หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การเพาะเลี้ยงปลาไน
    การเพาะเลี้ยงปลาไน
    รูปร่างลักษณะ
                ปลาไนเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งอยู่ในจำพวกปลาตะเพียน  มีร่างกายแข็งแรงและรูปลักษณะคล้ายปลาตะเพียน  ปลาเล็ก  ไม่มีฟัน  ริมฝีปากหนา  และมีหนวดสี่เส้น  ครีบหลังเป็นครีบเดี่ยวยาวติดกันเป็นพีด  สีของลำตัวจะมีน้ำหนักเป็นสีเงินปนเทา  บางทีก็เหลืองอ่อน  หรือบางตัวเป็นสีทอง
                ปลาไนชอบอาศัยอยู่ตามแม่น้ำ  ลำคลอง  หนอง  บึง  ที่มีพื้นเป็นดินโคลน  กระแสน้ำไหลอ่อนเกือบจะนิ่ง  ชอบอยู่ในน้ำอุ่นมากกว่าในน้ำเย็นไม่ชอบน้ำใสจนเกินไป  โดยปกติมีนิสัยขลาด  แต่สามารถฝึกให้เชื่องได้โดยวิธีการให้อาหาร  ชอบวางไข่ในพื้นที่ตื้น  เป็นปลาที่อดทนต่อดินฟ้าอากาศปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติได้รวดเร็ว  ดังนั้น จึงเป็นปลาที่เลี้ยงง่าย  โตเร็ว
     
    ลักษณะเพศและการแพร่ขยายพันธุ์
                ลักษณะเพศ  รูปร่างลักษณะภายนอกของปลาไนตัวผู้และตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก  การสังเกตลักษณะของเพศได้  ต้องอาศัยความชำนาญ  คือตัวเมียมีลำตัวป้อม  ช่วงท้องตอนล่างอวบใหญ่แบน  ส่วนตัวผู้มีลำตัวเรียวยาว  โดยเฉพาะในฤดูวางไข่  ตัวเมียท่องจะอูมเป่งออกมาทั้งสองข้าง  พื้นท้องนิ่ม  หากเอามือบีบท้องปลาเบาๆ  ไข่จะไหลออกมาทางช่องเพศ  ส่วนปลาตัวผู้  พื้นท้องไม่อูมเป่งแต่พื้นท้องจะมีความตึงค่อนไปทานแข็ง  ถ้าเอามือบีบไล่ไปทางช่องทวารเบาๆ  จะมีน้ำสีขาวๆ  คล้ายน้ำนมไหลออกมาจากช่องเพศ  และถ้าเอามือลูบที่แก้มหรือเกล็ดตามตัวจะรู้สึกสาก  ส่วนของตัวเมียจะมีลักษณะลื่นกว่า
                ฤดูวางไข่  ย่อมแตกต่างกันบ่างตามแต่อากาศและฤดูกาลของแต่ละประเทศ  เช่น  ปลาไนที่เลี้ยงอยู่ในบ่อเมืองกวางตุ้ง  ประเทศจีน  จะวางไข่ในเดือนธันวาคม  ในฮ่องกง  ปลาไนจะวางไข่ในเดือนมกราคม  และในแถบเยงซี  ปลาไนจะวางไข่ตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน  ในญี่ปุ่นฤดูวางไข่ของปลาไหนเริ่มตั้งแต่  เดือนเมษายน  ถึง เดือนพฤษภาคม  สำหรับในประเทศไทย  ปลาไนสามารถที่จะวางไข่ได้ทุกฤดู  แต่ก็มีระยะหนึ่งซึ่งปลาไนสามารถวางไข่ได้มากที่สุด  ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน  ปลาไนจะเติบโตพอที่จะสืบพันธุ์ได้  เมื่อมีอายุประมาณ  6  เดือน  ความยาวประมาณ  25  ซม.  ในฤดูหนึ่ง  แม่ปลาตัวหนึ่งอาจวางไข่ได้ถึง  2  ครั้ง
     
    บ่อเลี้ยงปลาไน
                บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาไน  ควรแบ่งออกเป็น  3  ชนิด  คือ 
    1.  บ่อผสมพันธุ์สำหรับพ่อ แม่ปลา    บ่อผสมพันธุ์  ไม่ควรลึกหรือมีขนาดใหญ่โตนัก  ควรมีขนาดประมาณ  50  ตารางเมตร  ความลึกของน้ำประมาณ  1  เมตร  เหมาะสำหรับแม่ปลาขนาด  1-2  กิโลกรัม  จำนวน  2-4  ตัว น้ำที่จะระบายเข้าบ่อควรเป็นน้ำสะอาดไม่ใสหรือขุ่นจนเกินไป  เพราะจะทำให้ไข่ปลาเสียเนื่องจากเชื้อรา
    2.  บ่ออนุบาล  เป็นบ่อที่ใช้ฟักไข่ปลาที่แม่ปลาวางไข่ในบ่อผสมพันธุ์ขนาดของบ่อควรมีเนื้อที่ประมาณ  400-800  ตารางเมตร  ความลึกของน้ำไม่เกิน  1  เมตร  ก่อนย้ายไข่จากบ่อผสมพันธุ์มาฟักในบ่ออนุบาล  ต้องจับศัตรูของลูกปลาออกให้หมด  เช่น  กบ  เขียด  ปลากุก  ปลาช่อน  ฯลฯ  บ่อนุบาลนี้อาจใช้เป็นบ่อเลี้ยงด้วยก็ได้
    3.  บ่อเลี้ยง  ใช้เลี้ยงลูกปลาที่มีอายุตั้งแต่  2-3  เดือนขึ้นไป  โดยแยกมาจากบ่ออนุบาล  บ่อเลี้ยงนี้จะใช้เลี้ยงปลาไนจนเติบโตได้ขนาดที่จะขายได้  ดังนั้นบ่อเลี้ยงจึงควรเป็นบ่อขนาดใหญ่  และมีน้ำลึกประมาณ  1-2  เมตร  ตลอดปี
     
    การเลี้ยงลูกปลา
                ลูกปลาอายุประมาณ  3-4  สัปดาห์ ขนาดตัวยาว  3-5  ซม.  นั้นมีโอกาสตายได้ง่ายมาก ดังนั้นการให้อาหารในระยะนี้จึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
                1.  ลูกปลาขนาดยาวไม่เกิน  3  ซม.  จะมีอวัยวะและเครื่องย่อยอาหารภายในร่างกายไม่แข็งแรงดีนัก  อาหารในระยะนี้จึงต้องเป็นอาหารธรรมชาติที่ละเอียดอ่อน  ได้แก่  พวกพืช  และไรน้ำเล็กๆ  ซึ่งมีในน้ำ
                วิธีที่จะทำให้อาหารธรรมชาติในบ่อลูกปลาหรือบ่ออนุบาลควรใช้มูลสัตว์ที่ตากแห้งใส่ลงในบ่ออนุบาล  และควรทำเป็นสองระยะ  ระยะแรกควรใส่ปุ๋ยในเวลาที่ตากบ่อก่อนระบายน้ำเข้า  ประมาณ  250-300  กิโลกรัมต่อไร่  ระยะหลังควรใส่ปุ๋ยหลังจากที่ลูกปลาอยู่ในบ่ออนุบาลแล้ว  ในอัตราครั้งละครึ่งหนึ่งของระยะที่เคยใส่ในตอนแรก
                บ่อที่มีอาหารธรรมชาติมากหรือน้อยนั้นสังเกตได้จากสีของน้ำ  ถ้าน้ำมีสีเขียวมากแสดว่ามีอาหารจำพวกพืชเล็กๆ  อยู่มาก  แต่ถ้าน้ำในบ่อมีสีค่อนข้างคล้ำ  มักจะมีสีอาหารจำพวกไรน้ำมาก  ส่วนวิธีที่จะใช้วัดอาหารธรรมชาติในบ่อว่ามีเพียงพอหรือไม่  ควรใช้มือจุ่มลงไปในน้ำ  ให้ลึกประมาณถึงข้อศอก  ถ้ามองไม่เห็นฝ่ามือ  แสดงว่ามีอาหารเพียงพอ  แต่ถ้าน้ำใสจนแลเห็นฝ่ามือก็แสดงว่ามีอาหารธรรมชาติน้อย  ควรเติมปุ๋ยลงไปอีก
                2.  ลูกปลาขนาดยาวเกินกว่า  3  เซนติเมตร  อาหารที่ให้ควรเป็นพวกรำ  ปลายข้าวบด  กากถั่วเหลือง  อาหารเหล่านี้ทำให้เป็นผงโรยตามข้างบ่อในตอนเช้าและตอนเย็น
                ลูกปลาที่เลี้ยงในบ่ออนุบาลเหล่านี้  เมื่อมีขนาด 5-7  เซนติเมตร  หรือ 2-3  นิ้วฟุต  ก็สามารถนำลงไปเลี้ยงในบ่ออื่นต่อไปได้
     
    การเลี้ยงปลาใหญ่
                อาหารของปลาใหญ่  แบ่งออกเป็น  2  ประเภท  คือ
                1.  อาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยง  นอกจากพืชเล็กๆ  และพวกไรน้ำแล้ว  ยังมีพวกตะไคร่น้ำ  แหน  ตัวอ่อนของแมลง  แมลง  ไส้เดือนเล็กๆ  และพวกลูกหอย  ลูกกุ้ง  ฯลฯ   การที่จะทำให้มีอาหารธรรมชาติอยู่ในบ่ออย่างอุดมสมบรูณ์  จะต้องใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปในบ่ออยู่เสมอ  การที่จะเพิ่มปุ๋ยให้มีปริมาณมากน้อยเพียงใด  ตลอดจนจำนวนครั้งที่จะใส่ปุ๋ย  ควรสังเกตจากสีของน้ำในบ่อเป็นเกณฑ์ 
               2.  อาหารสมทบที่ควรให้เพิ่มเติม  เนื่องจากอาหารธรรมชาติซึ่งมีอยู่ในบ่ออาจจะไม่เพียงพอกับจำนวนปลาที่เลี้ยง  ฉะนั้นจึงจำเป็นต้องให้อาหารสมทบเพิ่มเติม  เพื่อเป็นการเร่งให้ปลามีอัตราการเจริญเติบโตเร็วขึ้นได้แก่
                            -  แหนเป็ดและไข่น้ำ  ใช้โปรยให้กินสดๆ
                            -  เศษผัก  ผักบุ้ง  ผักกาดขาว  และเศษผักต่างๆ  ใช้ต้มให้เปื่อยผสมกับรำหรือปลายข้าว
                            -  กากถั่วเหลือง  กากถั่วลิสง  ใช้แขวนหรือใส่กะบะไม้ไว้ในบ่อ
                            -  ปลายข้าวและรำละเอียด  ใช้ผสมกับปลายข้าว  ต้มให้สุกแล้วผสมกับรำละเอียดปนกับเศษผักเล็กน้อย
                            -  ส่วนอาหารจำพวกสัตว์เนื้อ  หรือสัตว์ที่มีชีวิต  เช่น  ตัวไหม  ปลวก  ไส้เดือน  หนอน  มด  ฯลฯ  ใช้โปรยให้กิน  พวกเครื่องในและเลือดของพวกสัตว์ต่างๆ  เช่น  หมู  วัว  ควาย  ต่างประเทศมักนิยมใช้ผสมปนอาหารดังกล่าวมาแล้ว
     
     การให้อาหาร
                            การให้อาหารแก่ปลาไน  ควรให้วันละครั้งเดียวในช่วงเช้า  โดยจะโยนอาหารให้กิน  หรือหาไม้มาทำแป้นใส่อาหารให้แก่ปลา  ให้แป้นไม่อยู่ใต้ผิวน้ำประมาณ  30  เซนติเมตร  อาหารที่ให้แต่ละครั้งอย่าให้มีประมาณมากจนเกินไป  เพราะเศษอาหารที่เหลืออยู่ในบ่อ  จะบูดเน่าเป็นอันตรายต่อปลา  จะทำให้ปลาอึดอัดหายใจไม่ออก  ไม่กินอาหาร  จะโผล่หัวลอยขึ้นมาเหนือผิวน้ำ  อาการเช่นนี้  เรียกว่า  ปลาลอยหัว”  ถ้าทิ้งไว้นานปลาจะตาย  เมื่อใดเห็นมามีอาการเช่นนี้  ให้รีบเปลี่ยนน้ำในทันทีเพื่อตักเอาเศษอาหารที่เหลือนั้นขึ้นจากบ่อ  หรือรีบย้ายปลาไปไว้ในบ่ออื่นก่อนที่จะถ่ายน้ำแล้วสูบน้ำใหม่เติมลงไป
     
    ศัตรูและโรคพยาธิ
                ได้แก่  ปลาจำพวกที่กินเนื้อเป็นอาหาร  เช่น  ปลาชะโด  ปลาช่อน  ปลาบู่  ปลาเทโพ  พวกกบ  เขียด  เต่า  ตะพาบน้ำ  เหี้ย  นากและนก  เป็นต้น    ปลาไนไม่ค่อยจะเป็นโรคร้ายแรง  นอกจากในฤดูร้อน  ถ้าเลี้ยงปลาแน่นเกินไปหรือไม่ได้ทำการถ่ายเทน้ำเลย  อาจจะทำให้มีตัวเห็บน้ำและหนอนสมอเกิดขึ้น  ตัวเห็บน้ำและหนอนสมอเหล่านี้  เป็นพยาธิที่จะดูดกินเลือดของปลา  ทำให้ปลาอ่อนเพลียไม่กินอาหาร  และอาจมีอาการหนักถึงตาย  ดังนั้นจึงต้องคอยระวังอย่าให้เกิดน้ำเสีย  และอย่าให้ปลาในบ่อมีประมาณมากจนเกินไป
     

    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch