หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    ธรรมปฏิบัติ - คุณค่าของกาลเวลา
     อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ ติฯ
           
           กาลเวลาเป็นของมิใช่จะให้ประโยชน์แก่โลกทั่วไปเท่านั้น แต่ยังทำให้ผู้มีปัญญาสนใจในธรรมปฏิบัติ รีบเร่งฝึกหัดใจของตนๆ ให้ทันกับกาลเวลาอีกด้วย แท้จริงทุกสิ่งทุกอย่างที่มีอยู่ในโลกนี้ ต้องขึ้นอยู่กับกาลเวลาทั้งนั้น
    เช่น ดินฟ้าอากาศ ฤดู ปี เดือน ต้นไม้ ผลไม้ และธุระการงานที่สัตว์โลกทำอยู่ แม้แต่ความเกิด ความแก่ และความตาย ถึงแม้สิ่งเหล่านั้นจะเป็นอยู่ตามหน้าที่ของเขาก็ตาม แต่ต้องอยู่กับกาลเวลา ถ้าหากกาลเวลาไม่ปรากฏแล้ว สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ในโลกนี้ก็จะไม่ปรากฏเลย จะมีแต่สูญเรื่อยไปเท่านั้น
           
           กาลเวลาได้ทำประโยชน์ให้แก่ชาวโลกนี้มิใช่น้อย ชาวกสิกรก็ต้องอาศัยวัสสานฤดู ปลูกพืชพันธุ์ในไร่นาของตนๆ เมื่อฝนไม่ตกก็พากันเฝ้าบ่นว่าเมื่อไรหนอพระพิรุณจะประทานน้ำฝนมาให้ ใจก็ละห้อย ตาก็จับจ้องดูท้องฟ้า เมื่อฝนตกลงมาให้ต่างก็พากันชื่นใจระเริงด้วยความเบิกบาน แม้ที่สุดแต่ต้นไม้ซึ่งเป็นของหาวิญญาณมิได้ ก็อดที่จะแสดงความดีใจด้วยอาการสดชื่นไม่ได้ ต่างก็พากันผลิดอกออกประชันขันแข่งกัน ชาวกสิกรตื่นดึกลุกเช้าเฝ้าแต่จะประกอบการงานของตนๆ ตากแดด กรำฝน ไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าเย็นร้อนอนาทร
           
           ชาวพ่อค้าวาณิชนักธุรกิจ ก็คอยหาโอกาสแต่ฤดูแล้ง เพื่อสะดวกแก่การคมนาคมและขนส่ง เมื่อแล้งแล้วต่างก็พากันจัดแจงเตรียมสินค้าไม่ว่าทางน้ำและทางบก
           
           ฝ่ายอุบาสกอุบาสิกาผู้มีศรัทธาตั้งมั่นในบุญกุศล ก็พากันมีจิตจดจ่อเฉพาะเช่นเดียวกันว่า เมื่อไรหนอจะถึงวันมาฆะ-วิสาขะ-อาสาฬหะ เวียนเทียนประทักษิณนอบ น้อมต่อพระรัตนตรัย เมื่อไรหนอจะถึงวันเข้าพรรษา-ออกพรรษา-เทโวโรหนะตักบาตรประจำปี
           
           วันทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เนื่องด้วยกาลเวลา ทั้งนั้น และเป็นวันสำคัญของชาวพุทธเสียด้วย เมื่อถึงวันเวลาเช่นนั้นเข้าแล้ว ชาวพุทธทั้งหลายไม่ว่าหญิงชายน้อยใหญ่ แม้จะฐานะเช่นไร อยู่กินกันเช่นไรก็ตาม จำต้องสละหน้าที่การงานของตน เข้าวัดทำบุญตักบาตร อย่างน้อยวันหนึ่ง หากคนใดไม่ได้เข้าวัดทำบุญสังสรรค์กับมิตรในวันดังกล่าวแล้ว ถือว่าเป็นคนอาภัพ
           
           ส่วนนักภาวนาเจริญสติปัฏฐาน ย่อมพิจารณาเห็นอายุสังขารของตนเป็นของน้อยนิดเดียว เปรียบเหมือนกับน้ำตกอยู่บนใบบัว เมื่อถูกแสงแดดแล้วพลันที่จะเหือด แห้งอย่างไม่ปรากฏ แล้วก็เกิดความสลดสังเวช ปลงปัญญาสู่พระไตรลักษณญาณ
           
           กาลเวลาจึงว่าเป็นของดีมีประโยชน์แก่คนทุกๆ ชั้นในโลกนี้และโลกหน้า ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ในเบื้องต้นนั้นว่า
           
           อจฺเจนฺติ อโรหรตฺตา ชีวิตํ อุปฺรุชฺชติ กุณฺฑที ทมิโวทกํ
           แปลว่า โอ้ชีวิตเป็นของน้อย ย่อมรุกร่นเข้าไปหาความตายทุกที เหมือนกับน้ำในรอยโค เมื่อถูกแสงพระอาทิตย์แล้ว ก็มีแต่จะแห้งไปทุกวันฉะนั้นฯ
           
           โดยอธิบายว่า ชีวิตอายุของเรา ถึงแม้ว่าจะมีอายุอยู่ได้ตั้งร้อยปี ก็นับว่าเป็นของน้อยกว่าสัตว์จำพวกอื่นๆ เช่นเต่าและปลาในทะเลเป็นต้น ซึ่งเขาเหล่านั้นมีอายุตัวละมากๆ เป็นร้อยๆ ปี ตั๊กแตน แมลงวัน เขามีอายุเพียง ๗-๑๐ วันเขาก็ถือว่าเขามีอายุโขอยู่แล้ว แต่มนุษย์เราเห็น ว่าเขามีอายุน้อยเดียว
           
           ผู้มีอัปมาทธรรมเป็นเครื่องอยู่ เมื่อมาเพ่งพิจารณาถึงอายุของน้อย พลันหมดสิ้นไปๆใกล้ต่อความตายเข้ามาทุกที กิจหน้าที่การงานของตนที่ประกอบอยู่จะไม่ทันสำเร็จ ถึงไม่ตายก็ทุพพลภาพเพราะความแก่ แล้วก็ได้ขวนขวายประกอบกิจหน้าที่ของตนเพื่อให้สำเร็จโดยเร็วพลัน กาลเวลาจึงอุปมาเหมือนกับนายผู้ควบคุมกรรมกรให้ทำงานแข่งกับเวลา ฉะนั้นฯ
           
           ทาน การสละวัตถุสิ่งของของตนที่มีอยู่ให้แก่บุคคลอื่น นอกจากผู้ให้จะได้ความอิ่มใจ เพราะความดีของตน แล้ว ผู้รับยังได้บริโภคใช้สอยวัตถุสิ่งนั้นให้เป็นประโยชน์แก่ตนอีกด้วย นับว่าไม่มีเสียผลทั้งสองฝ่าย แต่กาลเวลาที่สละทิ้งชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายแล้วไม่เป็นผลแก่ทั้งสองฝ่าย คือกาลเวลาก็หมดไป ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายก็เสื่อมสูญไป ยังเหลือแต่ความคร่ำคร่าเหี่ยวแห้งระทมทุกข์ อันใครๆไม่พึงปรารถนาทั้งนั้น นอกจากบัณฑิตผู้ฉลาดในอุบาย น้อมนำเอาความเสื่อมสิ้นไปแห่งชีวิตนั้นเข้ามาพิจารณา ให้เห็นสภาพสังขารเป็นของไม่เที่ยง จนให้เกิดปัญญาสลดสังเวช อันเป็นเหตุจะให้เบื่อหน่าย คลายเสียจากความยึดมั่นในสังขารทั้งปวง
           
           ฉะนั้น ทาน การสละให้ปันสิ่งของของตนที่หามาได้ในทางที่ชอบให้แก่ผู้อื่น ในเมื่อกาลเวลากำลังคร่าเอาชีวิตของเราไปอยู่ จึงเป็นของควรทำเพื่อชดใช้ชีวิตที่หมดไปนั้นให้ได้ทุน (คือบุญ)กลับคืนมา
           
           การรักษาศีล ก็เป็นทานอันหนึ่ง เรียกว่า อภัยทาน นอกจากจะเป็นการจาคะสละความชั่วของตนแล้ว ยังเป็นการให้อภัยแก่สัตว์ที่เราจะต้องฆ่า และสิ่งของที่เราจะต้องขโมยเขาเป็นต้นอีกด้วย นี้ก็เป็นการทำความดี เพื่อชดใช้ชีวิตของเราที่กาลเวลาคร่าไปอีกด้วย
           
           ผู้กระทำชั่วพระพุทธเจ้าตรัสว่า เป็นผู้มีหนี้ติดตัว ผู้มีหนี้ติดตัวย่อมได้รับความทุกข์เดือดร้อน ฉะนั้น บาปกรรมชั่วเป็นสิ่งที่ไม่มีเจ้าของ แต่ผู้ใดทำลงไปแล้วแม้คนอื่นทั้งโลกเขาจะไม่เห็นก็ตาม แต่ความชั่วที่ตนกระทำลงไป แล้วนั่นแล เป็นเจ้าของมาทวงเอาหนี้ (คือความเดือดร้อน ภายหลัง) อยู่เสมอ ยิ่งซ้ำร้ายกว่าหนี้ที่มีเจ้าของเสียอีก
           
           เป็นที่น่าเสียดาย บางคนผู้ประมาทแล้วด้วยยศด้วยลาภก็ตาม ไม่ได้นึกคิดถึงชีวิตอัตภาพของตน กลัวอย่างเดียวแต่กาลเวลาจะผ่านพ้นไป แล้วตัวของเขาเองจะไม่ได้ทำความชั่ว ด้วยความเข้าใจผิดคิดว่าเป็นของดีแล้ว เช่น สุรา นารี พาชี กีฬาบัตร ฯลฯ เป็นต้น นำเอาชีวิตของตนที่ยังเหลืออยู่นั้น ไปทุ่มเทลงในหลุมแห่งอบายมุขหมดบุญกรรมนำส่งมาให้ได้ดิบได้ดี มีสมบัติอัครฐานอย่างมโหฬาร เตรียมพร้อมทุกสิ่งทุกอย่างไม่ขัดสน แต่เห็นความพร้อมมูลเหล่านั้นเป็นเรื่องความทุกข์ไป สู้ความชั่วอบายมุขไม่ได้
                  
           (จากหนังสือธรรมลีลา ฉบับที่ 121 ธันวาคม 2553 โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย)


    • Update : 8/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch