การเลี้ยงปลาตะเพียน
การเลี้ยงปลาตะเพียนมีรูปแบบการเลี้ยงหลายลักษณะ ได้แก่ การเลี้ยงในบ่อดิน ในนาข้าว ในร่องสวน และการเลี้ยงปลาในกระชัง ส่วนมากนิยมเลี้ยงปลาในบ่อดินกันมาก
|
การเลี้ยงปลาตะเพียนในบ่อดิน
บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาตะเพียนควรมีขนาดตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไปน้ำลึก 1 เมตร ควรมีการเตรียมบ่อโดยโรยปูนขาว อัตรา 1 กิโลกรัม ต่อเนื้อที่บ่อ 10 ตารามเมตร ถ้าเป็นบ่อเก่าควรกำจัดวัชพืชออกให้หมด ลอกโคลนเลนและแต่งคันบ่อให้เรียบร้อย ตากบ่อให้แห้งประมาณ 7 วัน การใส่ปุ๋ยถ้าเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักใส่ในอัตรา 50 – 200 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นปุ๋ยวิทยาศาสตร์ ใช้ 4 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ยยูเรีย) สำหรับอัตราการปล่อยปลาที่เหมาะสมนั้นควรปล่อย 2 – 3 ตัวต่อตารางเมตร
|
|
อาหาร |
ปลาตะเพียนขาวสามารถกินอาหารได้หลายชนิด แต่โดยธรรมชาติแล้วปลาตะเพียนขาวขนาดเล็กไม่เกิน 3 นิ้ว จะกินพวกแพลงก์ตอนพืช และแพลงก์ตอนสัตว์ เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจึงเปลี่ยนมากินอาหารเป็นพวกพืชน้ำชั้นสูงขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวเพื่อให้ได้ผลผลิตสูงควรมีทั้งการสร้างอาหารธรรมชาติในบ่อเลี้ยงในระยะเริ่มต้น เพื่อลดอัตราการตายเนื่องจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารของปลาพร้อมทั้งการให้อาหาร สมทบที่มีโปรตีนในอาหารที่เหมาะสม |
|
การให้อาหาร |
การให้อาหารปลาตะเพียนขาวจะให้ในอัตรา 3 – 10 % ของน้ำหนักปลาที่เลี้ยง (ปลา 100 กรัมให้อาหาร 3 – 10 กรัม) ขึ้นอยู่กับอายุและขนาดของปลา ปลาขนาดเล็กจะต้องการอาหารที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่ โดยให้วันละ 1 – 2 ครั้ง การให้อาหารควรให้ตรงเวลา และสม่ำเสมอในบริเวณเดียวกันทุกครั้ง |
|
โรคพยาธิและการป้องกันรักษา |
ปลาตะเพียนมีการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมได้ค่อนข้างไว เช่นการเปลี่ยนอุณหภูมิในรอบวัน ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ความเป็นกรด – ด่างของน้ำ ตลอดจนสารพิษต่าง ๆ ที่มากระทบ ดังนั้นการจัดการด้านคุณภาพน้ำที่ใช้เลี้ยงปลามีความจำเป็นเพราะเป็นการป้องกันการเกิดโรคไว้ล่วงหน้าก่อน |
|
สาเหตุที่ทำให้ปลาเป็นโรค |
d นำลูกปลาติดโรค – พยาธิมาเลี้ยงโดยได้กำจัดโรคพยาธิเสียก่อน
d เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป
d ให้อาหารมากเกินไป
d น้ำมีคุณภาพเสื่อมโทรมลง
d คุณภาพอาหารต่ำหรือไม่สด
|