หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงเป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2 -1

     

    ประวัติและความเป็นมาของเป็ดเทศพันธุ์ท่าพระ 2

              กองบำรุงพันธุ์สัตว์ กรมปศุสัตว์ ได้เห็นถึงความสำคัญของเป็ดเทศที่เลี้ยงอยู่ทั่วไป ทุกภาคของประเทศไทย เพราะเป็ดเทศเป็นสัตว์ปีกที่โตเร็ว ตัวใหญ่ ฟักไข่ได้เองโดยธรรมชาติ และร้องเสียงไม่ดัง กองบำรุงพันธุ์สัตว์จึงมีนโยบายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ท่าพระ เริ่มเลี้ยงเป็ดเทศในปี พ.ศ.2526 โดยซื้อเป็ดเทศพ่อพันธุ์ แม่พันธุ์สายสีดำจากจังหวัดต่างๆ ในภาคะตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 8 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น เลย หนองคาย นครพนม สุรินทร์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และนครราชสีมา นำมาเลี้ยงโดยแยกขังคอกละตัว ติดเบอร์พ่อพันธุ์แม่พันธู์ และเก็บตัวเลขการไข่ของแม่เป็ดเทศเป็นเวลา 1 ปี ซึ่งแม่เป็ดเทศไข่ได้ 77 ฟอง/ปี ไข่ 1 ชุด เฉลี่ย17 ฟอง และไข่ปีละ 4-5 ชุด หลังจากได้สถิติการไข่แล้ว จึงเก็บลูกที่เกิดจากการฟักจากแม่เป็ดเทศที่ไข่ดก เลี้ยงและเก็บสถิติเลขการไข่ ของลูกรุ่นที่ 1 (F1) ซึ่งไข่ได้ 90 ฟอง/ตัว/ปี ไข่ 1 ชุด เฉลี่ย 20 ฟอง ไข่ปีละ 4-5 ชุด ปัจจุบันสามารถเก็บสถิติการไข่ของเป็ดเทศในรุ่นที่ 3 (F3) โดยจะพัฒนาเป็ดเทศให้ไข่ได้ถึง 180 ฟอง/ตัว/ปี และเจริญเติบโตสามารถทำน้ำหนักตัวได้ 3,500 กรัม/ตัว ในเวลา 70 วัน

    ผลงานด้านวิจัยและพัฒนา

              ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ท่าพระ ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์เป็ดเทศจารุ่นพ่อแม่พันธุ์ ที่ซื้อมาจากเกษตรกร นำมาเลี้ยง เก็บสถิติการไข่ของแม่เป็ดเป็นเวลา 1 ปี ไข่ได้ 77 ฟอง/ตัว ไข่ 1 ชุด เฉลี่ย 17 ฟอง ไข่ปีละ 4-5 ชุด ระยะเวลาห่างของการไข่แต่ละชุด เฉลี่ย 52 วัน น้ำหนักไข่เฉลี่ยฟองละ 75 กรัม ทำการเก็บลูกเป็ดเทศจากแม่พันธุ์ที่ไข่ดกไว้ทำพันธุ์เป็นเป็ดรุ่น F1 เก็บสถิติการไข่ซึ่งไข่ได้ 90 ฟอง/ตัว/ปี หลังจากนั้นได้เก็บลูกเป็ดเทศทดแทนจากพ่อแม่รุ่น F1 ที่ไข่ดก จึงได้เป็ดเทศพ่อแม่พันธุ์รุ่น F2 และได้เก็บสถิติการไข่ของแม่เป็ดเทศ F2 ไข่ได้ 98 ฟอง/ตัว/ปี และได้หาค่าเฉลี่ยการไข่ของเป็ดแล้วเก็บเป็นเป็ดทดแทน รุ่น F3 โดยคัดจากแม่เป็ดที่ไข่ดกเกินจากค่าเฉลี่ยของเป็ดรุ่น F2 เพื่อคัดเลือกเป็ดรุ่น F3 ที่โตเร็วและลักษณะดีสีดำไว้ทำพันธุ์ ปัจจุบันได้คัดเลือกเป็ดเทศที่ตัวใหญ่ โตเร็ว และไข่ดกไว้ทำพันธุ์และส่งเสิรมิให้เกษตรกรนำไปเลี้ยงขยายพันธุ์ ซึ่งเป้าหมายของการคัดเลือกพันธุ์จะคัดเลือกให้เป็ดเทศไข่ได้ 150 ฟอง/ตัว/ปี

