หน้าแรก สมาชิก รายการวัตถุมงคล ตะกร้าวัตถุมงคล วิธีชำระวัตถุมงคล วิธีบูชาวัตถุมงคล ประวัติวัด ติดต่อวัด เว็บบอร์ด
สมาชิก Log in
อีเมล์
รหัสผ่าน
สมัครสมาชิกใหม่
ลืมรหัสผ่าน
















ค้นหาวัตถุมงคล
 
 
 
หมวดวัตถุมงคล
  เครื่องราง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง พระอาจารย์ป้อม
  พระเครื่อง หลวงพ่อสวัสดิ์
  พระเครื่อง หลวงปู่พิมพ์มาลัย
  พระเครื่อง หลวงพ่อสง่า
วัตถุมงคลของคุณ
รหัสวัตถุมงคล ราคา จำนวน
ยังไม่มีวัตถุมงคลอยู่ในตะกร้า
  • ชำระค่าวัตถุมงคล
  • แก้ไขรายการวัตถุมงคล
  • วิธีสั่งบูชาวัตถุมงคล
  •  

    การแข่งขันโคชน
     
           การชนวัวในประเทศไทยมีมาเกือบ 500 ปี มาแล้ว จากคำบอกเล่าของผู้เลี้ยงโคชนทางภาคใต้สมัยก่อนนั้นการชนโคไม่มีสนามชนโคเป็นกิจลักษณะดังเช่นในปัจจุบัน แต่อาศัยที่ว่างตามหัวไร่ปลายนาหลังฤดูเก็บเกี่ยวเป็นที่ชนโคเพื่อความเพลิดเพลินของชาวไร่ชาวนายามเสร็จจากงานหนักแต่เมื่อการชนโคเป็นที่นิยมมากขึ้น ๆ ผู้เล่นชนโคจึงได้พัฒนา กฎ กติกา ขึ้นมาทีละเล็กละน้อยควบคู่ไปกับรูปแบบของสนามชนโค ที่เปลี่ยนแปลงไปจากการใช้พื้นที่ว่างเปล่าตามหัวไร่ปลายนาไปเป็นสนามกีฬาที่มีสังเวียน และส่วนประกอบต่างๆ มากขึ้น

    การเตรียมโคเพื่อเข้าแข่งขัน
           โคที่ใช้เป็นโคชนจะเป็นโคผู้ไม่ตอน ถูกคัดเลือกเมื่ออายุได้ 4 ปีโดยดูจากต้องมีคู่เขาที่ใหญ่แข็งแรงดี และส่วนหน้าอกต้องพัฒนาแข็งแรง แต่จะยังไม่ถูกใช้งานชน จนกว่าจะอายุได้ถึง 6 ปีแล้ว หลังจากปลดการใช้งานเป็นโคชนแล้วก็อาจถูกใช้งานเป็นโคงานหรือเป็นพ่อพันธุ์ สำหรับการเลี้ยงดูนั้นแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยแต่ละเจ้าของ แต่มีหลักเกณฑ์ใหญ่ใกล้เคียงกันพอสรุปได้ดังนี้

    05.00 น. ผู้เลี้ยงโคตีนนอนพาโคออกเดินและวิ่งรวมระยะทางไม่ต่ำกว่า 10 กิโลเมตร
    09.00 น. โคกลับถึงคอกผู้เลี้ยงจะนวดกล้ามเนื้อคอและหลังให้โคประมาณ 5-10 นาที แล้วปล่อยให้โคยีนพักนิ่ง ๆ จนกว่าจะเริ่มเคี้ยวเอื้องซึ่งแสดงว่าโคหายเหนื่อยแล้ว จึงอนุญาตให้โคกินน้ำได้จากนั้นก็อาบน้ำถูตัวให้โคเสร็จแล้วนำโคไปผูกผึ่งแดดอ่อน ๆในลานหญ้าปล่อยให้โคแทะเล็มหญ้าไปบ้าง ในขณะที่โคถูกผึ่งแดดอยู่นั้นผู้เลี้ยงก็จะออกตะเวนเกี่ยวหญ้าใส่กระสอบเพื่อเตรียมไว้ให้โค
    15.00 น. .เอาโคเข้าในร่ม ให้กินหญ้าที่เกี่ยวมาให้ประมาณ 30-50 กิโลกรัม แล้วแต่ขนาดของโค แต่ส่วนใหญ่แล้วเจ้าของจะต้องการให้โคกินหญ้ามาก ๆ จึงต้องบังคับให้กินโดยการป้อน คือผู้เลี้ยงจะทำหญ้าเป็นก้อนแล้วเปิดปากโคยัดหญ้าเข้าไปจนหญ้าหมด
    17.30 น. ให้โคกินน้ำและนำโคเข้าคอกที่มีมุ้งกั้น เป็นเสร็จสิ้นภารกิจประจำวันของผู้เลี้ยงโค

    การจับคู่ของโคชน

    นำวัวมาผูกรอบสังเวียนเพื่อจับคู่
    เปรียบวัว

           การจับคู่ชนหรือประกบคู่ชนของโคชนนั้น เรียกว่า "การเปรียบวัว"
           หลักการในการจับคู่โคชน ก็คือโคชนทั้งคู่ต้องมีอายุ ประสบการณ์ในการชน เพลงชนสถิติการชน ลักษณะเขา ตลอดจนขนาดสัดส่วนร่างกายของตัวโค และกล้ามเนื้อให้ใกล้เคียงกัน เป็นหลักสำคัญในการประกบคู่ชนโดยเจ้าของโคเป็นผู้พิจารณาและตกลงกันเองทั้งสองฝ่ายแล้วแจ้งให้สนามทราบ เพื่อทำสัญญาการชนต่อไป สำหรับกล้ามเนื้อ (เนื้อเลี้ยง) ของโคชนนั้นจะสังเกตที่หน้าตา ความยาว ลำตัว คอ ความกว้างของหลัง ความลึกของลำตัวและเขา


    เมื่อโคชนเข้าสู่สังเวียนสนาม


    เครื่องประดับและเสื้อคลุมวัวชน
    ขณะเดินเข้าสนาม
           ประมาณ 20-30 วัน หลังจากโคชนได้คู่ชนแล้ว นายสนามจะนัดวันชนซึ่งโคชนที่มาจากต่างถิ่นส่วนใหญ่หลังจากมีคู่ชนแล้ว จะพักค้างที่ค่ายพักของสนามที่จะชนโคโดยมีพี่เลี้ยงคอยดูแลให้หญ้า ให้น้ำอย่างใกล้ชิด เพื่อให้โคชินกับสนาม

    การเช็ดล้างโคก่อนชน
                  เมื่อคณะโคชนเข้าประจำมุมเรียบร้อยแล้วจากนั้นโฆษกของสนามจะประกาศให้เจ้าของโคแต่ละฝ่าย "เช็คล้าง"ให้เป็นไปตามข้อตกลงที่ตกลงกันไว้ โดยทางสนามจะมีกรรมการกลางที่จัดเตรียมไว้ประจำมุมที่โคไปยีนอยู่เตรียมเช็คล้างข้างละ 1 คน เพื่อเตรียมเช็คล้างโค ซึ่งเจ้าของโคแต่ละฝ่ายจะส่งคน 1 คนไปดูการเช็คล้างโคของฝ่ายตรงข้ามกติกาการเช็คล้างตัวโคมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการใช้สารพาของฝ่ายตรงข้ามซึ่งอาจจะอยู่ในรูปยา น้ำมัน หรือ สมุนไพรมีพิษทาไว้ที่ตัวโคหรือที่เขาสำหรับน้ำมันที่ใช้ล้างตัวโคกรรมการสนามจะเป็นผู้จัดการให้ ถ้าผู้ดูการเช็คล้างโคของฝ่ายตรงข้ามมีความเคลือบแคลงสงสัยว่าบางส่วนของตัวโค โดยเฉพาะส่วนของ เขายังไม่ได้เช็ดล้างก็สามารถบอกกรรมการขอให้เช็คล้างให้เห็นอย่างชัดเจนได้ เมื่อทั้งฝ่ายพอใจกับการเช็คล้างของฝ่ายตรงข้ามแล้ว พี่เลี้ยงจะใช้กล้วยหรือผลตาลโตนดสุก ทาทั่วหน้า จมูก และคอของโค เพื่อลบกลิ่นสาบของคู่ต่อสู้ โดยเชื่อว่าโคเป็นสัตว์ที่ให้ความสำคัญต่อขั้นลำดับอาวุโสซึ่งสามารถสัมผัสได้โดยทางกลิ่นสาบ โคที่หนุ่มกว่าจะเกรงในศักดิ์ศรีของโคที่แก่กว่า ถ้าให้ชนกันโคหนุ่มจะวิ่งหนี

    พี่เลี้ยงทากล้วยที่หน้าวัว
    เช็ดล้างวัว
    ดูการเช็ดวัวของฝ่ายตรงข้าม


    เริ่มชน

           กรรมการสนามจะส่งสัญญาณให้เริ่มชนโคโดยเป่านกหวีด 2 ครั้งกรรมการสนามบนปะรำจะให้สัญญาณตามโดยตีกลอง 2 ที พี่เลี้ยงแต่ละฝ่ายส่วนใหญ่ฝ่ายละสองคน ต้องจูงโคเข้าหากัน ณ ตำแหน่งพุ่มกลางสังเวียนซึ่งทางสนามทำเครื่องหมายไว้เพื่อให้เขาโคทั้งสองแตะกัน หรือมีลักษณะอาการที่โคทั้งสองฝ่ายจะเข้าชนกันหรือต่อสู้กัน เรียกว่า "ต่อหัว"
    พี่เลี้ยงจูงวัวไปต่อหัวกลางสนาม

    ขณะชน
    กรณีที่ 1

    เกียดวัว
          ถ้าโคตัวใดหันกลับวิ่งหนี กรรมการจะเป่านกหวีดสั้น ๆ 1 ครั้งกรรมการบนปะรำจะตีกลอง 1 ทีเป็นสัญญาณให้พี่เลี้ยงโคฝ่ายวิ่งหนีให้เข้ามาบังคับโคให้เข้ามาชนกับต่อสู้อีกเรียกว่า "เกียดวัว" ขณะเดียวกันกรรมการก็จะจับเวลาหลังตีกลองโดยใช้ขันน้ำเจาะรูวางลงในน้ำที่บรรจุอยู่ในภาชนะแก้วใส ถ้าขันน้ำจม (ประมาณ 5 นาที) โดยพี่เลี้ยงยังไม่สามารถจูงโคให้เข้ามาชนต่อไป กรรมการจะรัวกลองให้สัญญาณว่า โคตัวนั้นเป็นฝ่ายแพ้ และการแข่งขันสำหรับคู่นั้นยุติลง แต่ถ้าเมื่อเกียดวัวแล้วกลับมาชนกันใหม่ (เขาแตะกัน) แล้วตัวที่ชนะเดิมวิ่งหนีกรรมการเป่านกหวีด 1 ครั้ง ตั้งขันน้ำ ขันน้ำจม ตัวที่ชนะเดิมจะเป็นฝ่ายแพ้
    สำหรับการ "เกียดวัว" นั้น ทางสนามได้จัดเตรียมไม้ไผ่ยาว ปลายมีตะขอหรือไม้ไผ่ที่เสี้ยมปลายเป็นรูปตัววีให้พี่เลี้ยงวัวใช้บังคับวัว โดยผู้บังคับจะสอดปลายไม้ไผ่ด้านที่มีตะขอหรือเป็นรูปตัววีเข้าไปที่เทียนพราง ซึ่งสวมอยู่ที่จมูกวัวเพื่อจูงวัวไปหาคู่ต่อสู้ให้มาทำการชนกันต่อไป
    กรณีที่ 2
          วัวตัวใดวิ่งหนีหลังจากปะเขากับคู่ต่อสู้แล้วและกรรมการจับเวลาแล้ว พี่เลี้ยงสามารถเกียดวัวให้เข้ามาชนกับคู่ต่อสู้ได้อีก โดยที่ขันน้ำยังไม่จม ถือว่าการแข่งขันดำเนินต่อไปได้ กรณีฝ่ายที่วิ่งหนีเมื่อเกียดแล้ววัวกลับเข้ามาชนใหม่เป็นครั้งที่ 2 แต่ฝ่ายที่ชนะในครั้งที่ 1 วิ่งหนี กรรมการจะเป่านกหวีด 1 ครั้ง พร้อมตั้งขันน้ำให้ฝ่ายวิ่งหนีเกียดวัวเข้ามาชนใหม่ ฝ่ายที่วิ่งหนีวิ่งหนีอีก กรรมการจะเป่านกหวีดยาว พร้อมตีกลองรัวถือว่าฝ่ายวิ่งหนีเป็นฝ่ายแพ้

    กรณีที่ 3

    การต่อสู้ของโคชน

     

          เมื่อวัวชนกันแล้วเป็นระยะหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายเกิดเดินแยกกัน พร้อม ๆ กัน โดยไม่ยอมเข้ามาชนกัน กรรมการในสนามจะเป่านกหวีด 2 ครั้ง กรรมการบนประรำจะตีกลอง 2 ที ซึ่งหมายความว่าให้พี่เลี้ยงทั้งสองฝ่ายทำการเกียดวัวให้ชนกันพร้อมจับเวลา ถ้าวัวทั้งสองผ่ายเข้าชนกันขณะที่ขันน้ำยังไม่จม การชนวัวก็จะดำเนินการต่อไป แต่ถ้าขันจมแล้วประมาณ 1-2 นาทีแล้ว วัวยังไม่ชนกันโดยที่ไม่มีที่ท่าว่าตัวใดจะวิ่งหนี กรณีเมื่อกรรมการตีกลองให้ทั้งสองฝ่ายเกียดวัวของตัวเอง มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่กล้าเกียดวัวของตัวเองให้เข้าหากันกรรมการจะถามทั้งสองฝ่ายว่าจะเกียดหรือไม่เกียด หรือจะให้เสมอ ถ้าทั้งสองฝ่ายตอบว่าให้เสมอ กรรมการจะตั้งขันน้ำจนกว่าจะขันจะจม ถ้าขันจมกรรมการจะตัดสินให้เสมอ หรือกรรมการจะเป่านกหวีดยาวให้เสมอ กันเลยก็ได้ถือเป็นสิทธิ์ขาดของกรรมการโดยเป็นธรรม
    การแพ้หรือชนะ การแข่งขันชนวัว ฝ่ายใดจะแพ้หรือชนะนั้น สรุปได้ดังนี้คือ
    วัวตัวใดวิ่งหนีไม่ยอมสู้หลังจากวัวเข้าคู่ต่อหัวกันแล้ว โดยที่พี่เลี้ยงไม่สามารถเกียดวัวให้เข้ามาชนใหม่ได้ในเวลาที่กำหนด ถือว่าตัวนั้นเป็นฝ่ายแพ้
    วัวตัวใดล้มขณะที่กำลังต่อสู้กันจนไม่สามารถลุกขึ้นมาต่อสู้อีกต่อไปได้ ถือว่าวัวตัวที่ล้มเป็นฝ่ายแพ้
    ขณะที่วัวกำลังต่อสู้กันถ้าเจ้าของหรือพี่เลี้ยงวัวฝ่ายใดเห็นว่าวัวของตนเพลี่ยงพล้ำเสียท่า และมีอาการบาดเจ็บสาหัส แต่วัวยังมีใจสู้อยู่ต่อไป พี่เลี้ยงอาจขอยอมแพ้ได้ เพราะดูรูปการณ์แล้ว วัวจะไม่สามารถนำชัยชนะมาได้ โดยพี่เลี้ยงจะส่งสัญญาณบอกกรรมการสนาม จึงถือว่าวัวฝ่ายตรงข้ามเป็นตัวชนะไป

    • Update : 2/7/2554
    © Copyright 2011 www.watnongmuang.com All rights reserved 999arch