หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเลี้ยงปลาแรด

    การเลี้ยงปลาแรด

    ปลาแรด มีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซียแถบหมู่เกาะสุมาตราชวาบอร์เนียวและหมู่เปลาแรดมีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งว่า

     “ปลาเม่น”กาะอินเดียตะวันออกในประเทศไทยภาคกลางพบตามแม่น้ำ ลำคลอง  ตั้งแต่จังหวัดนครสวรรค์ถึงจังหวัด

    พระนครศรีอยุธยาภาคใต้ที่จังหวัดพัทลุงและแม่น้ำตาปี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ปัจจุบันปลาแรดที่อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำ

    ธรรมชาติมีจำนวนลดน้อยลง  เนื่องจากแหล่งน้ำตื้นเขินขาดแหล่งวางไข่และแหล่งเลี้ยงลูกปลาวัยอ่อนที่เหมาะสม การ

    เลี้ยงปลาแรดในกระชังยังไม่แพร่หลายมีอยู่เฉพาะบริเวณแถบจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ส่วนการเลี้ยงปลาแรดในบ่อ

    ดินขนาดใหญ่ยังมีอยู่น้อยการเพาะขยายพันธุ์และเลี้ยงปลาแรดเป็นจำนวนมากจะทำให้มีปลาแรดบริโภคกันอย่างกว้าง

    ขวาง และช่วยอนุรักษ์ปลาแรดมิให้สูญพันธุ์กระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุ ผลผลิตปลาแรดที่เลี้ยงในกระชัง

    ที่อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี

     

      อุปนิสัย

                    ปลาแรดชอบอยู่ในน้ำนิ่งตื้น ๆ ตามแม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึงและทะเลสาบเป็นปลาที่ค่อนข้างตื่นตกใจง่ายแต่

    เชื่องช้า ผู้เลี้ยงสามารถฝึกหัดให้เชื่องได้ง่ายโดยวิธีการให้อาหาร ชอบอยู่ในที่เงียบสงัด มีพันธุ์ไม้น้ำที่มีอาหารสมบูรณ์

    ปลาแรดที่ยังมีขนาดเล็กมักจะทำอันตรายกันเอง เป็นปลาที่ค่อนข้างทรหดอดทนเมื่อจับขึ้นจากน้ำก็สามารถมีชีวิตอยู่ได้

    นาน ๆ เพราะมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจ (accessory respiratory organ) มีลักษณะเป็นเยื่ออ่อน ๆ อยู่ใน

    หัวตอนเหนือเหงือก  โดยมีคุณสมบัติเก็บน้ำไว้หล่อเลี้ยงให้ความชุ่มชื้นแก่เหงือกในเวลาที่ปลาขึ้นพ้นน้ำ    ทำให้ปลามี

    ชีวิตอยู่ได้นานกว่าปกติ

     

      รูปร่าง

                    ปลาแรดเป็นปลาในตระกูลเดียวกับปลาหมอไทย ปลาหมอตาล ปลากริม ปลากัด ปลากระดี่นาง ปลากระดี่หม้อ

    ปลาสลิด ซึ่งปลาในครอบครัวนี้มีลักษณะเด่นคือเป็นปลาที่ค่อนข้างอดทน   มีลำตัวสั่นป้อมและแบนข้าง   หัวค่อนข้างเล็ก

    ปลาเล็กเฉียงขึ้นยึดหดได้ฟันแข็งแรง เกล็ดใหญ่ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนหรือค่อนข้างเทาครีบหลังครีบก้นยาวมากครีบหลัง

    มีจำนวนก้านครีบแข็ง 12-16 อัน ก้านครีบอ่อน 10-11 อัน  ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 9-13 อัน  ก้านครีบอ่อน 17-18 อัน

    ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน  ก้านครีบอ่อน 5 อัน  ก้านครีบอ่อนคู่แรกของครีบท้องมีลักษณะเป็นเส้นยาว  ครีบหางกลม

    เกล็ดตามเส้นข้างตัว 30-33 เกล็ดมีจุดดำที่โคนหาง 1 จุด สีดำจางเป็นแถบพาดขวางลำตัวข้างละ 8 แถบ มีสีเงินรอบ ๆ

    จุดทำให้แลเห็นจุดเด่นขึ้นลักษณะเช่นนี้ดูคล้ายกระดี่หม้อแต่ปลากระดี่หม้อมีจุดดำข้างละ 2 จุด   เมื่อโตมีนอที่หัว สีตอน

    บนของลำตัวค่อนข้างเป็นสีน้ำตาลปนดำ ตอนล่างมีสีเงินแกมเหลืองส่วนจุดที่โคนหางจะเลือนหายไป

     