    การจัดการเป็ดเทศในระยะต่างๆ

    การเลี้ยงเป็ดเล็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 3 สัปดาห์

               การฟักไข่เป็ดเทศจะใช้เวลา 35 วัน เมื่อลูกเป็ดเทศเกิดออกมา นำลูกเป็ดไปเลี้ยงที่คอกอนุบาลซึ่งเตรียมไว้  โดยทำความสะอาดคอกอนุบาล อุปกรณ์การเลี้ยง พร้อมทั้งฆ่าเชื้อโรคด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและรมควัน
               บริเวณพื้นคอกควรปูด้วยแกลบหรือวัสดุรองพื้นอื่นๆ ที่สะอาดให้หนาประมาณ 2-3 นิ้ว จัดวางเครื่องกกหรือเครื่องให้ความอบอุ่น เช่น หลอดไฟให้เพียงพอเมื่อลูกเป็ดมาถึง มีแผงล้อมรอบเครื่องกกเพื่อกันไม่ได้ลูกเป็ดออกห่างเครื่องกกมากเกินไป
               เตรียมที่ให้น้ำและอาหารไว้ให้พร้อมและปริมาณเพียงพอ มีน้ำสะอาดให้กิน ใส่อาหารในรางอาหารให้ลูกเป็ดกินได้สะดวก วางที่ให้น้ำและอาหารกระจายให้ทั่วบริเวณเครื่องกก
               ถ้าบริเวณคอกกกลูกเป็ดมีพวกมดรบกวน ควรให้ยาฆ่ามดให้หมดก่อนนำเป็ดเข้าคอก 2 สัปดาห์ มดจะเป็นตัวทำอันตรายให้แก่ลูกเป็ด โดยกัดลูกเป็ดทำให้ลูกเป็ดตายได้
               รอบๆ บริเวณคอกอนุบาลควรมีผ้าหรือกระสอบป่านตัดเย็บล้อมรอบเพื่อป้องกันลมโกรกตัวลูกเป็ด
               อุณหภูมิที่เหมาะสมสำหรับลูกเป็ดในระยะ 7 วันแรกประมาณ 90-95 องศาF หลังจากนั้นลดอุณหภูมิลงประมาณ อาทิตย์ละ 5 องศาF ควรกกลูกเป็ดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ เมื่อลูกเป็ดแข็งแรงดีแล้วก็ไม่จำเป็นต้องกกอีก อุณหภูมิที่เหมาะสมกับการกกลูกเป็ด ควรสังเกตจากปฏิกิริยาลูกเป็ดด้วย ไม่ยึดจากการอ่านปรอทอย่างเดียว ถ้าลูกเป็ดนอนสุมทับกันเป็นกลุ่ม และมีเสียงร้อง แสดงว่าอุณหภูมิต่ำเกินไป ไม่เพียงพอต้องเพิ่มความร้อนให้ แต่ถ้าลูกเป็ดกระจายอยู่นอกเครื่องกกและยืนอ้าปากหอบ กางปีก แสดงว่าร้อนเกินไป ต้องลดอุณหภูมิลง ถ้าอุณหภูมิพอเหมาะเป็ดจะนอนราบกับพื้น กระจาย อยู่ทั่วไปในกกและรอบๆ กก ในระยะ 5 วันแรกของการกก ต้องดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ลูกเป็ดอาจนอนทับสุมกันตายได้ในช่วงนี้ และในกรณีที่เป็นช่วงฤดูร้อน อากาศร้อนมาก การกกลูกเป็ดควรระวังเรื่องความร้อนที่สูงเกินไป จะเป็นสาเหตุให้ลูกเป็ดเสียน้ำมาก ทำให้ลูกเป็ดแห้งและอัตราการพิการเพิ่มมากขึ้น ถ้าในเวลากลางคืนมีอุณหภูมิสูง ควรปิดเครื่องกก หรือใช้เฉพาะกลางคืน แต่ควรปิดม่านกันลมโกรก ควรขยายแผ่นล้อมออกทุกๆ 4-5 วัน การขยายออกจะมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศในแต่ละแห่ง การให้อาหารลูกเป็ดระหว่างกก ลูกเป็ดจะเริ่มหิวหลังจากออกไข่ 24-27 ชั่วโมง จึงควรมีน้ำที่ใหม่สะอาด และอาหารตั้งให้กินตลอดเวลา
               อาหารที่ให้ลูกเป็ดในระยะ 1-3 สัปดาห์แรก ควรเป็นอาหารเม็ดเล็กๆ เพื่อลูกเป็ดจะได้กินสะดวก ควรให้อาหารบ่อยๆ วันละประมาณ 4-5 ครั้ง รางอาหาร 1 รางต่อลูกเป็ด 50 ตัว หรือลูกเป็ด 1 ตัว ต้องการความยาวขงอรางอาหาร 1 นิ้ว กระติกใส่น้ำควรทำความสะอาดทุกวันๆ ละอย่างน้อย 2 ครั้ง น้ำต้องสะอาดปราศจากเชื้อโรค กระติกน้ำ 1 ใบ สามารถให้ลูกเป็ดกินได้ 50 ตัว
               ในกรณีที่ระยะทางขนส่งลูกเป็ดจากโรงฟักไกลนั้น เมื่อถึงคอกอนุบาลแล้วควรให้ลูกเป็ดได้กินน้ำที่มีวิตามินผสมอยู่เป็นเวลา 2 วัน เพื่อให้ลูกเป็ดแข็งแรงและคลายเครียด ทำให้กินอาหารได้ดี และโตเร็ว
     

