การเลี้ยงนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ก่อนพุทธกาล ที่ยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในโลกจนถึงยุคโลก
จนถึงยุค โลกาภิวัตน์เป็นสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในทวีปแอฟริกาซึ่งป่าแอฟริกาจะเป็นป่าโปร่งมีทุ่งหญ้ากว้างไกล
มีพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง มีบางส่วนเป็นทะเลทราย คนแอฟริกันจะมีความคุ้นเคยกับนกกระจอกเทศเกือบทุกส่วน ตั้งแต่เนื้อ ไข่สำหรับบริโภค หนังทำเครื่องนุ่งห่มและเครื่องใช้ เปลือกไข่ไว้บรรจุน้ำหรือทำเครื่องประดับ และขนทำเครื่องประดับของเผ่า เป็นต้น
กล่าวได้ว่า การทำฟาร์มนกกระจอกเทศนั้นเริ่มต้นเกิดขึ้นในประเทศแถบทวีปแอฟริกา ต่อมาการทำ
ฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศแพร่หลายเพิ่มขึ้นในทวีปต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ อิสราเอล
ออสเตรเลีย และจีน เป็นต้น นับได้ว่าปัจจุบันมีฟาร์มเลี้ยงนกกระจอกเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ฟาร์มทั่วโลก
นกกระจอกเทศจัดเป็นสัตว์ในตระกูล Ratites ซึ่งเป็นสัตว์ปีกที่บินไม่ได้ มีด้วยกัน 5 ชนิด แบ่งแยกอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของโลก คือ
1. |
นกกีวี (Kiwi) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศนิวซีแลนด์ และเป็นสัญลักษณ์ของประเทศด้วย ขนาดตัวไม่ใหญ่ โตเต็มที่จะมีน้ำหนักเพียง 3-4 กิโลกรัม เท่านั้น |
2. |
นกเรีย (Rhea) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ ขนาดตัวใหญ่กว่านกกีวี มีน้ำหนักประมาณ 20-30 กิโลกรัม สูง 1.20-1.50 เมตร |
3. |
นกแคสโซวารี (Cassowary) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือของประเทศออสเตรเลีย และในประเทศปาปัวนิวกินี (Papua New Guinea) สูงประมาณ 1.3-1.5 เมตร มีน้ำหนัก 50-60 กิโลกรัม ขนสีดำเป็นมันตลอดลำตัวที่ใบหน้าจะมีหนังเป็นสีต่าง ๆ สวยงามมาก |
4. |
นกอีมู (Emu) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปออสเตรเลีย ขนสีน้ำตาลปนดำ ตัวเมียใหญ่กว่าตัวผู้ สูงประมาณ 1.3-1.6 เมตร มีน้ำหนัก 40-60 กิโลกรัม นิยมเลี้ยงเพื่อใช้น้ำมันมาทำเครื่องสำอาง เนื้อสามารถบริโภคได้ |
5. |
นกกระจอกเทศ (Ostrich) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา เป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในตระกูลนี้ ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 100-165 กิโลกรัม ส่วนตัวเมียมีน้ำหนักประมาณ 90-125 กิโลกรัม สูงประมาณ 1.50-2.50 เมตร มีลักษณะเป็นสัตว์เศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ให้ผลผลิตที่มีมูลค่ามากนับตั้งแต่หนัง เนื้อ ขน ไข่ และน้ำมัน |
....ในปัจจุบันได้มีการนำนกกระจอกเทศมาปรับปรุงพันธุ์และเลี้ยงเป็นการค้ากันทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในยุโรป เช่น อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมันนี เนเธอแลนด์ และในทวีปออสเตรเลีย ในอเมริกานั้นเลี้ยงนกกระจอกเทศมากกว่า 3,000 ฟาร์ม หรือแม้แต่ในเอเชียก็มีการเลี้ยงที่ประเทศจีน มาเลเซีย อินโดนีเซีย ส่วนประเทศไทยก็มีการเลี้ยงบ้างแล้วแต่ไม่มากนัก |
นักวิทยาศาสตร์ (Smith, 1963) จำแนกนกกระจอกเทศออกเป็น 4 ประเภท คือ
1. Struthio camelus (Linnaeus) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาเหนือ (North Africa) |
2. Struthio molybdophanes (Reichennow) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบโซมาเลีย (Somalia) |
3. Struthio massaicus (Neumann) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาตะวันออก (East Africa) |
4. Struthio australis (Gurney) |
มีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบแอฟริกาใต้ (South Africa) ซิมบับเว นามิเบีย และบอสวานา |
สำหรับนกกระจอกเทศที่ปรับปรุงพันธุ์ขึ้นมาเลี้ยงเป็นการค้าในปัจจุบันนี้ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
|
1.พันธุ์คอแดง (Red Neck) |
ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus และ S.massaicus นกกระจอกเทศพันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีชมพูเข้ม ตัวผู้จะมีขนสีดำตลอดลำตัว ยกเว้นขนปลายหาง และขนปลายปีกจะมีสีขาว ส่วนตัวเมียจะมีสีน้ำตาลเทา มีขนาดตัวใหญ่มาก สูง 2.00-2.75 เมตร มีน้ำหนัก 105-165 กิโลกรัม ให้ผลผลิตเนื้อมาก แต่ไข่น้อย ตัวผู้ค่อนข้างดุ โดยเฉพาะในฤดูผสมพันธุ์ |
|
2.พันธุ์คอน้ำเงิน (Blue Neck) |
พัฒนามาจากพันธุ์ S.molybdophanes และ S.australis พันธุ์นี้จะมีลักษณะผิวหนังสีฟ้าอมเทา สีขนจะเหมือนกับพันธุ์คอแดง แต่ตัวจะเล็กกว่าเล็กน้อย ให้เนื้อน้อยกว่าพันธุ์คอแดง แต่ให้ไข่มากกว่า |
|
3.พันธุ์คอดำ (Black Neck African Black) |
พัฒนามาจากพันธุ์ S.camelus และ S.australis ลักษณะผิวหนังจะมีสีเทาดำ เท้าและปากสีดำ ตัวเล็ก ให้ผลผลิตเนื้อน้อย แต่ให้ไข่มากกว่าพันธุ์อื่น ๆ และให้ผลผลิตขนที่มีคุณภาพดี นอกจากนี้ยังมีนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันโดยทั่วไป |