|
|
พันธุ์โคนม
|
....สิ่ง ที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ทุน สถานที่ ตลาด และปัจจัยอื่น ๆ ซึ่งเป็นส่วนประกอบในที่นี้จะกล่าวเน้นเฉพาะทุนในการดำเนินการซึ่งทุนดังกล่าวอาจแบ่งแยกออกได้เป็น 5 รายการคือ |
1.
|
ทุนสำหรับซื้อโค |
2.
|
ทุนสำหรับสร้างโรงเรือนหรือคอกสัตว์ |
3.
|
ทุนสำหรับการเตรียมแปลงหญ้า |
4.
|
ทุนสำหรับการหาแหล่งน้ำหรือการชลประทาน |
5.
|
ทุนสำหรับรับรองจ่าย ซึ่งหมายถึง ทุนหมุนเวียน เช่นค่าอาหาร หรือ ค่าแรงงานต่าง ๆ เป็นต้น |
|
การเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอาจเริ่มต้นได้หลายวิธี ซึ่งแล้วแต่ความเหมาะสมและความพร้อมของแต่ละบุคคลในการเริ่ม ต้นที่จะเลี้ยง ซึ่งอาจพอแนะนำพอเป็นสังเขปได้ เช่น |
1.
|
เริ่มต้นโดยการหาหรือเลือกซื้อแม่โคพันธุ์พื้นเมืองหรือแม่ที่มีสายเลือดโคเนื้อที่มีลักษณะดีไม่เป็นโรคติดต่อมา เลี้ยง แล้วใช้วิธีผสมเทียมกับสายเลือดโคพันธุ์นมของยุโรปพันธุ์ใดพันธุ์หนึ่ง เมื่อได้ลูกผสมตัวเมียก็จะมีเลือดโคนม 50 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเมื่อเลี้ยงต่อไปอีกประมาณ 30 - 36 เดือนก็จะให้ลูกตัวแรกแม่โคตัวนี้ก็จะเริ่มรีดนมได้ |
2.
|
เริ่มต้นโดยหาซื้อลูกโคนมพันธุ์ผสมเพศเมียมาเลี้ยง โดยอาศัยนมเทียมหรือหางนมผงละลายน้ำให้กินในปริมาณ จำกัด พร้อมทั้งให้อาหารข้นและหญ้าแก่ลูกโคจนกระทั่งหย่านม - อายุผสมพันธุ์ - ท้อง - คลอดลูกและเริ่มรีดนม ได้ |
3.
|
เริ่มต้นโดยการจัดซื้อโคนมอายุเมื่อหย่านม,โครุ่น,โคสาวหรือโคสาวที่เริ่มตั้งท้องหรือแม่โคที่เคยให้นมมาแล้ว จากฟาร์มใดฟาร์มหนึ่งมาเลี้ยง วิธีนี้ใช้ทุนค่อนข้างสูงแต่ให้ผลตอบแทนเร็ว |
|
|
หลักในการเลือกซื้อโคนม
ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรจะเริ่มต้นเลี้ยงโคนมด้วยวิธีใดก็ตามควรจะมีหลักในการพิจารณาเลือกซื้อโคนมบ้าง เพื่อให้ได้สัตว์ ที่มีคุณภาพดี ซึ่งหลักในการพิจารณาเลือกซื้อโคนมดังกล่าวมีอยู่หลายประการอาจกล่าวแนะนำพอสังเขปได้ดังนี้ คือ
1. |
ไม่ว่าจะเลือกซื้อโคขนาดใดก็ตามต้องสอบถามประวัติ ซึ่งหมายถึง สายพันธุ์และความเป็นมาอย่างน้อยพอสังเขป |
2. |
ถ้าเป็นโครีดนมควรจะเป็นแม่โคที่ให้ลูกตัวที่ 1 ถึง ตัวที่ 4 |
3. |
ถ้าเป็นแม่โคที่รีดนมมาหลายเดือนควรจะตั้งท้องด้วย |
4. |
ถ้าเป็นโคสาวหรือแม่โคนมแห้งก็ควรจะเป็นแม่โคที่ตั้งท้องด้วยเพื่อเป็นการย่นระยะเวลาจะได้รีดนมเร็วขึ้น |
5. |
ควรเป็นโคที่มีประวัติการให้นมดีพอใช้และต้องปลอดจากโรคแท้งติดต่อและโรควัณโรค |
|
พันธุ์โคนม
|
.....โคนมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
ก. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในแถบร้อน เช่น พันธุ์เรดซินดี้, ซาฮิวาลเป็นต้น จะสังเกตได้ง่ายคือ โคนมพวกนี้ จะมีโหนกหลังใหญ่และทนร้อนได้ดีแต่ให้นมได้ไม่มากนัก
.ข. พันธุ์โคนมที่มีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว หรือเรียกโคยุโรป มีอยู่ด้วยกันหลายพันธุ์ซึ่งโคยุโรปนี้จะสังเกตได้ ง่ายคือไม่มีโหนกที่หลัง คือจะเห็นแนวสันหลังตรง มักไม่ค่อยทนต่ออากาศร้อน พันธุ์ที่สำคัญได้แก่ พันธุ์ขาว ดำหรือโฮลสไตน์ฟรีเชียน |
โคนมพันธุ์ เรดซินดี้
|
|
โคพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียน
|
โคพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดในประเทศฮอลแลนด์เป็นพันธุ์ที่มีชื่อเสียงที่สุดและได้รับความนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด เพราะให้นมมาก มีสีดำตัดขาว รูปร่างใหญ่ ขนาดโตเต็มที่ตัวผู้หนัก 800 - 1,000 ก.ก. ตัวเมียหนัก 600 - 700 ก.ก. โคพันธุ์นี้ชอบอากาศหนาวอุณหภูมิต่ำกว่า 26 องศา ซ. แต่ในประเทศต่าง ๆ ที่มีอากาศร้อนก็ยังนิยมเลี้ยงโคพันธุ์นี้กันมากกว่าพันธุ์อื่น ๆ โดยเลี้ยงลูกผสมที่มี เลือดโคพันธุ์โฮลสไตน์โดยผสมพันธุ์ให้ได้โคที่มีสายเลือดพอเหมาะ สำหรับในประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศร้อน การเลี้ยงโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ที่เป็นพันธุ์แท้มักจะมีปัญหามากถ้าหากการจัดการไม่ดี ดังนั้นเกษตรกรที่เริ่มเลี้ยงโคนมหรือมีฟาร์มขนาดเล็กควารเลี้ยงควร เลี้ยงโคพันธุ์ผสมขาว-ดำ หรือโฮลสไตนฟรีเชี่ยนที่มีสายเลือดโคพันธุ์ขาว-ดำ หรือโฮลสไตนฟรีเชี่ยนไม่เกิน 75% ซึ่งโคพันธุ์ผสมระดับสายเลือดนี้จะให้นมเฉลี่ย 2,400 - 2,900 กก. ต่อระยะการให้นม 260 วัน |
|
พันธุ์โคนมที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
1.โคนมพันธุ์ทีเอ็มแซด (TMZ)
....เป็นโคนมพันธุ์ผสมที่เกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ระหว่างพ่อพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชียนพันธุ์แท้กับแม่พันธุ์ซึ่งมี สายเลือดอเมริกันบราห์มันสูง มีสายเลือดโฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน 75% กรมปศุสัตว์ปรับปรุงพันธุ์นี้ให้เป็นพันธุ์โคนมหลักของประเทศ เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีฟาร์มขนาดเล็กหรือเกษตรกรที่เริ่มเลี้ยงโคนม |
|
2. โคนมพันธุ์ไทยฟรีเชี่ยน (TF)
เป็นโคนมพันธุ์ผสมที่มีสายเลือดโคนมพันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยนหรือขาว-ดำ มากกว่า 75% พันธุ์นี้เหมาะสำหรับเกษตรกรที่มีฟาร์มขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ หรือเกษตรกรที่มีการจัดการ การให้อาหารที่ดี
|
|
|
|
|
Update : 2/7/2554
|
|