    การเลี้ยงเป็ดเทศรุ่น อายุ 4-12 สัปดาห์

               เป็ดอายุ 4-12 สัปดาห์ เป็นช่วงอายุที่มีการเจริญเติบโตสูงมาก หลังจากระยะนี้ไปแล้วการเจริญเติบโตจะเริ่มลดลง ดังนั้น ในช่วงนี้จึงควรเอาใจใส่เป็นพิเศษ
               โรงเรือนสำหรับเลี้ยงควรเป็นโรงเรือนที่แห้งสะอาด ปราศจากเชื้อโรค สามารถป้องกันแดดและฝนได้ดี พื้นโรงเรือนควรสะอาดไม่สกปรก ไม่มีน้ำขัง ที่ให้น้ำควรตั้งอยู่บนพื้นสแลทที่สามารถระบายน้ำที่หกจากเป็ดเทศกิน ไม่ทำให้พื้นแฉะ
               รางอาหารควรวางห่างจากรางน้ำ ควรมีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวาให้เป็ดเทศกินจะช่วยลดต้นทุนในการผลิตอาหาร ควรมีโปรตีน 16% มีน้ำสะอาดให้กินตลอดเวลา เพราะเป็ดระยะนี้ต้องการน้ำมาก
               ถ้าเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นเป็ดเนื้อ ควรจำหน่ายเป็ดเทศช่วงอายุ 10-12 สัปดาห์ เพราะเป็นช่วงที่เจริญเติบโตดีมาก และหน้าเป็ดเทศยังเป็นปกติธรรมดา แต่ถ้าเลี้ยงต่อไปจนถึงอายุ 16 สัปดาห์ หน้าเป็ดจะเริ่มมีคิ้วสันนูนและสีแดง ซึ่งเป็นลักษณะประจำพันธุ์ของเป็ดเทศ การนำไปจำหน่ายจะทำให้ตลาดไม่ยอมรับ เพราะผู้บริโภคยังรังเกียจอยู่ และการเจริญเติบโตหลังจากอายุ 12 สัปดาห์ไปแล้วเริ่มลดลง

    การเลี้ยงเป็ดเทศหนุ่มสาว อายุ 13-24 สัปดาห์

               เป็ดจะกินอาหารมากขึ้น การเจริญเติบโตลดลง สิ้นเปลืองอาหาร แต่ว่าเป็ดเทศขนาดนี้ ขนยังมีการเจริญเติบโตสูง ดังนั้นในช่วงนี้ จึงเลี้ยงเพื่อเอาขนมากกว่าเนื้อ
               ให้อาหารให้เพียงพอสำหรับรักษาขนาดและน้ำหนักที่ได้มาตั้งแต่ช่วงแรก และให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย อาหารมีโปรตีน 14% ตัดหญ้าสด ผักสด หรือผักตบชวาให้กินเพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิต
               มีน้ำสะอาด ปราศจากเชื้อโรคให้กินตลอดเวลา

    การเลี้ยงเป็ดเทศพ่อแม่พันธุ์

               เป็ดเทศจะเริ่มไข่เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ (7 เดือน) ช่วงนี้จึงต้องเอาใจใส่พ่อแม่พันธุ์ โดยเฉพาะการให้อาหาร วันหนึ่งควรให้อาหาร 2 ครั้ง เช้าและเย็น เพื่อให้เป็ดได้กินอาหรและสามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
               ปริมาณอาหารให้แม่พันธุ์ 130-150 กรัม/ตัว/วัน พ่อพันธุ์ 200-250 กรัม/ตัว/วัน ปริมาณอาหารที่ให้กินขึ้นอยู่กับสภาพของเป็ด ถ้าแม่พันธุ์อยู่ในช่วงกำลังไข่จะต้องการอาหารมาก แต่เมื่อไข่แล้วปริมาณความต้องการจะลดลง
               ในปีหนึ่งๆ จะไข่ประมาณ 4-5 ชุด ชุดหนึ่ง 12-50 ฟอง เป็ดเทศสามารถไข่ได้ 2 ปี ให้ปริมาณได้ใกล้เคียงกับปีแรก แม่เป็ดชอบไข่ในที่มืดสงบ ไม่ชอบให้เป็ดตัวอื่นมารบกวนรังไข่ของมัน
               ดังนั้นในคอกเป็ดพันธุ์ควรจะมีรังไข่บุด้วยฟางหรือวัสดุแห้งๆ เช่น แกลบรองพื้น จัดไว้ในมุมมืดของคอก หรือไม่ก็ไใช้ฝาไม้กระดานวางพิงฝาด้านข้างของคอกเพื่ออำพรางแสง แล้วจึงวางรังไข่ไว้ใต้กระดานประมาณ 1 อันต่อแม่เป็ด 2-3 ตัว จะช่วยให้เป็ดได้ไข่ดีและไม่แย่งรังกันไข่
               ควรมีผัก หญ้าสด หรือผักตบชวาให้กินด้วย จะช่วยลดต้นทุนและประหยัดอาหาร มีน้ำสะอาดปราศจากเชื้อโรคให้กินตลอดเวลา อาหารที่ให้มีโปรตีน 15-18%
               ลักษณะของเป็ดที่ให้ไข่ จะมีขนสีดำเป็นมัน หน้าแดง ร้อง ไข่ และสภาพขนที่คอจะเริ่มรัดและเล็ก


    • Update : 6/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch