|
|
การป้องกันโรคของโคนม
โรค เป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำความเสียหายให้แก่ผู้เลี้ยงโคนมไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคติดต่อร้ายแรง ซึ่งถ้าเกิดขึ้นกับฟาร์มใดอาจทำให้ถึงกับต้องเลิกล้มกิจการได้ การป้องกันโรคโคนมควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
|
ก. เลี้ยงแต่โคที่แข็งแรงสมบูรณ์และปลอดจากโรค ไม่ควรเลี้ยงโคที่อ่อนแอ โคที่เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หายขาด โรคทางพันธุกรรม เช่นโรคไส้เลื่อน, โรคติดต่อร้ายแรง เช่น โรคแท้งติดต่อหรือวัณโรค เป็นต้น
ข. ให้อาหารที่มีคุณภาพดีและมีจำนวนเพียงพอ ถ้าให้อาหารไม่ถูกต้องเพียงพอ หรือให้อาหารเสื่อมคุณภาพ หรือมีสิ่งปลอมปนอาจทำให้โคเป็นโรคไข้นม, โรคขาดอาหาร รวมทั้งทำให้อ่อนแอเกิดโรคอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น ดังนั้นเกษตรกรควรซื้ออาหารจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และระวังอาหารที่เป็นพิษ เช่น มีเชื้อรา พืชที่พ่นยาฆ่าแมลง เป็นต้น |
ค. จัดการเลี้ยงดูและป้องกันโรคติดต่อร้ายแรงให้เหมาะสม สำหรับข้อนี้ เป็นวิธีการลงมือปฏิบัติที่ค่อนข้างสับสนเพื่อให้เข้าใจง่ายสะดวกแก่การปฏิบัติ จึงขอแยกแยะออกเป็นข้อ ๆ ดังนี้
คอกคลอดควรได้รับการทำความสะอาด และใช้ยาฆ่าเชื้อพ่นหรือราดทิ้งไว้ 2 - 3 อาทิตย์ ก่อนนำแม่โคเข้าคลอด
ลูกโคที่เกิดใหม่ ต้องล้วงเอาเยื่อเมือกที่อยู่ในจมูก, ปากออกให้หมด เช็ดตัวลูกโคให้แห้ง
สายสะดือลูกโคที่เกิดใหม่ต้องใส่ทิงเจอร์ไอโอดีนให้โชก และใส่ยากันแมลงวันวางไข่ทุกวันจนกว่าสายสะดือจะแห้ง
ให้ลูกกินนมน้ำเหลืองโดยเร็ว ถ้าเป็นไปได้ควรให้กินภายใน 15 นาทีหลังคลอด
ทำความสะอาดคอกลูกโค และคอกคลอดก่อนนำลูกโคเข้าไปเลี้ยง
ควรเลี้ยงลูกโคในคอกเดี่ยวเฉพาะตัว
เครื่องมือเครื่องใช ้เช่น ถังนมที่ใช้เลี้ยงลูกโคไม่ควรปะปนกัน
ให้ลูกโคกินนมไม่เกิน 10 % ของน้ำหนักตัว แบ่งออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน
หัดให้ลูกโคกินอาหารและหญ้าโดยเร็ว (เมื่อลูกโคอายุได้ประมาณ 1 อาทิตย์) อาหารที่เหลือต้องกวาดทิ้งทุกวัน น้ำสะอาดควรมีให้กินตลอดเวลา
ลูกโคต้องตัวแห้งเสมอ วัสดุที่ใช้รองนอนต้องเปลี่ยนทุกวัน
แยกลูกโคที่อายุต่างกันให้อยู่ห่างกัน
ถ่ายพยาธิเมื่อลูกโคอายุ 3 เดือน และถ่ายซ้ำอีกปีละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคแท้งติดต่อ สเตรน 19 ให้แก่ลูกโคเพศเมียเมื่อลูกโคอายุ 3 - 8 เดือน
เมื่อลูกโคหย่านม ต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคติดต่อร้ายแรง ดังนี้
- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย ต้องฉีดให้ครบ 3 ชนิด (เอ, เอเชียวันและโอ) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
- ฉีดวัคซีนโรคเฮโมรายิกเซพติซิเมีย (โรคคอบวม) และฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
- ฉีดวัคซีนโรคแอนแทรกซ์ (โรคกาลี) และฉีดซ้ำทุกปี
พ่นหรืออาบยาฆ่าเห็บทุก 15 วัน หรือตามความเหมาะสมเช่น อาจจะอาบหรือพ่นทุก 1 เดือนหรือนานกว่านั้นก็ได้
แม่โคที่แสดงอาการเบ่งนานเกิน 3 ชั่วโมง แล้วไม่สามารถคลอดลูกได้ หรือแม่โคที่คลอดลูกแล้วมีรกค้างเกิน 12 ชั่วโมงควรตามสัตวแพทย์
จัดการป้องกันโรคเต้านมอักเสบโดยเคร่งครัดดังนี้
- บริเวณคอกต้องแห้ง ไม่มีที่ชื้นเฉอะแฉะเป็นโคลนตม ไม่มีวัตถุแหลมคมเช่น รั้วลวดหนาม ตะปู
- รีดนมตามลำดับ โดยรีดโคสาวก่อน แล้วรีดโคที่มีอายุมากขึ้น ส่วนโคที่เป็นโรคให้รีดหลังสุด
- ก่อนรีดต้องเช็ดเต้านมด้วยยาฆ่าเชื้อ เช่น น้ำคลอรีน ผ้าที่ใช้เช็ดเต้านมควรใช้เฉพาะตัวไม่ปะปนกัน
|
Update : 2/7/2554
|
|