      การอนุบาลลูกปลา

                    บ่ออนุบาลลูกปลาควรมีขนาด 400-800 ตารางเมตร โดยปล่อยในอัตรา100,000 ตัว/ไร่ ส่วนบ่อซีเมนต์ 5 ตัว

    /ตารางเมตร ในช่วง 10 วันแรกที่ลงบ่อดินให้ไรแดงเป็นอาหาร  และ 10 วันต่อมาให้ไรแดงและรำผสมปลาป่นอัตราส่วน

    1:3 สาดให้ทั่วบ่อ  หลังจากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นอาหารต้ม  หรืออาหารเม็ดลอยน้ำวันละ ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์  อนุบาลจน

    กระทั่งลูกปลามีขนาด 3 นิ้ว เพื่อนำไปเลี้ยงเป็นปลาขนาดตลาดต้องการต่อไป ลูกปลา 1 เดือนจะมีขนาดยาวประมาณ 1ซม.

     เดือนที่ 2 จะมีความยาว 2-3 ซม.ซึ่งจะเป็นขนาดลูกปลาที่จะนำไปเลี้ยงเป็นปลาโตต่อไป แหล่งพันธุ์ปลาแรด เนื่องจากการ

    เพาะพันธุ์เพื่อจำหน่ายลุกยังมีไม่มาก ส่วนใหญ่จะรวบรวมลูกปลาจากธรรมชาติ ลูกปลาแรดขนาดประมาณ 3 นิ้ว ซึ่งนำไป

    เลี้ยงเป็นปลาขนาดโต และปลาสวยงามราคาตัวละ 3-4 บาท

     

      วิธีการเลี้ยง

            สถานที่เลี้ยงปลาแรดที่นิยม มี 2 ลักษณะคือ

                    1.การเลี้ยงในบ่อดิน

                    2.การเลี้ยงในกระชัง

            1. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน อัตราการปล่อย 1 ตัว/ตารางเมตร ขนาดบ่อที่ใช้เลี้ยง1-5 ไร่ จะใช้ เวลาเลี้ยง 1 ปี

    ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กก. การเลี้ยงปลาแรดในบ่อจะปล่อยปลาแรดลงเลี้ยงรวมกับปลากินพืช อื่น ๆ ในบ่อที่มีพืชน้ำ   หรือ

    วัชพืชขึ้น   เพื่อใช้ปลาแรดกินและเป็นการทำความสะอาดบ่อไปในตัว   ปลาแรดชอบกินพืชน้ำ ไข่น้ำ แหน  ผักพังพวย

    ผักบุ้ง เศษอาหารที่เหลือจากโรงครัว แมลงในน้ำ ตัวหนอน ใส้เดือน และปลวก เป็นอาหาร การเลี้ยงปลาแรดเพื่อความ

    สวยงาม นิยมเลี้ยงปลาแรดในบ่อดิน บ่อซีเมนต์ หรือตู้กระจกที่ไม่กว้างนัก เพราะปลาแรดสามารถปรับตัวให้มีชีวิตอยู่

    ในที่แคบได้   แต่มีอัตราการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า   นอกจากการเลี้ยงในดินแล้ว  ยังนิยมเลี้ยงในกระชังเช่นที่แม่น้ำ

    สะแกกรัง จังหวัดอุทัยธานี

           2. การเลี้ยงปลาแรดในกระชัง การเลี้ยงปลาแรดในกระชังได้รับความนิยมมากขึ้นโดยการเปลี่ยนจาก กระชังไม้

    มาเป็นกระชังเนื้ออวน เหมาะสมกับภาวะปัจจุบันซึ่งขาดแคลนไม้ในการสร้างกระชังดังนั้นการเตรียมสถานที่เลี้ยงปลา

    ในกระชังจะต้องสร้างแพพร้อมทั้งมุงหลังคากันแดด แพที่สร้างใช้ไม้ไผ่มัดรวมกันและเว้นที่ตรงกลางให้เป็นช่องสี่

    เหลี่ยม   เพื่อนำกระชังตาข่ายไปผูก กระชังตาข่ายกว้าง 3 วา ยาว 6 วา ลึก 1.8 เมตร   กระชังดังกล่าวสามารถเลี้ยง

    ปลาแรดขนาด 3นิ้ว ได้ 3,000 ตัว การลงทุนสร้างแพ 1 หลัง  และซื้อตาข่ายทำกระชัง 3 กระชัง เป็นเงิน 30,000

    บาทกระชังเลี้ยงปลาแรด ซึ่งใช้ไม้เนื้อแข็ง เป็นตัวกระชัง มีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี กระชังเลี้ยงปลา ซึ่งใช้ไม้

    เนื้อแข็ง เป็นโครงร่างกระชัง ส่วนตัวกระชังใช้วัสดุจำพวกไนลอน หรือโพลีเอทีลีน ทุ่นลอยที่ช่วยพยุงให้กระชังลอย

    น้ำได้ จะใช้แพลูกบวบ หรือถังน้ำมันปลาแรดสามารถเลี้ยงเป็นปลาเนื้อ และปลาสวยงาม โครงสร้างกระชังที่ใช้เลี้ยง

    ปลา ประกอบด้วย

                1.โครงร่างกระชัง ส่วนมากเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอาจทำด้วยไม้ไผ่ ไม้ท่อเหล็กชุบหรือท่อน้ำ พี.วี.ซี.

