มีศาลเจ้าหลายศาล ตลาดกลาง มีขนมเทียนอร่อยมาก ทางเดินไปอีกตลาดที่อยู่ติดกันคือ ตลาดล่าง จะผ่านร้านอาหารอร่อยขั้นออกรายการทีวีช่อง ๕ มาแล้ว แต่อย่าไปดูการตกแต่งร้าน ผมชิมร้านนี้เพราะแม่ค้าขนมบอก และดูจากคนที่มานั่งกินกัน เดี๋ยวกลับมาชิม
                ใกล้ ๆ กันมีศาลเจ้าแม่ทับทิม ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองจำลอง ตลาดบนมีฮู้ สงสัยอะไร ถามชาวบ้านจะเต็มใจอธิบายให้ทราบ ซึ่งไม่ช้าด้วยความมีน้ำใจของชาวร้าน ที่ยังเหลืออยู่ จะทำให้ตลาดเก้าห้องกลับมาติดในวันเสาร์ - อาทิตย์ ได้
               หอดูโจร  อยู่ทางเข้าตลาดล่าง เป็นหอสูงประมาณ สัก ๑๐ เมตร กว้างยาวด้านละประมาณ ๓ เมตร  สร้างยังกับเป็นบังเกอร์ เจาะช่องให้เอาปืนสอดออกมายิงสู้กับโจรได้ บอกว่าสร้างไว้ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๗ โจรสมัยนั้นชุมมาก ยกโขยงกันมาชนิดประกาศปล้นเลยทีเดียว จึงสร้างหูดูโจร  (ในประเทศไทยมีหอเดียวแน่นอน)  แล้วผลัดเปลี่ยนกันขึ้นไปเฝ้าในเวลากลางคืน เลยหูดูโจรก็เข้าไปยังตลาดล่าง แม่ค้าขนมหวานมองแล้วเข้าตา ขนมอร่อยที่ซื้อมาคือ ขนมหม้อแกง ขนมเปียกปูน ข้าวเหนียวตัด แปลกไม่เหมือนใคร เพราะมีน้ำเชื่อมให้มา ๑ ถุง ให้เอามาราดข้าวเหนียว แล้วใส่น้ำแข็งทุบ ไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน รับรองว่าอร่อยจริง หิ้วกลับมากินที่บ้าน แม่ค้าแนะให้ร้านก๋วยเตี๋ยวอร่อย ชี้ร้านให้ ๓ ตลาดใกล้กัน สงสัยถามแม่ค้าคนไหนก็ได้
                ราดหน้า ทั้งร้านมีโต๊ะนั่งอยู่ ๓ - ๔ ตัว จัดร้านรุงรังเหมือนร้านตือโอชา ที่ลพบุรี ประเภทอร่อยมาก ราคาถูกมาก ไม่สนในการจัดร้านให้ดูสวย เขาแนะมาว่าราดหน้าอร่อย ก็สั่งราดหน้ามาคนละจาน สักครู่มีชาวบ้านมานั่งอีก ๒ โต๊ะ สั่งก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กน้ำทั้ง ๒ โต๊ะ เลยสั่งบ้าง
                ราดหน้าหมู เปื่อยนุ่ม เส้นหมี่ ปรุงมาเด็ดจริง ๆ เติมน้ำส้ม พริกดองนิดเดียวอร่อยมาก ส่วนก๋วยเตี๋ยวน้ำ เส้นเล็กก็เหมือนกัน อร่อยมาก สั่งน้ำมาดื่มอีก ๑ ขวด น้ำแข็ง ๒ แก้ว ก่อนอิ่ม สั่งอาหารเย็นใส่ถุงกลับไปบ้านคือ ผัดซีอิ้ว อีก ๓ ห่อ ให้คิดเงินจ่ายไป ๑๒๒ บาท ช่วยผมคิดเงินด้วยว่า ก๋วยเตี๋ยวจานละ, ชามละเท่าไร


    • Update : 9/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch