จากตารางด้านบน ตัวเลขในตารางเป็นปริมาณอาหารข้นที่ควรจะให้แก่แม่โค (กิโลกรัม/ตัว/วัน) ในแต่ละระดับการให้นมเมื่อใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
* กรณีใช้อาหารหยาบคุณภาพดีแก่แม่โคนม ถ้าแม่โคนมสามารถให้นมได้ 14 กก./วัน อาหารข้นที่ให้ควรจะมีโปรตีนในสูตรอาหาร = 12 % และให้ในปริมาณ 5.5 กก./ตัว/วัน แต่ถ้าแม่โคสามารถให้นมได้มากกว่านี้เช่น ให้นมได้ 18 กก./วัน การใช้อาหารข้นที่มีโปรตีน 12 % จะน้อยเกินไป เพราะจะทำให้โคต้องกินอาหารข้นในปริมาณมาก จึงจะได้รับโภชนะเพียงพอ จึงจำเป็นต้องใช้อาหารข้นที่มีความเข้มข้นของสารอาหารสูงขึ้นคือ มีโปรตีนประมาณ 14 % และให้กินในปริมาณ 7.0 กก./ตัว/วัน จึงจะไม่มีผลกระทบต่อการกินอาหารหยาบ
* กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพปานกลาง ก็เป็นไปในทำนองเดียวกับอาหารหยาบคุณภาพดีแตกต่างกันที่ว่าระดับโปรตีนในอาหารข้นจะสูงกว่า กล่าวคือ อาหารข้นที่ใช้ร่วมกับอาหารหยาบคุณภาพปานกลาง อาทิเช่น หญ้าสด เปลือกและไหมข้าวโพดฝักอ่อน ควรจะมีโปรตีนในสูตรอาหารข้นประมาณ 14 - 16 % ส่วนปริมาณที่ให้ก็ขึ้นอยู่กับปริมาณการให้นมของแม่โคดังตาราง
* กรณีการใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำ อาหารข้นที่จะให้แก่แม่โค มีความจำเป็นที่จะต้องมีความเข้มข้นสูงขึ้นมากกว่า เพื่อที่จะทำให้แม่โคได้รับสารอาหารเพียงพอแก่ความต้องการในการให้น้ำนม อาหารข้นที่ใช้ควรมีระดับโปรตีนประมาณ 22 % ในกรณีที่แม่โคมีการให้นม 22 กก./วัน ขึ้นไป ควรจะให้อาหารข้นแก่แม่โคได้อย่างเต็มท ี่หลังจากที่แม่โคได้รับอาหารหยาบเพียงพอตามคำแนะนำในตอนต้น ๆ คือ 1.4 % ของน้ำหนักตัว ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดที่แม่โคต้องการ
เกษตรกร สามารถเลือกใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ได้หลายอย่าง เพื่อนำมาผสมเป็นอาหารข้น แต่สิ่งที่เกษตรกรควรจะระวังในการเลือกใช้วัตถุดิบต่าง ๆ คือ อย่าคิดถึงราคาต่อกิโลกรัมเท่านั้น เพราะวัตถุดิบบางชนิดมีราคาต่อกิโลกรัมต่ำกว่า แต่เมื่อเปรียบเทียบสารอาหารที่มีอยู่ เช่น โปรตีน อาจจะทำให้ราคาต่อสารอาหารนั้นมีราคาสูงกว่าก็ได้ อย่างไรก็ตามในเรื่องการเลือกใช้วัตถุดิบมีรายละเอียดอยู่มาก ในที่นี้จึงได้จัดทำสูตรอาหารข้นขึ้นมา เพื่อให้เกษตรกรได้นำไปใช้โดยพยายามเลือกใช้วัตถุดิบและราคาจำหน่าย ตามที่มีจำหน่ายอยู่ทั่ว ๆ ไปในแหล่งที่มีการเลี้ยงโคนม
สูตรอาหารข้นสำหรับโคนม
|
วัตถุดิบ |
ราคาวัตถุดิบ
บาท/ก.ก.
|
ปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ (ก.ก.)
|
สูตร 1
|
สูตร 2 |
สูตร 3
|
สูตร 4
|
สูตร 5
|
สูตร 6
|
สูตร 7
|
สูตร 8
|
มันเส้น |
2.00
|
47.0
|
42.5
|
39.0
|
41.0
|
32.0
|
36.0
|
4.0
|
25.5
|
ข้าวโพด |
4.00
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
-
|
14.5
|
-
|
กากถั่วเหลือง |
9.00
|
14.0
|
18.5
|
23.0
|
15.0
|
26.0
|
19.5
|
30.0
|
28.5
|
กากเนื้อในเมล็ดปาล์ม |
2.30
|
30.0
|
30.0
|
29.0
|
30.5
|
30.0
|
31.0
|
30.5
|
32.5
|
กากเมล็ดยางพารา |
2.00
|
4.0
|
4.0
|
4.0
|
-
|
7.0
|
-
|
6.5
|
-
|
ใบกระถิน |
3.00
|
-
|
-
|
-
|
9.5
|
-
|
9.5
|
9.5
|
9.5
|
ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) |
5.00
|
-
|
-
|
-
|
1.0
|
-
|
1.0
|
-
|
1.0
|
แร่ธาตุโคนม |
7.00
|
5.0
|
5.0
|
5.0
|
3.0
|
5.0
|
3.0
|
5.0
|
3.0
|
รวม |
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
100.0
|
% โปรตีน |
|
12.25
|
14.15
|
15.9
|
16.28
|
18.07
|
18.23
|
21.93
|
22.20
|
% โภชนะที่ย่อยได้ |
|
69.10
|
68.99
|
69.00
|
70.21
|
66.39
|
70.07
|
63.70
|
69.70
|
ราคาอาหารผสม (บาท/ก.ก.) |
|
3.32
|
3.64
|
3.95
|
3.42
|
4.16
|
3.73
|
4.83
|
4.37
|
การทำบันทึกเกี่ยวกับโคนม
เจ้าของสัตว์ควรจะเป็นผู้ที่ทำบันทึกและเก็บไว้เอง โดยอาจเริ่มต้นจากวันที่สัตว์เกิด น้ำหนักและสัดส่วนแรกเกิด วันผสม วันคลอด รวมถึงการชั่งน้ำหนักโคทุกครั้ง เช่น วันหย่านม อายุ 1 ปี หรือเกณฑ์ผสมพันธุ์ และหรือระยะเวลาการให้นม จำนวนน้ำนมแต่ละครั้งที่รีดได้ของแม่โคแต่ละตัว รวมถึงการทำวัคซีน หรือการรักษาโรค (ถ้ามี) ด้วย ผู้ที่จะจดบันทึกควรจะทำความเข้าใจวิธีทำให้ถูกต้องและทำการลงบันทึก ตลอดจนเก็บรักษาไว้ด้วยตนเอง ทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ การชั่งน้ำหนักโคหรือการชั่งน้ำนมควรใช้เครื่องชั่งที่เที่ยงตรง จดน้ำหนักลงบันทึกไว้ ถ้าทำได้ในการเก็บตัวอย่างโดยเฉพาะการระบุหมายเลขภาชนะหรือชื่อโคให้แน่นอน และจัดส่งไปให้ตรวจสอบเปอร์เซ็นต์ไขมันในห้องปฏิบัติการนม ต่อมาผลก็จะถูกส่งกลับไปยังเจ้าของโค เมื่อได้รับผลก็ต้องลงบันทึกพร้อมกับคำนวณหาจำนวนไขมันนม 4 % หรืออื่น ๆ ที่ควรจะจดลงในบันทึกต่อไป แต่ในกรณีที่ไม่สามารถจะตรวจไขมันได้ การจดบันทึกการให้นมแต่ละครั้งของแม่โคเป็นวัน-เดือนอย่างสม่ำเสมอตลอดระยะการให้นมเก็บไว้ได้ซึ่งยังดีกว่าไม่ทำการจดบันทึกอะไรเลย |