                2.ตัวกระชัง เป็นส่วนที่รองรับและกักกันสัตว์น้ำให้อยู่ในพื้นที่จำกัด วัสดุที่ใช้ได้แก่ เนื้ออวนจำพวกไนลอน

     โพลีเอทีลีน หรือวัสดุจำพวกไม้ไผ่ ไม้เนื้ออ่อน ไม้เนื้อแข็ง

                3.ทุ่นลอย เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยพยุงให้กระชังสามารถลอยน้ำอยู่ได้ สามารถรับน้ำหนักของตัวกระชัง สัตว์น้ำที่

    เลี้ยงและเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาที่ลงไปปฏิบัติงานบนกระชัง สำหรับอายุการใช้งานนั้น ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ดังนี้

                            กระชังไม้ไผ่ จะมีอายุการใช้งาน 1-2 ปี    

                            กระชังไม้เนื้อแข็งจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า 5 ปี

                            กระชังอวน จะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-4 ปี

        บริเวณที่เหมาะสมแก่การวางกระชังนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในบริเวณที่มีสภาพดีน้ำมีคุณสมบัติเหมาะสมในการเลี้ยง

    ปลา ห่างไกลจากแหล่งระบายน้ำเสียหรือน้ำทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งน้ำนั้นไม่ควรมีปัญหาการเกิดโรค

    ปลา ข้อกำจัดของการเลี้ยงในกระชัง

                1.สภาพแวดล้อมในบริเวณที่ตั้งกระชังต้องเหมาะสม เช่น คุณภาพของน้ำต้องดีมีปริมาณออกซิเจน พอเพียง

    กระแสน้ำไหลในอัตราที่พอเหมาะ  และไม่เกิดปัญหาโรคปลาตลอดระยะเวลาที่เลี้ยงสถานที่ตึงกระชังควรตั้งอยู่ใน

    บริเวณที่กำบังลมหรือคลื่นแรง ในกรณีที่เกิดพายุหรือน้ำท่วมโดยเฉียบพลัน

                2.ปลาที่ปล่อยเลี้ยงควรมีขนาดใหญ่กว่าตาหรือช่องกระชัง หากปลามีขนาดเล็กหรือเท่ากับขนาด ของช่อง

    กระชัง ปลาจะลอดหนึจากจากกระชังไป หรือถ้าไม่ลอดก็จะเข้าไปติดตายอยู่ในระหว่างช่องกระชังได้

                3. ปลาที่เลี้ยงควรมีลักษณะรวมกินอาหารพร้อม ๆ กันในทันทีที่ให้อาหารเพื่อให้ปลากินอาหารให้ มากที่สุด

    ก่อนที่อาหารจะถูกกระแสน้ำพัดพาออกไปนอกกระชัง

                4. ในกรณีที่แหล่งน้ำเลี้ยงผิดปกติ เช่น เกิดสารพิษ น้ำมีปริมาณมากหรือน้อยในทันที อาจจะเกิด ปัญหากับ

    ปลาที่เลี้ยงซึ่งยากต่อการแก้ไข หากประสบปัญหาดังกล่าวควรขนย้ายปลาไปเลี้ยงที่อื่น

     

      อัตราการปล่อย

                        จากการทดลองของสมประสงค์และคณะ (2534) รายงานว่าอัตราการปล่อย 2 ตัว ต่อตารางเมตร มี

    อัตราการเจริญเติบโตที่ดีที่สุด  และให้ผลกำไรมาก คือเลี้ยงบ่อขนาด 400 ตารางเมตร  ในช่วงระยะเวลา 8 เดือน

    จะได้กำไรประมาณ 4,000 บาท ถ้าปล่อยในบ่อขนาด 1 ไร่ อาจจะได้กำไรถึง 15,972.12 บาทในช่วงเวลาเพียง 8

    เดือนเท่านั้น

     

      อาหาร

                    ปลาแรดเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย กินพืชและสัตว์เป็นอาหาร เมื่อยังมีขนาดเล็กชอบกินอาหารพวกสัตว์ เล็ก ๆ

    ได้แก่ แพลงก์ตอน ลูกน้ำ ปลวก ลูกกบ ลูกเขียด ตัวหนอน ส่วนปลาที่มีขนาดโตเต็มวัยชอบกินอาหารจำพวกผักบุ้ง

    แหนจอก ผักกระเฉด ใบมันเทศส่วนอ่อนของผักตบชวา ใบผักกาด ใบข้าวโพด สาหร่ายและหญ้าอ่อน นอกจากนี้

    ให้อาหารประเภทรำต้ม ข้าวสุก เศษอาหาร กากมะพร้าวเป็นครั้งคราวก็ให้ผลการเจริญเติบโตดี ปลาแรดชอบมาก

    เหมาะสำหรับการขุนพ่อแม่ปลาในช่วงฤดูวางไข่และผสมพันธุ์ปลาจะให้ไข่บ่อย และมีจำนวนเม็ดไข่มากขึ้นอีกด้วย

     อัตราส่วนอาหารสำเร็จสำหรับปลากินพืช โดยมีอาหารโปรตีนอย่างน้อย 18-25% ชนิดอาหาร % โดยน้ำหนัก

    ปลาป่นอัดน้ำมัน 12 กากถั่วลิสงป่น 23 รำละเอียด 40 ใบกระถินป่น 4 วิตามินและแร่ธาตุ 1 ปลายข้าวหัก 20

    รวม 100

     

      การเจริญเติบโต

                    ลูกปลาแรดอายุ 3 เดือน จะมีความยาว 3-5 ซม.

                    ลูกปลาแรดอายุ 6 เดืนน จะมีความยาว 10-15 ซม.

                    ปลาแรดที่มีอายุ 1 ปี จะมีความยาว 20-30 ซม.

     

      การป้องกัน

                    ปลาแรดที่เลี้ยงในบ่อดินมักจะประสบปัญหาตัวปลามีกลิ่นโคลน แต่ถ้าเลี้ยงในกระชังจะไม่มีปัญหาดัง

    กล่าว เนื่องจากน้ำจะถ่ายเทตลอดเวลาสำหรับการแก้ไขกลิ่นเหม็นโคลนในเนื้อปลา โดยการเปลี่ยนน้ำพร้อมทั้งควบ

    คุมคุณภาพน้ำและอาหารที่เลี้ยงปลาในช่วงก่อนจับประมาณ 3 วัน

     

      โรคและศัตรู

                    โรค การเลี้ยงปลาแรดไม่ปรากฏว่ามีโรคระบาดร้ายแรง จะมีบ้างเมื่อลูกปลายังมีขนาดเล็ก คือ เชื้อรา

     ศัตรู ปลาแรดเป็นปลาที่มีนิสัยเชื่องช้า จึงมักตกเป็นเหยื่อของปลาอื่นที่กินเนื้อเป็นอาหารซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า เช่น

    ปลาช่อน ปลาชะโด ปลาบู่ ปลากราย ปลากะสง นอกจากนี้มีกบ เขียด เต่า ตะพาบน้ำ และนกกินปลา เป็นต้น

     

      ต้นทุนและผลตอบแทน

                    การเลี้ยงปลาแรดให้มีขนาดตลาดต้องการ ใช้ระยะเวลา 1 ปี ปลาจะมีน้ำหนัก 1 กิโลกรัม โดยการลง

    ทุนประมาณ 30 บาท แต่สามารถจำหน่ายได้ 50-80 บาท เมื่อเปรียบเทียบต้นทุนกับกำไร โดยลงทุน 12,479

    บาท กำไร 4,000 บาท คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะได้กำไร 32% ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ค่อนข้างสูง

                    แนวโน้มการเลี้ยงปลาแรดในอนาคต การเลี้ยงปลาแรดส่วนใหญ่ได้พันธุ์ปลามาจากการรวบรวมจาก

    แหล่งน้ำธรรมชาติและการเพาะพันธุ์ปลาโดยวิธีธรรมชาติในอนาคตหากกรมประมงประสบความสำเร็จในการ

    ฉีดฮอร์โมนกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์แล้วปล่อยให้ผสมพันธุ์แบบธรรมชาติได้ก็นับว่าเป็นแนวทางที่ดีเพราะสามารถกำ

    หนดและคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ได้ ทั้งยังอาจจะให้ปริมาณไข่มากกว่าด้วยอันจะเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้เลี้ยง

    ปลาแรดได้มีพันธุ์ปลาเพียงพอต่อการเลี้ยง และสนองตอบความต้องการของตลาดผู้บริโภคปลาเนื้อและปลาสวย

    งาม นอกนากการเลี้ยงปลาแรดในกระชัง ขณะนี้มีเกษตรกรบางรายเลี้ยงปลานิลในกระชัง


    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch