ความต้องการสารอาหารของแม่โคนม
แม่โคนมแต่ละตัวมีความต้องการสารอาหารได้แก่ โปรตีน พลังงาน วิตามิน แร่ธาตุ ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะ (1) บำรุงร่างกาย (2) เจริญเติบโต (3) ผลิตน้ำนม (4) เพื่อการเจริญเติบโตของลูกในท้อง แม่โคจะนำสารอาหารที่ให้กินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ตามลำดับ ทำให้แม่โคแต่ละตัวซึ่งมีน้ำหนักตัวต่างกัน และให้นมจำนวนไม่เท่ากัน มีความต้องการสารอาหารแตกต่างกันไป นอกจากนั้นในแม่โคตัวเดียวกันก็ยังมีความต้องการสารอาหารในแต่ละช่วงแตกต่างกันไปอีกซึ่งจะขึ้นอยู่กับ
1. ช่วงระยะการให้น้ำนม แม่โคนมที่อยู่ในระยะใกล้คลอดหรือหลังคลอดใหม่ ๆ แม่โคนมที่อยู่ระหว่างการให้น้ำนมสูงสุด (2เดือนแรกของการให้นม) การให้นมช่วงกลาง การให้นมในช่วงปลาย และช่วงหยุดการให้นม จะมีความต้องการสารอาหารในแต่ละระยะการให้นมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้เพราะปริมาณน้ำนมที่แม่โคผลิตได้ในแต่ละช่วงจะแตกต่างกัน
2. สภาพของร่างกายโคนมที่สามารถให้น้ำนมได้เต็มที่ สุขภาพของแม่โคจะต้องพร้อม คือไม่ควรจะอ้วนหรือผอมจนเกินไป จึงมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหารที่มากขึ้น ทั้งนี้เพราะโคจะต้องใช้สารอาหารในการบำรุงร่างกายและเจริญเติบโตก่อน จึงจะนำไปใช้ในการสร้างน้ำนม
เมื่อเกษตรกรได้รู้ถึงความต้องการสารอาหารของโคแล้ว ซึ่งในที่นี้จะไม่ขอกล่าวถึงความต้องการสารอาหารแต่ละชนิดเพราะอาจจะทำให้สับสน แต่อยากจะให้เกษตรกรได้ทราบถึงเหตุผลว่า ทำไมจึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้อาหารต่างกันในโคแต่ละตัวหรือในโคตัวเดียวกันแต่ต่างระยะเวลา
ปริมาณการกินอาหารของแม่โค
แม่โคนมแม้จะต้องการสารอาหารมากเพียงไร แต่ปริมาณอาหารที่แม่โคกินได้นั้นมีอย่างจำกัด ซึ่งอาจจะเนื่องมาจากความจุของกระเพาะโคเองหรืออาจจะเนื่องมาจากลักษณะและคุณภาพของอาหารที่ให้แก่โค ฉะนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมควรจะทราบด้วยว่า โคนมของท่านแต่ละตัวจะสามารถกินอาหารได้วันละเท่าใด เพื่อที่จะทำให้ทราบว่า สารอาหารที่แม่โคได้รับนั้นจะเพียงพอหรือไม่กับการให้น้ำนมของแม่โค การผลิตน้ำนมให้ได้มาก ๆ นั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณอาหารที่ได้รับเพียงอย่างเดียวแต่คุณภาพของอาหารมีความสำคัญยิ่งกว่าคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของโค ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับปัจจัยหลัก 2 ปัจจัยคือ น้ำหนักตัวของแม่โคและปริมาณน้ำนมที่แม่โคนั้นผลิตได้ ซึ่งในเรื่องของน้ำหนักตัวของแม่โคเกษตรกรมักจะไม่ทราบเพราะไม่มีเครื่องชั่งสัตว์ในฟาร์ม แต่ก็พอจะประมาณได้ เพราะโคลูกผสมขาว-ดำในเมืองไทยจะมีน้ำหนักโดยประมาณนี้เป็นตัวคำนวณปริมาณอาหารต่อไปได้ และเมื่อพิจารณาร่วมกับปริมาณน้ำนมที่ผลิตได้ก็พอจะประมาณการกินอาหารของแม่โคได้ดังนี้
ตาราง ปริมาณอาหารที่คาดว่าแม่โคจะกินได้ต่อวัน คิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัว
|
ปริมาณน้ำนมที่ให้
(ก.ก./วัน)
|
น้ำหนักตัวแม่โค (ก.ก.)
|
400
|
450
|
500
|
10
|
2.5
|
2.4
|
2.3
|
14
|
2.7
|
2.6
|
2.5
|
18
|
2.9
|
2.8
|
2.7
|
18
|
2.9
|
2.8
|
2.7
|
26
|
3.4
|
3.3
|
3.2
|
30
|
3.7
|
3.6
|
5.5
|
ที่มา : ดัดแปลงจากตารางมาตรฐานความต้องการโภชนะของแม่โคนม (NRC, 1988) |
เมื่อดูจากตารางแล้ว เกษตรกรอาจสงสัยว่า ทำไมแม่โคนมที่มีน้ำหนักมากจึงกินอาหารได้น้อยกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่าถ้าให้นมเท่ากันทั้งนี้เพราะว่า ตารางที่แสดงนั้น แสดงเป็นค่าของร้อยละของน้ำหนักตัวแม่โค ซึ่งจริงแล้วแม่โคที่มีน้ำหนักมากกว่าจะกินอาหารมากกว่าแม่โคที่มีน้ำหนักน้อยกว่า ถ้าคิดเป็นจำนวนกิโลกรัมของอาหาร ตัวอย่างเช่น จะคาดคะเนปริมาณการกินอาหารของแม่โคที่มีน้ำหนักประมาณ 400 ก.ก. และสามารถให้นมวันละ 18 กิโลกรัมว่าแม่โคจะกินอาหารได้วันละเท่าใด เมื่อดูจากตารางจะเห็นว่าแม่โคกินอาหารได้ประมาณ 2.9 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว เท่ากับ (2.9x400)/100 = 11.6 กิโลกรัม คำตอบคือ แม่โคจะกินอาหารที่มีน้ำหนักแห้งได้ประมาณวันละ 11.6 กิโลกรัม แต่แม่โคที่มีน้ำหนักตัว 500 ก.ก. และให้นม 18 ก.ก / วัน เหมือนกันจะกินอาหารคิดเป็นน.น.แห้งได้ (2.8x500)/100 = 13.5 กิโลกรัมเป็นต้น
ปริมาณการกินอาหารหยาบ
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า โคนมเป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องจึงจำเป็นต้องได้รับอาหารหยาบอย่างเพียงพอ ซึ่งในจุดนี้เกษตรกรบางส่วนไม่ค่อยได้คำนึงถึงมากนัก อย่าคิดแต่เพียงว่าถ้าให้อาหารข้นมาก ๆ โคจะได้รับสารอาหารมาก และจะทำให้ผลผลิตน้ำนมได้มาก ตรงกันข้ามในความเป็นจริงแล้วโคที่ได้รับอาหารข้นมากเกินไป กลับทำให้ผลผลิตน้ำนมลดลงด้วยซ้ำ เนื่องจากการที่โคได้รับอาหารหยาบน้อยเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการผิดปกติในระบบการย่อยอาหารคือ เกิดความเป็นกรดในกระเพาะผ้าขี้ริ้วมากจนโคไม่ยอมกินอาหาร ทั้งนี้เพราะอาหารหยาบมีเยื่อใยสูง จะช่วยในการเคี้ยวเอื้องทำให้ต่อมน้ำลายของโคหลั่งน้ำลายได้มากขึ้น และน้ำลายนี้เองมีฤทธิ์เป็นด่างจะช่วยปรับสภาพภายในกระเพาะผ้าขี้ริ้วให้เหมาะสมแก่การทำงานของจุลินทรีย์ เพื่อสังเคราะห์โปรตีนและพลังงานแก่โคต่อไป
เกษตรกรจึงจำเป็นที่จะต้องมีอาหารหยาบเพียงพอให้แก่โค ซึ่งระดับของอาหารหยาบเมื่อคิดเป็นน้ำหนักแห้งที่แม่โคควรจะได้รับต่อวันไม่ควรต่ำกว่า 1.4 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น แม่โคนมมีน้ำหนักประมาณ 400 กิโลกรัม ควรจะได้รับอาหารหยาบแห้งตามที่ได้กำหนดไว้ดังต่อไปนี้คือ แม่โคนมที่มีน้ำหนักตัว 100 กิโลกรัม ต้องการอาหารหยาบ = 1.4 กิโลกรัม แม่โคที่มีน้ำหนักตัว 400 กิโลกรัม ต้องการอาหารหยาบ = (1.4 x 400) / 100 กิโลกรัม
แม่โคควรจะได้รับอาหารหยาบแห้ง/วัน = 5.6 กิโลกรัม เมื่อนำมาคิดเทียบกลับไปเป็นหญ้าสดซึ่งทั่ว ๆ ไปมีวัตถุแห้งประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นโคควรจะได้รับหญ้าสดในปริมาณวันละ = (5.6 x 100) / 100 = 22.4 กิโลกรัม
คุณภาพของอาหารหยาบ
เมื่อทราบถึงปริมาณของอาหารหยาบที่จำเป็นที่แม่โคจะต้องได้รับต่อวัน เพื่อที่จะทำให้ระบบการย่อยอาหารเป็นไปอย่างปกติแล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงต่อมาก็คือ อาหารหยาบที่ให้แก่แม่โคมีคุณภาพเป็นอย่างไร โคจะใช้ประโยชน์ได้มากน้อยแค่ใหน ทั้งนี้เพราะคุณภาพของอาหารsยาบจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นด้วย คือ ถ้าอาหารหยาบที่ให้แก่โคมีคุณภาพต่ำอาหารข้นที่จะใช้เสริมจำเป็นต้องมีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหาร ทางกลุ่มงานวิเคราะห์อาหารสัตว์ กองอาหารสัตว์ได้จัดทำสรุปไว้แล้ว แต่ในเอกสารฉบับนี้จะขอนำเอาผลการวิเคราะห์ของอาหารหยาบที่มีใช้ทั่ว ๆ ไปมาเสนอเท่านั้น (ดังแสดงในตารางที่2)
ตารางผลการวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของอาหารหยาบที่มีใช้โดยทั่วไป
|
ชื่ออาหาร
|
%ความชื้น
|
%วัตถุแห้ง
|
%โปรตีน
|
%เยื่อใย
|
คุณภาพ
|
ถั่วฮามาต้าแห้ง |
10.40
|
89.60
|
14.67
|
26.60
|
///
|
ใบกระถินแห้ง |
10.40
|
89.60
|
18.59
|
9.30
|
///
|
หญ้าสด(รูซี่,กินนี) |
75.90
|
24.10
|
2.55
|
6.92
|
//
|
เปลือกข้าวโพดฝักอ่อน |
82.00
|
18.00
|
2.26
|
3.78
|
//
|
ต้นข้าวโพดฝักอ่อน |
73.60
|
26.40
|
1.16
|
6.94
|
/
|
เปลือกสับปะรด |
81.67
|
18.33
|
0.66
|
2.09
|
/
|
ยอดอ้อย |
62.33
|
37.67
|
3.26
|
13.41
|
/
|
หญ้าธรรมชาติในฤดูฝน |
72.90
|
27.10
|
10.62
|
7.56
|
//
|
ฟางข้าว |
8.60
|
91.40
|
3.43
|
27.66
|
/
|
/// = คุณภาพดี
|
// = คุณภาพปานกลาง
|
/ = คุณภาพต่ำ
|
หมายเหตุ การจำแนกคุณภาพของอาหารหยาบในที่นี้จะใช้เปอร์เซ็นต์โปรตีนหยาบเป็นหลักในการจำแนก เพื่อให้สอดคล้องกับเปอร์เซ็นต์โปรตีนในสูตรอาหารข้นที่จะกล่าวถึงต่อไป
|
คุณภาพของอาหารหยาบ นอกจากจะเป็นตัวกำหนดคุณภาพของอาหารข้นแล้ว ยังเป็นตัวควบคุมในเรื่องการกินอาหารของแม่โคด้วย เพระาถ้าใช้อาหารหยาบคุณภาพต่ำอาทิเช่น ฟางข้าว หรือหญ้าธรรมชาติในช่วงที่ออกดอกแล้ว โคจะย่อยได้น้อย ทำให้การกินอาหารลดลงตามไปด้วย เกษตรกรควรจะหาวิธีการที่จะแก้ปัญหานี้ ซึ่งอาจจะทำได้โดยการเพิ่มคุณภาพ และการใช้ประโยชน์ของอาหารหยาบ เช่นการสับฟางเป็นชิ้นเล็ก ๆ การทำฟางปรุงแต่ง หรือการใช้ใบพืชตระกูลถั่วที่มีคุณภาพสูงให้กินร่วมกับฟาง เพื่อให้อาหารหยาบนั้นมีความน่ากินและมีการย่อยได้สูงขึ้น นอกจากนั้นในเรื่องฤดูกาลเช่น ในช่วงที่มีอากาศร้อน ก็จะทำให้แม่โคกินอาหารหยาบได้ลดลงเช่นกัน
....
... ทั้งนี้เพราะความร้อนที่เกิดจากขบวนการหมักของอาหารหยาบในกระเพาะผ้าขี้ริ้วของโค ไม่สามารถจะระบายออกนอกร่างกายได้ทัน เนื่องจากอุณหภูมิภายในตัว โคมีอาการหอบชอบยืนแช่น้ำและกินอาหารลดลง เกษตรกรอาจจะแก้ไขปัญหานี้โดยพยายามให้อาหารหยาบแก่โคทีละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้งขึ้น และพยายามให้อาหารหยาบในช่วงเวลาที่อากาศเย็นลง เช่น กลางคืน หรือจะใช้วิธีอาบน้ำและใช้พัดลมช่วย หรืออาจจะใช้หลายวิธีร่วมกัน อย่างไรก็ตามเกษตรกรต้องคำนึงอยู่เสมอว่าจะต้องให้แม่โคได้กินอาหารหยาบแห้งไม่ต่ำกว่า 1.4 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวแม่โคเสมอ |
|