"พระสถูปเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุิ"
พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าถูกตวงด้วยทนานทอง ถวายแก่กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร คือ
๑. พระเจ้าอชาตศัตตุราช ผู้ครองนครราชคฤห์ แคว้นมคธ
๒. พระเจ้าลิจฉวี ผู้ครองนครพระนครไพศาลี แคว้นวัชชี
๓.พระเจ้ามหานาม ผู้ครองนครกบิลพัสดุ์ แคว้นสักกะ
๔.พระเจ้าฐลิยราช ผู้ครองนครอัลลกัปปนคร
๕.พระเจ้าโกลิยราช ผู้ครองนครนครรามคาม แคว้นโกลิยะ
๖.พระเจ้ามัลลราช ผู้ครองเมืองปาวานคร แคว้นมัลละ
๗.มหาพราหมณ์ ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปกนคร
๘.กษัตริย์มัลลราช ผู้ครองนครกุสินารา แคว้นมัลละ
พระบรมสารีริกธาตุซึ่งตวงด้วยทะนานทองทั้งหมด ๑๘ ทะนาทด้วยกันโดยแบ่งให้กษัตริย์ ทั้ง ๘ พระนคร ได้พระนครละ ๒ ทะนานเท่า ๆ กันบรรดากษัตริย์ทั้งหลาย เมื่อได้รับส่วนแบ่งบรมสารีรืกธาตุแล้ว ต่างองค์ต่างกันจัดขบวนอันมโหฬาร อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ ไปยังพระนครของตนด้วยเกียรติยศอันสูง แล้วให้ก่อพระสถูปเจดีย์ ขึ้นบรรจะพระบรมสารีริกธาตุไว้เป็นที่สักการบูชาของมหาชน จึงปรากกว่ามีพระสูปเจดีที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ดังนี้
๑. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองราชคฤห์
๒.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองไพศาลี
๓.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองบิลพันดุ์
๔.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองอัลลกัปปนคร
๕. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองรามนคร
๖. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองเวฏฐาทีปนคร
๗. พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองปาวานคร
๘.พระธาตุเจดีย์ ที่เมืองกุสินารานคร
นอกจากนั้นกษัตริย์แห่งเมองโมรีนครซึ่งเดินทางมาถึงภายหลังได้ประชุมแบ่งปันพระสารีริรธาตุกันหมดสิ้นแล้ว ได้อัญเชิญ พระอังคาร (ถ่านเถ้าที่ถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ) ไปสักการบูชาที่พระสถูปเจดีย์ ในพระนครของตน คือ
๙. พระอังคารเจดีย์ ที่เมืองโมรีนนคร
ส่วนพระทนานทองที่ใช้ตวงพระบรมสารีริกธาตุซึ่งโทณพราหมร์เป็นผู้สร้างนั้นได้ถูกบรรจุไว้ในเมืองต่าง ๆ ดังนี้
๑. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนขวา กับพระรากขวัญเบื้องขวาขึ้นไป ประดิษฐานอยู่ในพระจุฬามณีเจดีย์สถาน ณ ดาวดึงสเทวโลก
๒. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำกว่าเดิมไปประดิษฐาน ณ เมืองกาลิราฐแต่บัดนี้ไปสถิตอยู่ในลักกาทวีป
๓. พระเขี้ยวแก้วเบื้องบนซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ ณ เมืองคันธารราฐ
๔. พระเขี้ยวแก้วเบื้องต่ำซ้าย ไปประดิษฐานอยู่ในนาคพิภพ
๕. พระรากขวัญเบื้องซ้ายกับพรุอุณหิสปัฏ ขึ้นไปประดิษฐานอยู่ในทุสสเจดีย์ ณ พรหมโลก
ส่วนพระทนต์ (ฟัน) ทั้ง ๓๖ และพระเกศา (ผม) พระโลมา(ขน) กับพระนขา (เล็บ) ทั้ง ๒๐ นั้นเทพยดาอัญเชิญไปองค์ละองค์สู่จักรวาลต่าง ๆ
ส่วนพระบริขารพุทธบริโภคทั้งหลายนั้นได้กล่าวถึงไปแล้วในหัวข้อ
|